Architectural Photography

Information

Architectural Photography

Space for all architectural photography's lovers / พื้นที่สำหรับทุกคนที่รักงานถ่ายภาพสถาปัตยกรรม เชิญครับ

Members: 387
Latest Activity: May 5, 2017

Member's Photos / ประมวลภาพจากสมาชิกห้องภาพถ่ายสถาปัตยกรรม

Discussion Forum

[ Gallery / Showcase ] 17 Replies

Post your work here / สามารถลงผลงาน โดยการ post รูปโดยตรง หรือ embed code ของ album จากหน้า My Portfolio ไม่แนะนำให้ทิ้ง link ไว้อย่างเดียว ควร post รูปหรือวิดีโอไว้ด้วยครับ

Started by PORTFOLIOS*NET. Last reply by Dolnapa Th. Aug 1, 2012.

ชอบแนวๆ นี้ค่ะ

...เป็นรูปที่ถ่ายไว้เมื่อสองปีก่อนเน้น...วัด...ค่ะกล้องก็ธรรมดาๆ เอง ปรับอะไรไม่ได้มาก :( Continue

Started by Phrachan Apr 24, 2011.

สถาปัตย์ ผลัดกันชม / new shots from our members 211 Replies

วันนี้ได้รับข้อความจากภารโรงห้องขาวดำ มีความประสงค์ว่าอยากจะนำภาพสถาปัตยกรรมที่ถ่ายไว้มาแบ่งกันชมในห้องนี้บ้าง เราก็เลยมีความคิดว่า…Continue

Started by pirak anurakyawachon. Last reply by pirak anurakyawachon Sep 5, 2010.

ถามมาตอบไป 1 : การรับงานถ่ายภาพตกแต่งภายใน เรื่องจำนวนรูปที่ให้ลูกค้า 33 Replies

หวัดดีคับ พี่เด๋ย และคุณเต้ย อยากสอบถาม เกี่ยวกับเรื่อง การรับงานถ่ายภาพตกแต่งภายใน เรื่องจำนวนรูปที่ให้ลูกค้า ว่ามากสุดประมาณกี่รูป และ น้อยสุดกี่รูป ขอบคุณคับ / โต้งContinue

Started by pirak anurakyawachon. Last reply by pirak anurakyawachon May 29, 2010.

วันนี้รู้สึกยินดีปรีดาที่กรุ๊ปเรามีสมาชิก 322 คนแล้ว 6 Replies

วันนี้รู้สึกยินดีปรีดาที่กรุ๊ปเรามีสมาชิก 322 คนแล้ว หากมีข้อเสนอแนะ ติชม ทวงถาม ทักทาย ทับถม อะไร ทำไม อย่างไร ก็ขอเชิญนะครับ ยังจำได้ว่าวันที่ถึง 100 กับ 200 คน ยังตื่นเต้นกับเต้ยแทบตกเก้าอี้…Continue

Started by pirak anurakyawachon. Last reply by pirak anurakyawachon May 26, 2010.

การ set up เเสงสำหรับการถ่าย interior 30 Replies

อยากถามในเรื่องของการ set up เเสงสำหรับการถ่าย interior นะครับ เพราะผมเพิ่งได้เลนส์ Canon TSE24 มาใช้คู่กับ 5D2 น่ะครับ ยังใหม่ในการถ่ายภาพประเภทนี้อยู่มาก เลยอยากถามว่าสิ่งที่ควรรู้ในการ set…Continue

Started by Justin Suwintawong. Last reply by pirak anurakyawachon May 26, 2010.

ชวนกันไปถ่ายรูป ตอน " ดับเพลิงบางรัก " 13 Replies

     ความคิดเกิดจาก มีอยู่คืนหนึ่ง นั่งดูรูปในเวป มัน-ติ-พาย หน้าที่เป็น inbox ก็จะมีว่าใครลงรูปใหม่บ้าง ก็เห็นอยู่หัวข้อหนึ่ง ช่างภาพ ถ่ายสาวน้อยน่ารักเชียว ไม่ลังแลที่คลิ็กเข้าไปดู ปรากฎว่า…Continue

Started by prayoon tesprateep. Last reply by Pongpon Yuttharat Apr 8, 2010.

หลักการใช้เลนส์ Tilt & Shift ที่ถูกต้อง 19 Replies

มีคำถามใหม่ครับ คืออยากทราบว่า หลักการใช้เลนส์ Tilt & Shift ที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไรครับ1.ผมมีปัญหาเรื่องการใช้ระดับน้ำ ซึ่งเมื่อ Shift เลนส์เเล้วผลทำให้ภาพอาคารอยู่ติดขอบบนเเละเห็นพื้นมากเกินไป…Continue

Started by Justin Suwintawong. Last reply by prayoon tesprateep Mar 10, 2010.

