Pixels of Fury รายการแข่งขันการดีไซน์รายการสดของเรา ซึ่งในสัปดาห์นี้ไปที่เมืองชิคาโกเพื่อจัดการแข่งขันในวันพุธที่ 6 พฤษภาคม โดยการแข่งขันรอบแรกกำหนดให้ผู้แข่งขันดีไซน์ฉลากสำหรับเบียร์ยี่ห้อที่สมมติขึ้นมา และเพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เราจึงขอเสนอคำอธิบายอย่างย่อ เกี่ยวกับการใช้ภาพกราฟิกกับวัตถุ 3D (สามมิติ) เช่นขวดเบียร์ ในโฟโต้ชอป
ถ้าคุณลองทำที่บ้านและไม่เคยทำมาก่อน เตรียมตัวรับเอาเครื่องมือใหม่ที่เป็นประโยชน์ยิ่งใส่ในคลังการดีไซน์ส่วนตัวของคุณได้เลย โดยเราจะเริ่มต้นด้วยการเอารูปภาพสองรูปจากคอลเล็คชั่นของ Shutterstockมาใช้
ขั้นที่ 1
เปิดไฟล์ขวดเบียร์ในโปรแกรม Photoshop
ขั้นที่ 2
เปิดไฟล์ภาพศิลป์ รูปฉลากเบียร์ ใน Adobe Illustrator ทำการคัดลอก/วาง ภาพกราฟิกลงใน Photoshop
คุณสามารถเปิดไฟล์ EPS ในโปรแกรมอื่นได้ เช่น ผมเปิดไฟล์ในโปรแกรม Illustrator แล้วจึงคัดลอกภาพ (กด Command + C) เพื่อนำมาวางในโปรแกรม Photoshop(กด Command + V) ตอนวางต้องให้คำว่า “Smart Object” ในหน้าต่าง pop-up ขึ้นมาด้วย เพราะการใส่วัตถุ Smart Object ทำให้คุณสามารถแก้ไขภาพด้วยคำสั่งบางอย่างได้ แต่ทำได้อย่างจำกัดเพราะไม่ได้แปลงเป็นภาพ raster [การที่ลำแสงอิเล็กตรอนผ่านวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วส่งเข้าสู่จอภาพเช่นเดียวกับที่ใช้ในการสแกนภาพ คือการยิงลำแสงอิเล็กตรอนให้ผ่านภาพไปอย่างต่อเนื่องทีละเส้น แล้วส่งขึ้นบนจอภาพ ตั้งแต่บรรทัดบนสุดจนถึงล่างสุด เราจะมองเห็นเส้นใหม่ก่อนที่เส้นเก่าจะหายไป เส้นที่มองเห็นนี้จะรวมกันเป็นภาพที่เราต้องการ เรียกว่าภาพ "raster"] อย่างสมบูรณ์
ขั้นที่ 3
เลื่อนภาพกราฟิกไปไว้ตรงกลางขวดและสร้าง layer mask บนเลเยอร์นี้ layer mask เป็นการตัดต่อภาพ(บังภาพส่วนที่ไม่ต้องการให้เห็น) หรือเอาส่วนของ artwork ออกไปด้วยแปรง (brush tool) และเอาชิ้นส่วนเดิมใส่กลับมาใหม่ได้เช่นกัน
แปรงสีดำหมายถึงเอาวัตถุออก สีขาวคือใส่วัตถุกลับคืน
ขั้นที่ 4
ใช้แปรงที่ถูกตั้งค่าสีเป็นสีดำ และปรับค่าความแข็ง (hardness) ของแปรงให้เหลือศูนย์ จะทำให้ขอบของแปรงดูนุ่มลงอย่างมาก ซึ่งเป็นการจำลองเฉดสีปกติของฉลากรอบๆวัตถุทรงกลม ถัดไปใช้คำสั่ง “paint off” กับขอบของฉลาก ตรงด้านข้างของขวดด้านหนึ่ง และทำซ้ำกับอีกด้านหนึ่ง
