Views: 21

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

Comment by Thudson Harnrangkiat on April 25, 2009 at 7:28pm
นานาศิลปะ กอ ขอ คอ งอ.....
ชัชฎาวรรณ ฟอยส์เลอร์

ความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของการเรียนการสอนศิลปะ ที่ภาควิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คือการไม่แยกวิชาเอกให้กับนักเรียน เช่น เอกจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย หรือ วีดีโออาร์ต ฯลฯ นักเรียนศิลปะที่นี่สามารถทดลองใช้สื่อหลากหลายรูปแบบ ตามความถนัด ความสนใจ ความชอบส่วนตัว เพื่อค้นหาวิธีการนำเสนอที่เป็นผลสมบูรณ์มากที่สุดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของตน

การเรียนการสอนแบบไม่จำกัดสื่อนี้สร้างจุดเด่นในผลงานของศิลปินที่จบการศึกษาจากที่นี่หลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็น ยุรี เกนสาคู กับผลงานภาพเขียนที่เริ่มต้อนจากภาพเขียน 2 มิติ มาเป็นงานสื่อผสม 2 มิติ ร่วมกับประติมากรรมขนาดเล็ก เช่นผลงานหลายๆ ชิ้น ในชุด รักเลี่ยมเศวตสุวรรณ (Love in Platinum Frame) ปี 2007 หรือก่อนหน้านั้นกับผลงานจัดวาง (Installation Art) แบบเรียนสังหาร จัดแสดงร่วมในนิทรรศการ School of Bangkok 2006 หรือผลงาน ชุดสมุดวาดเขียนเรื่องเล่า เด็กหญิงลูก (ไม่) ท้อ ผจญแดนปลาดิบ ภายใต้โครงการศิลปินพำนัก ที่ Yokohama Museum of Art ผลงานชิ้นนี้ถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึก และความหมายของตัวตนที่เกิดขึ้นและกลายเป็นยุรีได้อย่างสมบูรณ์ชิ้นหนึ่ง

พรทวีศักดิ์ ริมสกุล เป็นอีกหนึ่งศิลปินรุ่นใหม่จาก ม. กรุงเทพอีกหนึ่งคนที่ก้าวเข้าสู่งวงการศิลปะร่วมสมัยอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยผลงานจัดวางที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วม (Interactive Installation Art) สร้างจากวัสดุ ชิ้นส่วนกลไกอิเล็คทรอนิกส์ ที่มีความเป็นของเล่นเด็กผู้ชายอยู่สูง เช่น กาน้ำต่อขาหลายสิบตัว วิ่งวนบนห้องจัดแสดงงาน นิทรรศการข้างใน-ข้างนอก / Inside-Outside / Dedans-Dehors, Galerie Crous-Beaux Arts, ประเทศฝรั่งเศส หรือ รถทหาร พร้อมรีโมทควบคุม ละเลงสีบนกระบะไม้ ในนิทรรศการเดี่ยวของเขาใน ปี ค.ศ. 2006 ที่ 100 ต้นสน Gallery ส่งผลให้พรทวีศักดิ์กลายเป็นศิลปินต้นแบบฉบับ ม. กรุงเทพ ฯ กับวิธีคิดนักประดิษฐ์ ของเล่นให้กับรุ่นน้องหลายๆ คน เช่น กฤช งามสม กับผลงานกลองเพล ในนิทรรศการ School of Bangkok 2006 หรือ กับผลงานในชุดเทคโนโลยีตลาดล่าง ภายใต้โครงการศิลปกรรม Brandnew 2008 หรือผลงานเลโก้ตัวต่อ โดย อรณิชชา บริบูรณ์ แนวคิดต่อการสร้างสรรค์งานของพรทวีศักดิ์ได้ถูกตอกย้ำให้เห็นเด่นชัดในโฆษณามหาวิทยาลัยกรุงเทพปี 2009 ที่ว่า “ผมเห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น”