Comment Wall

Comment

You need to be a member of Architectural Photography to add comments!

Comment by Verarit Vincent Veranondh on March 4, 2010 at 10:52am
555+
Comment by HiSoMan on March 4, 2010 at 9:52am
"ซึ่งพบว่าร้อยละ 75 ของคนอายุราว 15-45...." <----- ไม่เข้าข่ายเน้อ
Comment by pirak anurakyawachon on March 4, 2010 at 9:29am
ครับพี่ ขอโทษครับ วันหลังผมจะไม่พูดแล้วครับพี่
Comment by Verarit Vincent Veranondh on March 3, 2010 at 10:21pm
เห็นพูดกันจัง ไอ เดจาวู เนี่ย!!!
Comment by Verarit Vincent Veranondh on March 3, 2010 at 10:20pm
เดจาวู
เดจาวูส์ Déjà vu เป็นประสบการณ์ของ “การจำ” สิ่งที่ไม่เคยพบมาก่อนเลย แต่กลับสามารถจำสิ่งนั้นได้เหมือนเคยมีประสบการณ์กับสิ่งนั้นมาก่อน ซึ่งพบว่า ร้อยละ 75 ของคนอายุราว 15 – 45 จะมีประสบการณ์ เดจาวู
คำว่าเดจาวู ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึงการได้เห็นมาแล้วหรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะความจำไขว้เขวหรือศัพท์ทางการแพทย์เรียก พารัมเนเซีย/ paramnesia จากคำในภาษากรีกว่า พารา (παρα/ para) สำหรับคำว่า parallel แปลว่าขนาน และ นิมิ (μνήμη/ mnimi) สำหรับความจำ ซึ่งเป็นการอธิบายประสบการณ์ที่ คนๆ หนึ่งรู้สึกว่าเคยได้รู้เห็นหรือประสบสถานการณ์ใหม่ที่พึ่งพบมาก่อน คำๆ นี้ถูกสร้างขึ้นโดยนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ เอมิล บัวแร็ซ (Émile Boirac -1851–1917) ในหนังสือชื่อ L'Avenir des sciences psychiques หรือ อนาคตของจิตวิทยาวิทยาศาสตร์/ The Future of Psychic Sciences ของเขา สิงนี้นี้คลี่คลายและเผยตัวออกมาระหว่างที่กำลังเขียนความเรียงตอนที่กำลัง ศึกษาอย่างตั้งใจแต่ยังไม่จบการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก
ประสบการณ์แบบ “เดจาวู” มักประกอบขึ้นมาด้วยความคุ้นเคยที่บีบบังคับความรู้สึกสัมผัสและเป็นสัมผัส ที่ รวมความแล้ว สยึมกึ๋ย หรือ ลึกลับแปลกพิกล น่าอัศจรรย์ใจ เป็นประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนหรือเคยรับรู้มาก่อนทั้งๆ ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อซักครู่นี้ ประสบการณ์นี้มักถูกนำไปอ้างเหตุผลโยงกับความฝัน แม้ว่าในบางกรณีการเกิดประสบการณ์ของสัมผัสใหม่นั้นความรู้สึกสัมผัสได้เกิด ขึ้นมาแล้วจริงๆ” ในอดีต เดจาวูจึงได้รับการอธิบายว่าเป็น “การจำอนาคตได้”
ประสบการณ์เดจาวูเป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะเป็นปกติธรรมดา จากการศึกษาอย่างมีรูปแบบพบว่า ประชากรกว่า 70% รายงานว่ามีประสบการณ์อย่างนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง มีการอ้างอิงถึงประสบการณ์เดจาวูยังในวรรณกรรมที่ผ่านมาในอดีตซึ่งแสดงว่า มันไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ แต่มันก็เป็นเรื่องที่ยากลำบากถ้าจะทำให้เกิดประสบการณ์เดจาวูในเงื่อนไขของ ห้องปฏิบัติการ ด้วยเหตุนี้ เดจาวูจึงเป็นหัวข้อที่ได้รับการศึกษาเพียงเล็กน้อยด้วยวิธีการการสังเกตโดย ไม่อาศัยทฤษฎี ไม่นานมานี้นักวิจัยได้พบหนทางที่จะสร้างความรู้สึกสัมผัสในลักษณะนี้ (เดจาวู) ด้วยการสะกดจิต

