ถามมาตอบไป 2: ว่าด้วยเรื่องลิขสิทธิ์ภาพถ่ายสถาปัตยกรรม


คำถามนี้มาจากนาย ต. เต้ยอย่างเดียว

สวัสดีครับคุณอาหมอเด๋ยที่เคารพ ผมอายุ 27 ปี แต่งงานกับภรรยามาจะครบ 1 ปีในเดือนหน้าแล้วครับ มีความสุขดีครับ อยากจะถามคุณอาหมอเด๋ยว่า ถ้ามีคนจ้างเราถ่ายงาน แล้วลิขสิทธิ์รูปจะเป็นของใครครับ ในกรณีถ่ายด้วยฟิล์ม ก็คงให้ฟิล์มเค้าไปเลย ลิขสิทธิ์ก็เป็นของเจ้าของงาน (คนจ้างเรา) ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับ แต่กรณีถ่ายด้วยดิจิตอล เราไร้ท์ไปให้เค้า แล้วรูปที่อยู่ในเครื่องเรา เราสามารถเอามาโพสเป็น portfolio ได้มั๊ยครับ

ขอให้คุณอาหมอเด๋ยมีความสุขนะครับ
นาย ต.

Views: 450

Replies to This Discussion

ตอบ นาย ต. อย่างเดียว (หวังว่าคงได้ชม MV เต้ยอย่างเดียว แจกกระจาย ของเฉลิมพล มาลาคำ ในเว็บยูทุบแล้ว มันเร้าใจเจงๆ)

ในกรณีคำถามของหลาน ต. ถ้าต้องตอบสั้นๆ คุณอาหมอว่า ภาพเรา เงินเรา ก็เป็นลิขสิทธิ์เรา แต่ถ้า ภาพเรา เงินเขา ก็ถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมโดยอัตโนนาโถ แต่ในโลกความจริงหาได้ซิมเปิ้ลเช่นนั้นไม่ เลยทำให้อาเด๋ยต้องตอบยาวๆดังนี้

ในกรณี ภาพเรา เงินเรา ลิขสิทธิ์เรา อันนี้มันแน่อยู่แล้ว ตัวกูของกูกล้องฟิล์มกูรูปกูสิทธิกู ใครมาเอาไปใช้โดยมิได้รับอนุญาตก็ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซะงั้นแน่นอน ฟ้องหย่าเลย เท่าที่เห็นในปัจจุบัน งานที่เป็น hard copy พวกฟิล์มกับพริ้นท์ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะคนขี้เกียจสแกน แต่ไฟล์ดิจิตัลที่โพสต์ไว้ใน online gallery นี่ซิโดนขโมยไปใช้กันจัง แบบนี้เรียกมักง่าย เอาเปรียบคนอื่น และนอกจากถือเป็นการไม่ให้เกียติคนอื่นแล้วยังเป็นการดูถูกตัวเองอย่างน่าละอายมั่กๆ เลยมีคนดีๆ ขยันๆ เขาทำซอฟต์แวร์ประเภท creative common หรือสัญญาอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ขึ้นมา ซึ่งทำให้เราซึ่งเป็นเจ้าของงานรู้สึกดีขึ้นได้นิดหน่อย มันเป็นเหมือนข้อกำหนดที่บอกให้คนที่จะมาเอารูปของเราที่โพสต์อยู่บนเว็บไปใช้ว่า “เฮ้ย รูปนี้มีเจ้าของ จะเอาไปใช้ก็อ่านก่อนดิว้า ไม่งั้นฟ้องนะเว้ย” ในรายละเอียดผมยังไม่ได้ศึกษา แต่ถ้าใครสนใจดูข้อมูลได้ที่ http://cc.in.th/ นะครับ คิดอย่างไร เอามาเสวนากันต่อที่นี่ได้

แต่ถ้าเป็นภาพเรา เงินเขา อย่างที่คุณ ต.เต้ยถามมา โดยทั่วไปผมถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ร่วมครับ เรื่องที่เราจะเอามาทำเป็น portfolio มันไม่ควรจะเป็นปัญหาหรอกครับ เพราะไม่มีผลประโยชน์ทางพานิชย์ นอกเสียจากว่าผู้ว่าจ้างเขาจะติดขัดมีปัญหา เช่นหากว่าสถานที่ หรืออาคารที่เราไปถ่ายนั้น เป็นสถานที่สำคัญ เจ้าของเขาไม่ต้องการเผยแพร่ หรือเป็นบริษัทโฆษณาที่ไม่ต้องการให้ภาพหลุดออกไปก่อนเวลาอันควร ส่วนใหญ่เขาก็จะแจ้งเราก่อน กำชับเราก่อนแน่ๆครับ หรือถ้าไม่ เราก็อาจจะต้องสำเหนียกด้วยวิจารณญาณของเราเอง ก็สอบถามเขาให้หมดเรื่องไป ในส่วนที่เป็นฟิล์ม โดยปกติผมจะถ่ายสำรองไว้สองชุด กรณีชุดแรกเกิดพลั้งพลาดหายไป เราก็ยังมีสำรอง และจะสแกนเก็บไว้เป็นไฟล์ด้วยครับ