ถ้าคุณขยับแปรงมากเกินหรือ “paint off” เกินกว่าที่ต้องการ ให้เปลี่ยนสีของคุณเป็นสีขาว (สามารถสลับสีสองสีไปมาด้วยการกดปุ่ม X) และ “paint” ภาพกลับคืน นี่คือเหตุผลหนึ่งทิ่นิยมใช้ mask (การบังส่วนที่ไม่ต้องการให้เห็น) ในการลบภาพมากกว่า เพราะเวลาที่ใช้เครื่องมือลบภาพ (erase tool) เท่ากับคุณลบข้อมูลออกไปด้วย แต่ถ้าใช้คำสั่ง mask คุณสามารถเอาภาพออก/ใส่ภาพกลับคืนได้ตามต้องการ
ขั้นที่ 5
ถึงตอนนี้คุณก็ได้ฉลากที่มีเฉดสีบริเวณขอบเหมาะสมแล้ว แต่มันยังดูแบนและดูไม่เป็นส่วนเดียวกับขวดอย่างสมบูรณ์ ให้กด command key ค้างไว้และคลิก layer ฉลาก เพื่อสร้าง selection [หรือการกำหนดขอบเขตของภาพ เพื่อใช้สำหรับการแก้ไข ปรับแต่งภาพ ใส่เอฟเฟกต์ให้ภาพ ซึ่งเมื่อสร้าง selection ขึ้นมาแล้ว ใช้คำสั่งเช่นปรับสี ปรับแสง-เงา หรือใส่ฟิลเตอร์ คำสั่งที่ใช้จะมีผลกับพื้นที่ที่เลือกไว้เท่านั้น และการ selection ยังใช้แยกพื้นที่บางส่วนออกมาเพื่อใช้ในการตัดต่อภาพได้อีกด้วย]ภาพฉลากของคุณ เมื่อคำสั่ง selection ทำงานแล้ว ให้คลิกบนเลเยอร์ของขวด และกด command + J เพื่อคัดลอก (duplicate) ภาพขวดที่อยู่ใน selection
ให้ใช้คำสั่ง Image > Adjustments >Desaturateซึ่งเป็นคำสั่งสำหรับลบค่าเฉดสีออกจากเลเยอร์ที่คัดลอกมา [หรือทำภาพขาวดำนั่นเอง]คุณไม่ต้องการให้สีจากเลเยอร์มาอยู่ในภาพกราฟิก ดังนั้นการลบสีออกไปจึงทำให้เหลือแต่โทนของเงาและสีเทาที่ใช้เป็นพื้นผิว
เลื่อนเลเยอร์ที่คัดลอกไปไว้บนเลเยอร์ของฉลาก เปลี่ยนค่าโหมดเป็นแบบ Overlay (ปิดทับ)และกำหนดค่าความเข้มที่ 40 เปอร์เซ็นต์
เท่านี้เอง! ทดลองและลองใช้วิธีนี้กับ object ต่างๆ นี่คือวิธีวางองค์ประกอบภาพ หรือ เอาภาพมิติเดียวของคุณวางลงบนวัตถุ 3D (สามมิติ)ที่แจ่มมากเลย
เรียบเรียงจากบทความต้นฉบับ
http://www.shutterstock.com/blog/how-to-easily-add-a-flat-graphic-o...
บทความและภาพประกอบนี้ ได้รับอนุญาตจาก Shutterstock : สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย
ติดต่อซื้อภาพถ่าย ภาพเว็คเตอร์ และคลิปวิดีโอจาก Shutterstock ได้ที่ตัวแทนในประเทศไทย www.digicontents.com
โทรศัพท์ : 094 879 6999 อีเมล : contact@digicontents.com Line ID : digicontents
© 2009-2025 PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.
Powered by
You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!
Join PORTFOLIOS*NET