ประเภทของเดจาวู
ตามที่ อาเธอร์ ฟังเฮาเซอร์/ Arthur Funkhouser ว่าไว้ รูปแบบหลักๆ ของเดจาวูมี 3 ประเภท คือ 1. เดจา เวซู/ Déjà vécu 2. เดจา ซองตี/ Déjà senti และ 3. เดจา วิสิเต้/ Déjà Visite
เดจา เวซู/ Déjà vécu ส่วนใหญ่แปลว่า “เคยอยู่อย่างนั้นมาแล้ว” ชาร์ล ดิกเก้นส์ กล่าวอธิบายถึง เดจา เวซู ไว้ ดังนี้ “เรามีประสบการณ์ทั้งมวลของความรู้สึกบางอย่าง ซึ่งจะข้ามมาหาเราเป็นบางโอกาส จากสิ่งที่เรากำลังพูดและกระทำ เราเคยได้พูดและเคยทำมาก่อน ในห้วงเวลาที่ไกลออกไป จากอะไรๆ ที่ๆ เราเคยถูกแวดล้อม ช่วงเวลาที่เลือนรางออกไป ด้วยใบหน้าเดิมๆ วัตถุเดิมๆ และสถานการณ์เดิมๆ จากที่เรารู้แน่นอนว่าอะไรที่จะถูกกล่าวออกมาเป็นเรื่องต่อไป ราวกับว่าอยู่ๆ เราก็จำมันได้
เมื่อคนส่วนใหญ่พูดถึงเดจาวู พวกเขาเหล่านั้นจริงๆ แล้วกำลังพบกับ เดจา เวซู การสำรวจพบว่ามีมากถึง70% ของประชากรที่มีประสบการณ์เช่นนี้ มักเป็นช่วงอายุ 15 ถึง 25 เมื่อจิตใจยังคงรับรู้ตัวเองและโลกจากภายในหรือยังมีความเป็นอัตตวิสัยอยู่ มากพอที่จะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม ประสบการณ์ที่พบเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่น่าประหลาดใจที่พบว่าต่อมาในภายหลังเป็นเวลานับปีๆ ที่จะจำเรื่องนั้นได้ เดจา เวซู ยังเกี่ยวข้องโยงกับประสบการณ์ที่มากกว่าแค่การมองเห็นซึ่งเป็นสาเหตุให้การ นิยามคำอย่าง “เดจาวู” ทำได้ไม่แน่นอน ประสาทสัมผัสเกี่ยวข้องกับปริมานของการรับสัมผัสรายละเอียดเป็นจำนวนมหาศาล ความรู้สึกที่ว่าทุกๆ อย่างเป็นไปอย่างที่มันเคยเป็นมาก่อนและเกิดความรู้สึกราวกับอภินิหารจำได้ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปหรือใครพูดอะไรเป็นเรื่องต่อไป เมื่อเร็วๆ นี้เอง คำว่าเดจา เวซูถูกใช้เพื่ออธิบายความรู้สึกที่เข้มข้นและฝังแน่นของรูปแบบของเดจาวู ซึ่งปรากฏในฐานะส่วนหนึ่งของความจำที่ไม่เข้าระบบ
เดจา ซองตี/ Déjà senti
ปรากฏการณ์นี้ให้รายละเอียดของบางอย่างที่ ‘รู้สึกไปแล้ว’ ไม่เหมือนกับที่เข้าใจกันว่าเป็นการล่วงรู้มาก่อนของ เดจา เวซู เดจา ซองตี *เป็นเรื่องราวทางประสาทที่มีความสำคัญหรือแม้กระทั่งจะมีความเฉพาะตัว ไม่มีแนวทางในการล่วงรู้ก่อนและพบไม่มากถ้าจะยังคงตกค้างอยู่ความจำในภาย หลังของผู้ทุกข์กับเรื่องนี้ ดร. จอห์น ฮิวจ์ลิง แจ็คสัน (Dr. John Hughlings Jackson) บันทึกถ้อยคำของหนึ่งในคนไข้ของเขาที่ทรมานจากภาวะผิดปกติของระบบประสาทที่ ทำให้เกิดอาการชักบริเวณกลีบขมับหรือปฏิกิริยาโต้ตอบของขบวนการทางจิต/ temporal lobe or psychomotor epilepsy ในรายงานเมื่อปี พ.ศ. 2432 หรือ ค.ศ. 1889 กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่ครอบครองความสนใจอยู่เป็นสิ่งที่เคยครอบงำอยู่มาก่อน และเป็นสิ่งที่คุ้นเคยมาก่อนแน่นอน แต่ได้ถูกลืมไปกับกาลเวลา และกลับมาประสบพบใหม่ด้วยความรู้สึกพึงพอใจที่เบาบางราวกับว่าสิ่งนั้นเป็น สิ่งที่เคยถูกค้นหา...ในเวลาเดียวกันหรือ..มีความถูกต้องมากขึ้นในลำดับที่ ติดตามกันอย่างต่อเนื่อง มันรู้สึกตัวอย่างเลือนรางว่าเรื่องที่จำได้เป็นเรื่องไม่จริงและสภาพของตัว เองผิดปกติไป เรื่องที่จำได้มักเริ่มต้นจากเสียงของคนอื่น หรือความคิดเป็นคำพูดของตัวเอง หรือจากสิ่งที่ตัวเองกำลังอ่านและสร้างถ้อยคำขึ้นในจิตใจ และตัวเองก็คิดว่าในสภาพที่ผิดปกตินั้นตัวเองพูดวลีหรือการยอมรับง่ายๆ อย่างเช่น ‘โอวใช่ – ฉันเข้าใจ’ หรือ ‘แน่นอน-ฉันจำได้’ แต่สักสองสามนาทีต่อมาตัวเองก็จำทั้งคำหรือความคิดที่เป็นคำพูดซึ่งทำให้คิด คำนึงถึงไม่ได้ ตัวเองพบอย่างรุนแรงว่าสิ่งเหล่านั้นเหมือนกับสิ่งที่เคยรู้สึกมาก่อนใน เงื่อนไขที่ผิดปกติคล้ายๆ กัน”
และคล้ายๆ กับคนไข้ของ ดร.แจ็คสัน ผู้ป่วยโรคลมบ้าหมูบริเวณขมับ/ temporal-lobe epileptics อาจมีประสบการณ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ได้เช่นกัน


