นิทรรศการภาพถ่าย "ไหว้น้ำ" (Wai Nam)

Event Details

นิทรรศการภาพถ่าย "ไหว้น้ำ" (Wai Nam)

Time: May 26, 2011 to June 30, 2011
Location: Baan Bar
Street: Soi Rangnam
City/Town: Bangkok,Thailand
Website or Map: http://www.facebook.com/pages…
Phone: 081 850 5745,08 1697 4866
Event Type: art, exhibition
Latest Activity: May 28, 2011

Export to Outlook or iCal (.ics)

Event Description

*English please scroll down*


Wai Art โครงการศิลปะของกลุ่มไม่หวังผลกำไร ที่อุทิศตัวเพื่อสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ในประเทศไทย จะเปิดตัวนิทรรศการแรก ที่มีชื่อว่า ไหว้น้ำ (Wai Nam) ในวันพฤหัสที่ 26 พฤษภาคม ที่ ร้านบ้านบาร์ (Baan Bar) ซอย รางน้ำ, กรุงเทพ ซึ่งนิทรรศการจะจัดแสดงไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 
Wai Art นำโดย ภัณฑารักษ์ ถนอม ชาภักดี ซึ่งร่วมกับร้านอาหารบ้านบาร์ (Baan Bar) ในฐานะเป็น แกลเลอรี่แรกที่ใช้เปิดโปรเจ็คท์ในการทำให้ แนวคิดที่ว่า “ศิลปะเพื่อคนทั่วไป” ซึ่งจัดแสดงในพื้นที่สาธารณะในเมืองมากกว่า เป็นเหมือนแกลเลอรี่อื่นทั่วไปที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวและจำเพาะต่อกลุ่มบุคคลอย่างเห็นได้ชัด
“มีศิลปินที่มีแววอยู่มากมายในประเทศไทย และ วัตุประสงค์ของเรา คือ เปิดโอกาสให้ศิลปินแสดงผลงานศิลปะสู่สาธารณชนและสร้างการรับรู้ต่อเรื่องราวศิลปะกับบริบททางสังคมโดยทั่วไป โดยการประยุกต์เอาพื้นที่สาธารณะไว้ใช้แสดงนิทรรศการ ซึ่ง สถานที่เหล่านั้น อาจจะเป็น บาร์และคาเฟ่ ซึ่งเปิดให้บริการทุกวันและเปิดให้บริการจนถึงค่ำคืน” ถนอม กล่าว นอกจาก ถนอม ชาภักดี จะเป็นที่รู้จักกันในนาม นักวิจารณ์งานศิลปะของเนชั่นสุดสัปดาห์ที่มีชื่อเสียง , อาจารย์มหาวิทยาลัย และบัณฑิตมหาวิทยาลัยKent แคนเทอร์เบอร์รี่ จากประเทศอังกฤษ เขายังเคยเป็นอดีตบรรณาธิการนิตยสาร Wai Art Fanzine ซึ่งได้เปิดมิติในการสื่อสารให้กับ ศิลปินร่วมสมัยของไทยที่ประสบความสำเร็จในช่วงยุค1980-90 มาแล้ว 

Wai Art ได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งและเลือกงานของสองศิลปินช่างภาพไทยรุ่นใหม่ ผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับกลุ่มคนพื้นเมืองทางภาคใต้- คือกลุ่มชนชาวมอร์แกน และชนกลุ่มน้อยชาวบรู ซึ่งอยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทย สำหรับจัดแสดงนิทรรศการเปิดหมุดหมายทางพื้นที่อย่างแท้จริง
ภาพถ่ายของ อุกฤษ จอมยิ้ม ที่ถ่ายกลุ่มชนชาวมอร์แกน เสมือนเป็นชนกลุ่มน้อยในทะเลกว้าง ที่มีจำนวนราวๆไม่เกิน 3,000 ชีวิต ที่อาศัยอยู่ระหว่างประเทศไทยและพม่า เป็นกลุ่มชนที่กลายเป็นที่ได้รับความสนใจจากเหตุการณ์ สึนามิ ในปี 2004 ที่ คร่าชีวิตและชุมชนในแถบพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน แต่สำหรับกลุ่มชนชาวมอร์แกน ซึ่งได้รับการสั่งสอนจากเรื่องเล่าของบรรพบุรุษของพวกเขา ที่ตระหนักรู้ถึงภัยพิบัติที่กำลังเกิดก่อนใคร ซึ่งทำให้พวกเขารอดพ้นจากภัยพิบัติและไม่ได้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ครั้งนั้น 
ในขณะที่ ชาวบรู (Bru) เป็นชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากกว่า พบที่ประเทศเวียดนาม ลาว และ ไทย ซึ่งรวมตัวกันอยู่ในแถบริมแม่น้ำโขง และมีกลุ่มประชากรราว 130,000 ตามทั้งสามประเทศนี้ ภาพของชนกลุ่มน้อยชาวบรู ถ่ายโดย เอกลักษณ์ นับถือสุข 
ทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ มีความแตกต่างกันในหลายๆเรื่อง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ร่วมกันคือ การมีวิถีชีวิตที่เคารพและสำนึกในบุญคุณของสายน้ำ ที่เป็นเหมือนสายโลหิตที่หล่อเลี้ยงทั้งสองชุมชนมากกว่าร้อยปี 
“จากภาพถ่ายของทั้ง อุกฤษ และเอกลักษณ์ เป็นประจักษ์พยาน ที่ทำให้เราเห็น ชีวิตประจำวันของสองชุมชน และเข้าใจว่า แม้มีชีวิต นอกขอบเขตของแบบแผนทางสังคม พวกเขากลับมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อสิ่งที่มีความหมายในการมีชีวิตกับธรรมชาติ และนี่เป็นสิ่งที่พวกเราลืมกันมานานมากแล้ว” ถนอมกล่าว 
“เหตุการณ์ที่ขัดแย้งกันในเหตุการ์น้ำท่วมทางภาคใต้ของไทยเมื่อไม่นานมานี้ ที่มีฝนตกหนักได้กวาดล้างหมู่บ้านหายไป ทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนว่า ความละโมภของพวกเรานี้เองที่สร้างความผิดพลาดที่น่าหวาดกลัว ซึ่งถ้าพูดกันตามตรง ก็คือ เป็นเหตุให้เราต้อง ว่ายน้ำหนีเพื่อชีวิตของเรา” 
ถนอม เป็นวิทยากรรับเชิญในมหาวิทยาลัยชื่อดังทั่วโลกมากมาย อาทิ Cornell (อเมริกา), SOAS (อังกฤษ) และปักกิ่ง กล่าวเสริมว่า ถ้าไม่มีเสียงให้ศิลปินรุ่นใหม่ได้เกิดความตระหนักรู้ต่อประเด็นทางสังคม ก็จะไม่มีมุมมองอะไรถูกหยิบยกขึ้นมาและก็ไม่มีใครกล้าตั้งคำถามอีกต่อไป 

