
PSG Art Gallery คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอเชิญชม นิทรรศการศิลปกรรมจารึกแห่งสยาม (โลกียะ โลกุตระ) สะท้อนถึงความเป็นจริงแห่งชีวิตมนุษย์ โดย รองศาสตราจารย์ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ จัดแสดง ระหว่างวันที่ 5 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ความเป็นจริงแห่งชีวิตของมนุษย์ คือความไม่เที่ยงแท้ล้วนเปลี่ยนแปรไปตามสถานการณ์ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ สลับไปมา สภาวะจิตของมนุษย์ถ้าไม่ได้ถูกฝึกฝนมาบ้าง ก็จะเกิดความทุกข์ ยามเมื่อชีวิตต้องประสบกับปัญหาที่รุมเร้าเข้ามา บางคนก็มีปัญหาครอบครัวปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความยึดถือ ยึดมั่น สังคมอวิชชาโฆษณาชวนเชื่อทำให้ถูกครอบงำโดยไม่รู้สึกตัว ขาดสติ ทางปัญญา พิจารณาตามความเป็นจริงเลยกลายสภาพเป็นสังคมที่ขาดความมั่นคงทางจิตใจ ไร้เสถียรภาพหวั่นไหวไปกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
ยามเมื่อชีวิตตก อยู่ในความอึดอัด ตึงเครียด ยามที่เกิดความรู้สึกท้อแท้ เหนื่อยหน่ายยามเมื่อจิตตก ข้าพเจ้าจึงหาทางออกด้วยการหยิบหนังสือที่ใกล้ตัวอ่าน เป็นหนังสือที่รวบรวมพระบรมราชโอวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้พระราชทานแก่นิสิต นักศึกษา และประชาชนในวาระต่างๆ หนังสือธรรมะของอริยสงฆ์ในบวรพุทธศาสนา เช่น หนังสือธรรมนูญชีวิต ของพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตโต คำกลอนสอนธรรม ธรรมะ พร เมตตา ของท่านพุทธทาสภิกขุ บันทึกธรรมจากหลวงปู่ดูลย์ อตุโลโอวาทก่อนปรินิพพาน โอวาทท่านธัมมะวิกตักโก เป็นต้น การได้อ่านพระธรรมคำสั่งสอนทรงพระพุทธองค์ และอริยสงฆ์ บางคำ บางตอนก็มิอาจเข้าใจได้ทั้งหมด

ข้าพเจ้า จึงเลือกบางบท บางตอนที่เข้าใจง่าย อ่านง่าย อ่านแล้วทำให้เกิดปัญหา ผ่อนคลายความตึงเครียด รู้สึกหัวเบา ใจสบาย จึงเกิดความบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน “จารึกแห่งสยาม” (โลกียะ โลกุตระ) จึงเริ่มปฏิบัติงานชุดนี้ ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ทำต่อเนื่องเป็นไปอย่างเชื่องช้า เริ่มจากความคิดที่ว่าจะจาร หรือจารึกถ้อยคำ
คำสั่งสอนอันมีคุณค่านี้อย่างไร ในสมัยโบราณ บรรพชนจะจารลงในใบลาน สลักลายบนหินวาดภาพจิตรกรรมปริศนาธรรมต่างๆ ลงบนฝาผนังโบสถ์, วิหาร ข้าพเจ้านึกถึงดินเผา (เซรามิกส์) ว่าน่าจะสนองตอบความคิดของข้าพเจ้าได้ ด้วยการทำเซรามิกส์มีความละม้ายกับการทำภาพพิมพ์โลหะ (Etching) ด้วยมีขั้นตอนกรรมวิธีซับซ้อน
ยุ่งยากกว่างานจิตรกรรม แต่ในความยุ่งยากซับซ้อน มันสอนเราให้รู้จักคำว่า “รอ” คำว่า “ล้มเหลว” คำว่า “อดทน” คำว่า “เริ่มต้นใหม่” เพราะการทำทั้งสองสิ่งนี้ก่อนลงมือปฏิบัติงานต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ต้องมีความรอบคอบ
มีการวางแผนการสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ต้องมีจังหวะ “เวลา” ที่ต่อเนื่องมีระยะเวลาที่มันควบคุมเรา และเราควบคุมมัน จนเกิดสมดุลระหว่างมันกับเรา
Read More
RSVP for นิทรรศการศิลปกรรมจารึกแห่งสยาม (โลกียะ โลกุตระ) to add comments!
Join PORTFOLIOS*NET