เดจา วิสิเต้ / Déjà Visite
ประสบการณ์นี้ไม่ค่อยธรรมดาและเกี่ยวข้องกับความรู้น่าประหลาดเกี่ยวกับสถาน ที่ใหม่ การแปลคำนี้คือ "เคยได้เยือนมามาแล้ว” ในที่นี้คนๆ หนึ่งอาจรู้ทางของตัวเองรอบๆเมืองใหม่หรือสภาพภูมิประเทศใหม่ในขณะที่รู้ว่า เรื่องนี้ไม่สามารถเป็นไปได้ ความฝันหรือการกลับชาติมาเกิด/ reincarnation รวมไปถึงการเดินทางออกจากร่างกายหรือการถอดจิต/ out-of-body travel เป็นเรื่องผีๆ ที่ถูกปลุกขึ้นมาใหม่เพื่อนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้ นอกเหนือจากนี้ บางคนชี้ว่าการตีความรายละเอียดจากสถานที่ เช่น การเดินทางไปในทิศทางที่ทำมุมเดียวกันกับดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดทิวทัศน์ที่ดูคล้ายกัน ก็สามารถอาจจะทำให้เกิดผลของความรู้สึกนี้เมื่อพบสถานที่ในลักษณะเดียวกันใน ภายหลัง การบรรยายถึงประสบการณ์มีตัวอย่างที่โด่งดัง ได้ถูกอธิบายไว้โดย นาธาเนียล ฮอว์ธรอน/ Nathaniel Hawthorne นักเขียนและกวีชาวอเมริกันในศตวรรษที่ 19 ในหนังสือ บ้านเก่าของเรา/ Our Old Home และเซอร์ วอลเตอร์ สก็อตต์/ Sir Walter Scott ใน กาย แมนเนอริง/ Guy Mannering ฮอว์ธรอนจำซากปรักหักพังของปราสาทในอังกฤษได้ และจ่อจากนั้นก็ยังสามารถที่จะสืบค้นเรื่องราวจากความรู้สึกไปสู่งานเขียน ชิ้นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปราสาทนั้นซึ่งเขียนขึ้นโดย อเล็กซานเดอร์ โป๊ปเมื่อสองร้อยปีก่อน
ซี. จี. จุง/ C. G. Jung หรือคาร์ล กุสตาฟ จุงนักจิตวิทยาชาวสวิส ตีพิมพ์เรื่องราวของ เดจา วิสิเต้ ในเอกสารของเขาเมื่อปี พ.ศ. 2495 หรือ ค.ศ. 1952 เรื่อง On synchronicity เพื่อที่จะจำแนก เดจา วิสิเต้ ออกจาก เดจา เวซู จากการจำแนกว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะระบุแหล่งที่มาของความรู้สึก เดจา เวซู เป็นการเชื่อมโยงไปถึงสิ่งที่ปรากฏขึ้นตามสภาพของเวลาและการดำเนินต่อเนื่อง ตามลำดับขั้น/ temporal occurrences and processes ในขณะที่เดจา วิสิเต้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภูมิประเทศและความสัมพันธ์กับสถานที่
แต่ในทางตรงกันข้าม การพบเรื่องที่ทำอยู่เป็นประจำ แต่กลับรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องใหม่แสดงอาการความผิดปกติของเนื้อสมอง อาการนี้เรียกว่า จามาส์ วู หรือ จาเมส์ วู (Jamais Vu)
จามาส์ วู หรือ จาเมส์ วู (Jamais Vu) เป็นประสบการณ์ที่ตรงกันข้ามกับ เดจาวู กล่าวคือ รู้สึกว่าสิ่งที่พบอยู่เป็นประจำเป็นสิ่งแปลกใหม่ ไม่เคยพบมาก่อน เป็นอาการผิดปรกติของการทำงานของสมอง เช่น ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (dementia) และโรคจิตเสื่อมหวาดระแวง (Anorexia)

