โครงการ "ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมรอบบ้าน ฟื้นตำนานป้อมปราบฯ-พระนคร"

Event Details

โครงการ "ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมรอบบ้าน ฟื้นตำนานป้อมปราบฯ-พระนคร"

Time: April 26, 2011 to August 24, 2011
Location: Art Centre Silpakorn University & Tadu Contemporary Art
Street: Wang Na Phra Lan Rd., Phra Nakhon & 9/2 Huay Kwang
City/Town: Bangkok,Thailand
Website or Map: http://www.su.ac.th
Phone: 02 221 3841
Event Type: art, exhibition
Latest Activity: Apr 28, 2011

Export to Outlook or iCal (.ics)

Event Description

กิจกรรมศิลปะวัฒนธรรมในโครงการ 'ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมรอบบ้าน ฟื้นตำนานป้อมปราบฯ-พระนคร' 

โครงการ 'ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมรอบบ้าน ฟื้นตำนานป้อมปราบฯ-พระนคร' จัดตลอดเดือนเมษายน-สิงหาคม 2554 ดูรายละเอียดที่ Facebook:Taducontemporaryat 

หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรและหอศิลป์ตาดู ขอเชิญร่วมกิจกรรมชุมชนกับโครงการ 'ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมรอบบ้าน ฟื้นตำนานป้อมปราบฯ-พระนคร' ตลอดเดือนเมษายน-สิงหาคม 2554กับ 6 ชุมชนในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตพระนคร ได้แก่ ชุมชนวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ ชุมชนบ้านบาตร ชุมชนวัดสระเกศ ชุมชนสิตาราม ชุมชนวัดสุนทรธรรมทาน และชุมชนจักรพรรดิพงษ์ 

จากจุดเริ่มต้นที่ 6 ชุมชนย่านป้อมปราบฯและพระนครได้ตั้งคำถามและพูดคุยกัน ประกอบกับได้มีโอกาศจัดงาน เตร่ตรอก ลัดรั้วบ้าน ฟื้นตำนานป้อมปราบ-พระนคร ขึ้นในวันที่อยู่อาศัยโลก 16 ตุลาคม 2553 ซึ่งเป็นโอกาสที่ได้ร่วมงานกับหลายหน่วยงานเช่นหอศิลป์ตาดู และอ.อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ(ผู้อำนวยการหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร) จึงได้เกิดการร่วมประสานการทำงานในหลายฝ่าย เกิดการประชุมพูดคุยกันระหว่างชุมชน และศิลปินมากขึ้น 

โดยศิลปินที่เข้าร่วมในโครงการอาทิเช่น เช่นอาจารย์ไพจิตร ศุภวารี, อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ, จิตสิงห์ สมบุญ, จิรเดช-พรพิไล มีมาลัย, อโณทัย นิติพน, กิตติพร อุดมรัตนกุลชัย และสุวิชชา ดุษฎีวนิช นอกจากนี้ยังมีกลุ่มศิลปิน 'Alley Artist' 

“ผมคิดว่าการที่ชุมชนดั้งเดิมมีศิลปะและอาชีพประจำชุมชนมันเป็นเสน่ห์อยู่แล้ว อย่าเอาสิ่งที่เรียกว่าการพัฒนาเข้าไปทำลายชุมชนอีกเลย การทำงานร่วมกันโครงการนี้เราจึงให้เกียรติชุมชนเจ้าของพื้นที่ว่ามีความต้องการแบบไหน อยากเห็นชุมชนเดินต่อไปอย่างไร โดยมีคุณอภิศักดิ์ สนจด ผู้อำนวยการหอศิลป์ตาดูเป็นผู้บริหารจัดการ ซึ่งทำให้เกิดความตื่นตัวในชุมชนมากมาย ช่วงแรกมีโครงการศิลปะ อาชีพต่างๆ ที่อยากจะรื้อฟื้นและให้ทางศิลปากรชวนศิลปินมาช่วยกันทำ 10 กว่าโครงการ โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยที่ผู้ใหญ่ในชุมชนเห็นชอบเข้ามาทำโครงการร่วมกัน ทำให้เกิดความต่อเนื่องและน่าสนใจมากทีเดียว” อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ผู้อำนวยการหอศิลป์ ศิลปากรกล่าว 