แต่ในรายละเอียด ถ้าทั้งช่างภาพและผู้ว่าจ้างไม่เคยทำงานด้วยกันมาก่อน ก็ต้องมีการตกลงกันแต่แรก เขียนโน้ตไว้ในใบเสนอราคาก็ได้ว่าลิขสิทธิ์เป็นลิขสิทธิ์ร่วม และเมื่อเขาเห็น ถ้าเขาทักท้วงก็ต้องพูดคุยกัน ก็อธิบายไปว่าเขาสามารถรูปไปใช้เชิงพานิชย์ได้เลย ส่วนเราก็เอาไว้ทำพอร์ตไม่ได้เอาไปขายให้คนอื่นต่อ ส่วนใหญ่ที่ต้องคุยหรืออธิบาย ก็จะเป็นบริษัทต่างชาติ และบริษัทโฆษณา ที่เราต้องระวังเรื่องการเผยแพร่ครับ ประมาณเนี้ยอ่ะครับ แต่ถ้ามีเวลาก็เขียนเป็นเงื่อนไขแนบไปในใบเสนอราคาให้เป็นเรื่องเป็นราวเลยก็ได้ครับ สบายใจดี แต่ส่วนใหญ่จะเห็นไม่มีเวลาทำกัน แต่ถ้าเป็นสตูดิโอใหญ่ๆ จดทะเบียนการค้าเป็นเรื่องเป็นราว เขาต้องทำกันเป็นปกติอยู่แล้วครับ


ขอบคุณคุณ ต. มากครับ สำหรับคำถาม
จากภาพประกอบด้านบน แสดงให้เห็นว่าภรรยาของคุณ ต. ถือลิขสิทธิ์อย่างสมบูรณ์ในตัวคุณแล้วล่ะครับ หากมีผู้ใดมาล่วงละเมิดนี่ เป็นเรื่องครับ เป็นเรื่อง





(เห็นคุณ ต. อ้างเอ่ยถึงภรรยาเลยเอาภาพงานแต่งเต้ยกะบีมาประจานความน่ารักไว้ ณ.ที่นี้ด้วยครับ เกิดมาเป็นช้างเท้าหลังแท้ๆเล้ยยยย)
อันนี้ที่คุณเอซเคยโพสไว้ครับคุณเด๋ย ผมเอามาแปะไว้ที่นี่อีกทีแล้วกันครับ
http://www.portfolios.net/profiles/blogs/creative-commons


ทำไมจึงควรใช้ Creative Commons
ไม่ใช่งานทุกชนิดที่ควรใช้ Creative Commons

งานที่เหมาะจะประกาศเป็น Creative Commons คืองานที่ตั้งใจเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนทั่วไปอยู่แล้ว (เท่านั้น) Creative Commons เป็นแค่ “เครื่องมือ” ในการตัดตอนกระบวนการเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายที่ผมยกตัวอย่างให้ดูข้างต้น ออกไป

ในความเป็นจริงแล้ว คนเราสามารถใช้ทั้งลิขสิทธิ์เต็มรูปแบบ (copyright) และ Creative Commons ควบคู่กันไปได้ ตัวอย่างเช่น นาย C เป็นช่างภาพฝึกหัดที่ยังไม่มีชื่อเสียง

สำหรับภาพถ่ายเวอร์ชันความละเอียดต่ำที่แสดงบนเว็บ เขาประกาศว่าเป็น Creative Commons
ภาพเดียวกันที่ความละเอียดสูงๆ สำหรับใช้ในงานพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของนาย C ตามปกติ (และแน่นอนว่าต้องขออนุญาต)
นาย D แวะเวียนเข้ามาเห็นภาพของนาย C ว่าสวยจัง เอาไปลงเว็บของตัวเองซึ่งสามารถทำได้ทันทีเพราะนาย C ประกาศเอาไว้แล้วว่าทำได้ เผอิญว่าเว็บของนาย D มีคนเข้าเยอะมาก ภาพนั้นดันไปเตะตา บก. E เข้าให้ บก. E เห็นชื่อของนาย C ใต้ภาพ (เพราะคุณพี่ D เคารพสัญญาอนุญาต เอารูปมาลงแล้วขึ้นชื่อให้ว่าเอามาจากที่ไหน) เลยติดต่อไปยังนาย C สุดท้ายแล้วภาพที่ว่าได้ลงปกนิตยสาร เป็นต้น

งานนี้ทุกฝ่ายแฮปปี้

นาย C ได้เงินจากการขายภาพเวอร์ชันความละเอียดสูง แถมดังเพราะรูปตัวเองได้ลงปก อนาคตอาจกลายเป็นช่างภาพอันดับหนึ่งของประเทศ
นาย D ได้รูปไปลงเว็บให้คนอ่าน แถมดีใจเสียอีกช่วยนาย C ให้ดัง
บก. E ได้งานคุณภาพไปลงปกหนังสือ
เห็นประโยชน์ของ Creative Commons กันหรือยังครับ :D


ที่มา : www.blognon.com

ส่วนวิดีโอแนะนำจะเข้าใจง่ายกว่าครับ ตามนี้เลยครับ
http://www.portfolios.net/video/video-creative-commons
ขอบคุณมากครับคุณ jukurae เป็นประโยชน์มากเลยครับ
โอ้ววว ขอบคุณ คุณอาหมอเด๋ยมากครับ
แล้วผมจะแวะเวียนมาเป็นหน้าม้า เอาตัวและหัวใจเข้าแลกกับบรรยากาศอันครึกครื้นของห้องภาพสถาปัตย์อีกนะครับ

ปล.จริงๆแล้วผมเป็นช้างเท้าหน้านะครับ แต่บ้านนี้ช้างมันเดินถอยหลัง..T_T!
มีประเด็นมาให้ถกเถียงกันอีกแล้วครับ
http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=687614&page=19
งานใหญ่ระดับชาติเลย

งานประกวดแบบ แล้วไปเอารูปของคนอื่นมาใช้เป็นแบ็คกราวนด์ของงานเรา รีทัชเรียบร้อยเลย
ยังงี้จะจบลงด้วยประการละยังไงครับพี่เด๋ย

ซึ่งกรณีนี้ก็จบลงแบบไม่ค่อยจะดีนัก (ต้องตามไปอ่านต่อกันเอาเองนะครับ)

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service