Read more: http://www.portfolios.net/group/writers/forum/topic/show?id=2988839...
Comment by Verarit Vincent Veranondh on March 3, 2010 at 10:19pm
เผอิญที่กลุ่ม Thai Writers Club เค้าเขียนไว้ อยากให้อ่านครับ :P

ความจำครอบครองเราชีวิตชั่วชีวิต สำหรับผมเองความทรงจำถึงสิ่งต่างๆ ประกอบกันขึ้นมาเป็นตัวตนของบุคคลแต่ละคน ด้วยเหตุที่ว่าโลกเราอาศัยอยู่นั้นถูกแบ่งและขีดคั่นด้วยเวลา หากปราศจากความทรงจำ คนๆ หนึ่งคงจะหลุดไหลเข้าไปในปัจจุบันอันไร้ที่สิ้นสุด เหลือเพียงวินาทีที่แตกสลายจางหายไปสู่อดีตอย่างรวดเร็ว หายไปจากความทรงจำ หากปราศจากความจำบุคลิกภาพและประสบการณ์มีอยู่ไม่ได้และการเรียนรู้ก็จะเป็นเรื่องที่ไม่อาจเป็นไปได้

ความจำสร้างความต่อเนื่องของเหตุการณ์ต่างๆ และมีความหมายต่อความคิดและการกระทำของเราจากการที่สิ่งนี้รวบรวมเอาสิ่งต่างๆ อื่นๆ เหล่านี้ให้เป็นภาพที่เรามองเห็นทะลุลงไปได้ในเชิงลึก เราอาศัยความจำผ่านเข้าสู่ความคิด การเปรียบเทียบ การประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆ การเลือกสรร สร้างการตัดสินใจ และสร้างการจินตนาการอยู่ตลอดเวลา จิตใจ ของเรามีการทำงานกับเรื่องเหล่านี้บนพื้นฐานความสามารถของสมองที่จะเก็บ รักษาข้อมูลที่มีค่าและสร้างการเชื่อมโยงไปหาข้อมูลเหล่านั้นได้

นอกจากนี้ นักจิตวิทยายังเชื่อว่า สมองของมนุษย์จำโดยการสังเคราะห์
กล่าวคือเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ที่เราจำในลักษณะสังเคราะห์เข้าด้วยกัน เช่น เชื่อมโยงระหว่าง
คำ กับ ภาพที่เห็น คำ กับ ความรู้สึก หรืออื่นๆ
คนเรามีแนวโน้มที่จะจะจำสิ่งดีๆ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความสุข มากกว่าสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ เช่น เรื่องราวในวันแต่งงาน เหตุการณ์ในวันได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น กล่าวคือ ความเข้มของอารมณ์มีผลต่อการที่เราจะจดจำเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ
ได้ หรือกล่าวได้ว่าความจำเชื่อมโยงกับอารมณ์นั่นเอง