ปฏิรูป ฉายชูเกียรติ และ วสันต์ ฐิติสกุล เป็นอีกสองศิษย์เก่าที่มีผลงานน่าสนในกับงานศิลปะเชิงความคิด (Conceptual art) พวกเขาเลือกใช้ที่ใช้สื่อทุกชนิดรอบตัวตั้งแต่ drawing, กระดาษ เศษวัสดุ จนไปถึงหนังสือไม่เคยถูกยืมในห้องสมุด ในนิทรรศการ Dual Voltage โดย ปฎิรูป ฉายชูเกียรติ ณ หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ปี ค.ศ. 2006 หรือ วสันต์ ฐิติสกุล แนวคิดการจัดการภาพถ่ายที่มากไปกว่าภาพความทรงจำในผลงาน Twenty baht per piece (20 บาทต่ออัน) ด้วยการห่อรูปถ่ายทุกใบด้วยอลูมินั่มฟอยส์ แปะบนผนังให้ผู้ชมเลือกหยิบจับปรับเปลี่ยนผลงานบนผนัง พร้อมจ่ายเงิน 20 บาท ก่อนได้ผลงานที่ระลึกกลับบ้าน ในเทศกาลเดือนแห่งภาพถ่ายกรุงเทพฯ ครั้งที่ 3 ณ ร้านบาร์ บาหลี หรือผลงานวีดีโออาร์ต Don’t’ Look Back ที่สื่อแนวคิดของปฏิกิริยาตอบโต้และผลย้อนกลับที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ฉับพลัน และบางครั้งก็คาดการณ์ไม่ได้ในสังคม

สำหรับนิทรรศการ “โอ้ว” ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปี ว่าที่ศิลปินรุ่นใหม่ทั้ง 14 คนที่จะจัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานครในปีนี้ แต่ละคนต่างทำงานที่ตนเองสนใจ จากความรู้สึกภายใน ประสบการณ์ที่ต่างคนได้สัมผัสให้กลายเป็นผลงานศิลปะกับสื่อนานารูปแบบไม่ว่าจะเป็น ผลงานจิตรกรรม วาดเส้น Shower โดย โกสินทร์ ถนัดเค้า, I will be a super hero no.6 โดย ธีรวัตร กอบกิจวัฒนา, Untitled โดย พีระพัฒน์ หิรัณยเลขา, Back to my memory โดย อเนก เพิ่มแสงสุวรรณ และ รองเท้าบู๊ตของพ่อ โดย อณากร พงษ์ประยูร ผลงานประติมากรรม ของฉันของเธอ โดย อาภาภร เกิดโภคทรัพย์, ผลงานแบบของเล่นประดิษฐ์ตามรอยรุ่นพี่อย่างพรทวีศักดิ์ ริมสกุล อย่าง The Rich Man Toy โดย พงศกร ธนวงษ์ชัย, จับปูใส่กระด้ง โดย ประกาศิต ณ จรัสวงษ์, และ เก้าอี้ + ตู้ลิ้นชัก โดย ต้นข้าว ขวัญนาค งานศิลปะด้วยสื่อใหม่ อย่างภาพถ่าย เจ้าหญิงน้อยกับครอบครัวในอุดมคติ โดย นวพล จิรรัตนธรรม และงานวีดีโออาร์ต Question 2009 โดย พร้อมบุญ ชุณห์ช่วงโชติ, Shadows โดย อุเทน แวววับ และ Strength / Behaviour / Subconscious โดย ทรรศน หาญเรียงเกียรติ รวมถึงงานศิลปะเพื่อสังคม (Public Art) รถแห่งฝัน อริยธัช พาสนยงภิญโญ กับการสร้างรถศิลปะลวดลาย Graffiti และคาดหวังที่จะให้รถคันนี้ได้วิ่งออกไปร่วมกิจกรรมกับคนในสังคม

ความเปิดกว้างของสื่อนานารูปแบบที่ศิลปิ

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service