จิตต์สิงห์ สมบุญ ดีไซน์เนอร์จากเกรย์ฮาวน์ ผลงานศิลปะชุมชนของจิตต์สิงห์ในครั้งนี้นำเอาความสามารถเฉพาะตนคือเรื่องการออกแบบแฟชั่นเข้ามาร่วมกับวัสดุท้องถิ่นในชุมชน และความต้องการในชุมชน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่แปลกตาสำหรับชุมชน เช่น ชุดกระเป๋าดีไซน์หรู ชุดทักซิโด้ จากเศษผ้าจีวร 

“ชุมชนมีอะไรน่าสนใจมาก เหมือนเข้าไปในยุคเก่าในอดีต เราเห็นชีวิตผู้คนที่ยังดำรงค์ชีพเหมือนเดิม โดยเฉพาะที่ผมคิดว่ามันพอดีลงตัวกับสายงานผมเลยคือชุมชน วังกรมพระสมมตอมรพันธ์ ที่ชาวชุมชนมีอาชีพเกี่ยวกับการตัดเย็บผ้าที่ใช้ในกิจของสงฆ์ ผมเห็นเศษผ้าที่ถูกตัดทิ้งเลยเกิดความคิดเลย ผมจะเอามาทำให้ชุมชนดูว่าเศษผ้าที่จะทิ้งนั้นทำอะไรได้บ้าง ผมคิดเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดกันในเชิงปฏิบัติการณ์มากกว่า ผมเข้าใจนะในแง่ของคนทำงานคือต้องลงมือทำออกมาก่อนเป็นตัวอย่าง แล้วค่อยมาพูดคุย วิจารณ์กันดู อีกโครงการนึงยังไม่เสร็จแต่ผมคิดว่าน่าสนใจคือ รูปแบบของชุดเครื่องโขนโบราณผมคิดว่า ถ้าชุมชนปรับรูปแบบใหม่เราจะได้ชุดโขนแบบร่วมสมัยที่ราคาประหยัด และน่าสนใจทีเดียว ผมจะลองทำดู” 

Comment Wall

Comment

RSVP for โครงการ "ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมรอบบ้าน ฟื้นตำนานป้อมปราบฯ-พระนคร" to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