คน ส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวถึงบทบาทของความจำในชีวิตของตัวเองเหมือนกับเรื่องของ สุขภาพที่ใครๆ ก็มองว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรมากนักจนมันสั่นคลอนหรือจนกระทั่งมันทำงานไม่ ได้ดั่งใจเจ้าของนั่นแหล่ะใครๆ ถึงจะเริ่มหันมาสนใจกลไกกระบวนการทำงานของความจำกัน

นักจิตวิทยาแบ่งความจำออกเป็นประเภทต่างๆ ซึ่งพอกล่าวได้คร่าวๆ ดังนี้



แบ่งความจำตามความยาวของเวลาในการจำ ได้แก่ ความจำระยะสั้น (short term memory) และ ความจำระยะยาว (long term memory)

ความจำระยะสั้น (short term memory) ซึ่งจะเป็นการจดจำเพียงชั่วขณะ เมื่อสิ่งที่จำถูกนำมาใช้แล้วก็จะลืมไป เช่น เมื่อจำหมายเลขโทรศัพท์เพื่อโทรออก การพิมพ์ดีดโดยไม่มองแป้น การเข้าเกียร์รถยนต์ เป็นต้น การวิจัยคลื่นสมองพบว่า สมองส่วน frontal cortex/
บริเวณหน้าผาก
จะเป็นส่วนที่รับผิดชอบต่อการทำหน้าที่นี้เมื่อ
เกิดความสนใจกับเรื่องเฉพาะหน้า
และมีทำงานกับเรื่องเฉพาะหน้า

ความจำระยะยาว (long term memory) จะเป็นเก็บเรื่องที่จะจำไว้ให้จดจำได้นาน และเรียกให้กลับมานึกถึง (recall) ได้เมื่อต้องการ เช่น จำรายละเอียดส่วนตัว เช่น ชื่อ
วันเดือนปีเกิดของตนเอง และ
ชื่อเพื่อน กิจกรรมในวันหยุด หรือสิ่งที่ได้เรียนมาในห้องเรียนได้



แบ่งตามเจตนาที่จะจำ ได้แก่

ความจำโดยเจตนา (voluntarily memory) ได้แก่สิ่งที่ต้องการและตั้งใจจะจำ มีความตั้งใจที่จะจำให้ได้ เช่น ชื่ออาจรย์ประจำวิชา รหัสวิชา ห้องเรียน และ ตารางสอบ

ความจำโดยไม่เจตนา (involuntarily memory) ได้แก่สิ่งที่ไม่ได้เจตนาจะจำ
แต่สามารถจำได้ เช่น
กลิ่นหรือรสอาหารที่เคยทาน ร้านของชำหัวมุมปากซอยหน้าบ้าน
บางครั้งความจำโดยไม่เจตนาทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า Nostalgia เช่น
เมื่อได้กลิ่นแกง
อาจทำให้นึกถึงคุณยายที่เคยทำแกงประเภทนี้ให้ทาน เป็นต้น

ความจำยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความฝันด้วย จากการศึกษาที่เผยแพร่ในนิตยสารไทม์ในช่วงที่ผ่านมา มีสมมติฐานว่า เมื่อเราเกิดความจำระยะสั้น กระแสประสาทจะยังคงอยู่ แต่จะถูกส่งไปแยกแยะที่สมองส่วนกลางหรือก้านสมอง เพื่อจะคัดแยกเรื่องที่เราจะจำ กระแสประสาทของความจำผสมปนเปกันไปและแสดงออกในความฝันขณะที่เราหลับ

และเป็นเรื่องน่าประหลาด ที่คน 70 คน จาก 100 คนจะมีประสบการณ์ของ เดจาวู
(Deja Vu) ซึ่งเป็นการทำงานแปลกๆ ของความจำ...

Read more: http://www.portfolios.net/group/writers/forum/topic/show?id=2988839...
Comment by Verarit Vincent Veranondh on March 3, 2010 at 9:41pm
ภาวะเดจาวู หรือไงเนี่ย เห็นเป็นกันตลอด

:D
Comment by pirak anurakyawachon on March 3, 2010 at 5:18pm
พร้อมคะ... พี่เด๋ยยย


อันนี้ก็เดจาวูเหมือนกัน

ปล เออ ที่สัมภาษณ์กันไปเมื่อไหร่ออกนะ ออกรายปีเหรอนาย
Comment by em-100 on March 3, 2010 at 3:16pm
พร้อมคะ...พี่เด๋ยยย
Comment by fookphoto on March 2, 2010 at 8:52pm
ตั้งตารอด้วยใจจดจ่อ (เดจาวูด้วยคน 5555+)
 

Members (383)

 
 
 

© 2009-2025   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service