นิทรรศการ "มุมมองใหม่ขุนช้างขุนแผน"

Event Details

นิทรรศการ "มุมมองใหม่ขุนช้างขุนแผน"

Time: June 1, 2011 to September 30, 2011
Location: Jimthompsonhouse
City/Town: Bangkok,Thailand
Website or Map: http://www.jimthompsonhouse.c…
Phone: 02 612 6741,084 709 3440
Event Type: art, exhibition
Latest Activity: Jun 1, 2011

Export to Outlook or iCal (.ics)

Event Description

นิทรรศการ มุมมองใหม่ขุนช้างขุนแผน 
ณ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน
วันที่ 14 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2554

ศิลปินรับเชิญ  เหม เวชกร, จักรพันธ์ โปษยกฤต, บรูซ กันเดอร์สัน, กรกฤช เจียรพินิจนันท์ และ ประดิษฐ ประสาททอง 
ภัณฑารักษ์กิติมศักดิ์ ดร. คริส เบเกอร์ และ ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร 
ร่วมกับทีมภัณฑารักษ์ประจำ นำทีมโดย กฤติยา กาวีวงศ์ โสมสุดา เปี่ยมสัมฤทธิ์ และ ยุวดี ศรีห้วยยอด 

นิทรรศการ มุมมองใหม่ขุนช้างขุนแผน  เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งเป็นเรื่องราวปรัมปราที่ค่อยๆพัฒนาเป็นวรรณคดีชิ้นโบว์แดงแห่งสยาม เรื่องขุนช้างขุนแผนถูกรวบรวมขึ้นครั้งแรกโดยกวีนิรนามในสมัยอยุธยา จากนั้นจึงมีการเรียบเรียง ปรับเปลี่ยน และขยายความโดยนักขับเสภาชาวบ้าน และกวีในราชสำนัก รวมถึงครูแจ้ง สุนทรภู่ รัชกาลที่ 2 และกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตามลำดับ เมื่อไม่นานมานี้ ดร.คริส เบเกอร์ และดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้แปลขุนช้างขุนแผนเป็นภาคภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า “The Tale of Khun Chang Khun Phaen”  การพิมพ์ผลงานแปลชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนบางส่วน จากมูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน

ดร. คริส และ  ดร. ผาสุก ผู้แปลทั้งสองท่านได้ทำหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์กิติมศักดิ์ และทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมภัณฑารักษ์ของหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ได้กล่าวว่า “นิทานขุนช้าง ขุนแผน ไม่เหมือนกับวรรณคดีไทยที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับคุณูปการของเทพเจ้าและกษัตริย์  ส่วนใหญ่มักจะอ้างอิงเค้าโครงเรื่องจากต่างประเทศ แต่นิทานเรื่องนี้พัฒนาจากเรื่องเล่าพื้นบ้านไทย และน่าจะมาจากเรื่องจริงและเดินเรื่องโดยใช้ลักษณะพื้นภูมิสังคมไทย ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อเรื่องก็คล้ายกับมหากาพย์และนิยายเกี่ยวกับการผจญภัยที่พัฒนามาจากประเพณีการเล่าเรื่อง หรือการมีปฏิสัมพันธ์ซ้ำๆระหว่างนักแสดงและผู้ชม นิทานสะท้อนให้เห็นคุณค่าทางสังคมที่มีมาแต่เดิม ดังนั้น นิทานขุนช้างขุนแผนจึงมีเอกลักษณ์แสดงความสัมพันธ์และทัศนคติทางสังคม อย่างไรก็ตาม นิทานเรื่องนี้ยังมีที่มาที่ซับซ้อน เนื่องจากมีการพัฒนาผ่านช่วงเวลาที่ต่างกัน 2 ช่วง ช่วงแรกจากประเพณีเรื่องเล่าพื้นบ้าน และอีกช่วงหนึ่งจากในราชสำนัก อย่างไรก็ตาม ความซับซ้อนนี้ยังแสดงถึงความขัดแย้งของคุณค่าพื้นบ้านและคุณค่าในราชสำนัก เมื่อเวลาผ่านไป เค้าโครงของเรื่องขุนช้างขุนแผน รวมทั้งภาษาที่ใช้ในงานประพันธ์นี้มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ปรับเปลี่ยนไป โดยกวีต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพูดแบบชาวบ้านไปเป็นภาษาที่เป็นทางการมากขึ้น”  
ผู้แปลใช้เวลาถึง 7 ปี ในการทำวิจัยเชิงอรรถจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และแหล่งข้อมูลอีกหลายแห่ง  อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์และรวบรวมจนมาเป็นภาคปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง

Comment Wall

Comment

RSVP for นิทรรศการ "มุมมองใหม่ขุนช้างขุนแผน" to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

Attending (1)

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service