 

Comment Wall

Comment

RSVP for นิทรรศการภาพถ่าย "ไหว้น้ำ" (Wai Nam) to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

Comment by NEWS PORTFOLIOS*NET on May 25, 2011 at 11:07am

“นี่จึงเป็นเป้าหมายหลักของ Wai Art พวกเราต้องการกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงอย่างฉับพลันและสนับสนุน ผู้ที่มีความสามารถ และ ความคิดของศิลปินยุคใหม่ของไทยและต่างประเทศ ศิลปินที่ไม่มีเวทีในการแสดงออก หรือ ไม่มีสิทธิ์มีเสียงในการสร้างผลงาน ศิลปินทั้งหลายที่กล่าวมาในเบื้องต้นในสังคมของเรา เราจำเป็นต้องสามารถตั้งคำถามได้ว่า “ทำไม?” “ไหว้น้ำ (Wai Nam)” นิทรรศการแสดงภาพถ่ายของสองศิลปิน อุกฤษ จอมยิ้ม และ เอกลักษณ์ นับถือสุข จะเปิดแสดงตั้งแต่วันที่ 26 เวลา 18.00น. ที่ ร้านบ้านบาร์ ตั้งอยู่ใกล้กับ คิง พาว์เวอร์ คอมเพล็กซ์ ในซอย รางน้ำ และจัดแสดงไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน

 

The Bru in contrast are a larger ethnic minority community found in Vietnam, Laos and Thailand who congregate along the Mekong River and number a population estimated at 130,000 across the three countries. They were photographed by Ekarak Nubtheursuk and Ugrid Jomyim.
The two groups are different in many ways – but share one thing in common – a deep respect and appreciation of water which has been the lifeblood of the two communities for hundreds of years.“Through the photography of Ugrid and Ekarak we can witness the day to day lives of these two communities and see that despite living outside the boundaries of traditional society they have a much more profound understanding of what it means to live with nature. This is something we have long forgotten,” said Mr Thanom. 

“The irony of the recent flooding in the south of Thailand and the villages that are washed away by the annual rains in the north only serve as a reminder that our greed has produced a terrible oversight that is causing us to literally swim for our lives when it rains now.”
Mr Thanom - a guest lecturer at universities worldwide such as Cornell (US), SOAS (UK) and Beijing - added that unless a voice was given to young artists awareness of social issues would not be raised nor questions asked.
“This is a key goal of Wai Art. We want to simultaneously prompt discussion and promote the talents and opinions of young artists in Thailand and overseas – artists who do not currently have a platform or a voice for their work. Above all, in our society we need to be able to ask the question - why?”
Wai Naam exhibition by Ugrid Yomyim and Ekarat Nubtheursuk will open on May 26 at 6pm at Baan Bar located next to the King Power Complex on Soi Rangnam, Bangkok. It will run until June 30.

Thanom Chapakdee
CuratorWai Art
Mobile:+668 1850 5745      
E-mail: waiart@in.com
Sumana Phadungphan
Public Relations
Wai Art
Mobile:+668 1697 4866      
E-mail: waiart@in.com

Facebook : http://www.facebook.com/pages/Wai-Art/153167014732391?sk=wall

Attending (2)

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service