Comment by NEWS PORTFOLIOS*NET on April 28, 2011 at 1:27pm

ไพจิตร ศุภวารี ประธานสมัชชาศิลปินแห่งประเทศไทย เป็นอีกท่านหนึ่งที่เมื่อได้สัมผัสกับชุมชนบ้านบาตรแล้วถึงกับเอ่ยว่า “ผมก็เหมือนเป็นคนบ้านบาตรไปแล้ว” อ.ไพจิตรเข้ามาร่วมงานกับชุมชนในฐานะครูสอนร้องเพลง เนื่องจากเพลงรำวงบ้านบาตรนั้นเป็นการฟื้นฟูโดยคนเฒ่าคนแก่ที่ยังพอจำได้ว่าสมัยก่อนนั้นเนื้อร้อง ทำนองเป็นอย่างไร และนำมานั่งร้องกันยามว่างที่ศาลากลางบ้านบาตร เมื่อเกิดโครงการฟื้นฟูฯทีมงานจึงได้เชิญอ.ไพจิตมาสอนการร้องเพลงและอนาคตอาจจะสอนแต่งเพลงในฐานะที่คนปัจจุบันยังรักและหวงแหนประเพณีของชุมชนตนเองเพื่อสืบทอดต่อไป 
การพัฒนาต้องเริ่มที่เด็ก โครงการนี้จึงเริ่มที่เด็กๆ ในชุมชนโดยมีผู้ใหญ่อย่าง 'พี่ผาแก้ว' ชุมชนสิตาราม ซึ่งรวบรวมเด็กในชุมชนก่อเกิดเป็นโครงการ 'นาฏศิลป์สิตาราม' นำเด็กๆ จากเพื่อนชุมชนมาเรียนรำไทย-โขนเด็ก 
“ก็ดีกว่าที่เด็กๆพวกนี้ไปเฝ้าอยู่ที่ร้านเกมส์ หรือไปเล่นอย่างอื่น มาที่นี่ก็ได้เล่นและก็มีวิชาของชุมชนเรากลับไป โดตขึ้นอาจจะเอาไปใช้เข้าเรียนต่อ หรือเป็นอาชีพได้ สมัยก่อนแถวนี้เป็นย่ายศิลปะไทย ดนตรีไทย รำไทย เดี๋ยวนี้หายหมด” ผาแก้ว ปัจจุบันนอกจากจะเป็นเจ้าของโครงการนาฏศิลป์ไทย ตอนเช้าๆ ก็ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดให้กับกทม. ซึ่งจะเห็นถึงสำนึกในศิลปะวัฒนธรรมชุมชนของคนเล็กๆ ในชุมชน จึงได้เข้ามาร่วมโครงการ 
'อะเลย์แก๊งส์' คือกลุ่มนักศึกษาคนทำงานที่รักศิลปะและรักชุมชนรวมตัวกันเข้ามาช่วยทำโครงการโดยสอนเด็กๆ วางหลักสูตรให้เด็กๆนอกจากสนุกแล้วยังได้ความรู้ และศิลปะคือเครื่องชักชวนให้เกิดความคิด ในโครงการเมื่อได้เห็นผลงานของเด็กๆ แต่ละชุมแล้วมันคือภาพสะท้อนความคิดของเด็กๆ เราเห็นความสดใส ความหม่นเศร้า และเรื่องราวที่มากกว่าคำพูดที่พวกเขาจะหาได้จากคลังคำอันวัยเยาว์ของพวกเขา 
โครงการทำกระปุกออมสินวังกรมฯ โครงการตีบาตรเด็กของบ้านบาตรโดยครูป้าไก่ และโครงการศิลปะเด็กชุมตรอกเซี่ยงไฮ้ เกิดจากการถามเด็กๆ ว่าอยากเรียนศิลปะแบบไหน บวกกับในชุมชนมีขี้เลื่อยอยู่มากมาย จึงมาลงตัวที่การเอาขี้เลี่อยมาปั้นเป็นงานประติมากรรมฉบับเด็กๆ 
“เด็กซนมาก น่ารักมาก ผมเรียนฝึกสอนเด็กทำศิลปะมา ถือว่าประสบการณ์ครั้งนี้ไม่มีสอนในโรงเรียนจริงๆ ความเป็นอิสระ สดใส มีที่วิ่งเล่นอยู่ในชุมชน ผมเห็นความอบอุ่นที่ไม่เกิดจากเงินตรา แต่เกิดจากความใกล้ชิดกันในครอบครัว ในชุมชน ผมได้เห็นตัวเองเรียนรู้จักตัวเองจากการทำงานกับชุมชนและเด็กๆครับ” พี่นาวินนักศึกษาฝึกสอนจากรั้วจุฬาฯ ที่หลงเข้ามาร่วมกิจกรรม กล่าว 
"โครงการนี้ในทางศิลปะต้องถือว่าหินสุด เพราะเป็นการร่วมมือกันระหว่างชุมชน ชาวบ้าน พี่คนนั้น ป้าคนนี้ กับศิลปินซึ่งก็มีความหลากหลายและเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นคือทุกคนชื่นชมซึ่งกันและกัน ชุมชนเมื่อมีศิลปินเข้ามาทำงานก็จะดีใจและเข้ามาเรียนรู้กัน ศิลปินได้มาทำงานกับชุมชนก็ตื่นเต้น" อภิศักดิ์ สนจด ผู้อำนวยการหอศิลป์ตาดู สรุป 

ศิลปะพร้อมจะเติบโตตามธรรมชาติไปกับชุมชน ไม่ชี้นำแต่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 

โครงการ 'ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมรอบบ้าน ฟื้นตำนานป้อมปราบฯ-พระนคร' จัดตลอดเดือนเมษายน-สิงหาคม 2554 เชิญร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ 'ชุมชนโชว์ชุมชน' 
กิจกรรมสาธิต เช่น รำวงบ้านบาตร, ตีบาตรสำหรับเด็ก, สอนโขนเด็ก, ผลิตและเลือกซื้อถุงผ้าวังกรมฯ และอาหารแสนอร่อยตั้งแต่ย่านสำราญราษฎร์จนถึงตลาดนางเลิ้ง ดูรายละเอียดที่ Facebook : Taducontemporaryart, sillapa chumchon

Attending (1)

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service