“การถ่ายภาพ Panorama” โดยวิทยากร ดร.ชวาล คูร์พิพัฒน์

*** ต้องขอบพระคุณ อ.ชวาลเป็นอย่างสูงที่กรุณามาถ่ายทอดเนื้อหาด้วยตัวเองที่ Portfolios*Net ***
*** อ่านที่อาจารย์โน๊ตไว้ให้ได้ข้างลางเลยครับ

แจ้งกระทันทันไปนิดนะครับ ถ้าใครว่าอย่าลืมแวะไปชมนะครับ ดูรายละเอียดที่ link เลย

http://www.portfolios.net/forum/topics/2988839:Topic:42926

Views: 3539

Replies to This Discussion

สกัดเอาเนื้อหามาให้ได้อ่านกัน นะครับ

ประเภทของพาโนรามา [1]
1. Planner คือภาพพาโนรามาตามยาวแบบมุมกว้างทั่วไปโดยจะมีมุมประมาณ 120 x 50 องศา
2. Cylindrical คือภาพ Panorama ที่มุมมองรอบตัวในแนวนอนเท่ากับ 360 องศา คล้ายเป็นรูปทรงกระบอก โดยมุมจะอยู่ที่ประมาณ 360 x 100 องศา
3. Cubic คือภาพ Panorama ที่แสดงภาพแบบลูกบาศก์ 6 ด้าน โดยใช้รูปประกอบกันจำนวน 6 รูป จะมีมุม ประมาณ 360x180 องศา
4. Equirectangular คือภาพ Panorama ที่มีมุม 360x180 องศา โดยการถ่ายรอบตัวในลักษณะทรงกลม (spherical) และสามารถนำมาทำเป็นภาพ Quicktime VR ได้


Tools and Instruments

1. กล้องถ่ายภาพ ท่านสามารถเลือกใช้ได้ทุกประเภท แต่ กล้องที่มีรูเสียบขาตั้งกล้องอยู่ในแนวเดียวกับเส้นศูนย์กลางของกล้อง จะทำให้มีปัญหาในการถ่ายภาพน้อยกว่า และควรเลือกใช้เลนส์มุมกว้างจะได้ผลดีที่สุด
2. ขาตั้งกล้อง ควรเป็นขาตั้งกล้องที่มีความมั่นคงแข็งแรงเพราะในการถ่ายภาพจะต้องมีการหมุนกล้อง นอกจากนี้แล้วหากมีระดับน้ำเพื่อตั้งขาให้ได้ระดับก็จะทำให้ภาพที่ถ่ายแล้วต่อกันได้ง่ายยิ่งขึ้น
3. Panorama Head เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้ จุดหมุนของเลนส์อยู่ในตำแหน่งการหมุนของขาตั้งกล้อง
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับโหลดภาพจากกล้องไปตกแต่งและต่อภาพควรเลือกที่มี processor ที่มีความเร็วสูง และมี Ram มากๆ เพราะส่วนใหญ่ภาพพาโนรามาจะใช้เวลาในการประมวลผลนาน
5. โปรแกรมสำหรับต่อภาพ เช่น Hugin. Autopano

หลักการถ่ายภาพพาโนรามา
1. การซ้อนทับกันของภาพที่ติดกัน ภาพแต่ละภาพที่จะนำมาต่อกันจะต้องซ้อนกันอย่างน้อย 20% ไม่ว่าจะถ่ายภาพแนวตั้งหรือแนวนอน ค่าที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 30% แต่หากต้องการให้การซ้อนกันเนียนมากๆ ควรตั้งที่ประมาณ 50%
2. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องให้ได้ระดับทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยต้องควบคุมการตั้งระดับน้ำในขาตั้งกล้อง หรือบนหัวพาโนรามาให้ได้ระดับ หากตั้งไม่ได้ระดับแล้วจะทำให้ภาพที่ต่อกันนั้นเบี้ยว และต้องตัดภาพส่วนบน ส่วนล่างทิ้งไป
3.ควบคุมExposure ให้มีค่าคงที่ ดังนั้นจึงต้องถ่ายในโหมด Manual เพราะหากตั้งโหมด อื่นๆ แล้ว ค่าการฉายแสงจะถูกปรับเปลี่ยนไปจากความเป็นจริง
4.ตั้งกล้องให้จุดโนดัล (nodal point) ของเลนส์ อยู่ ณ จุดหมุนของขาตั้งกล้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา พาราแล็กซ์ (Parallax)


หลักและเทคนิคการหาจุดโนดัล ดังนี้
1. ตั้งกล้องบนขาตั้ง โดยติดไปที่หัวพาโน โดยให้จุดศูนย์กลางเลนส์ ในอยู่ในแนวกับจุดหมุนของขาตั้ง ตามเส้นในแนวดิ่ง (เลื่อนเส้น A ไปทับเส้น B ตามระยะลูกศร)


จากภาพจะเห็นเส้นแนวดิ่งสองเส้นแสดงถึงจุดหมุนของขาตั้งกล้อง(เส้น B) แนวจุดศูนย์กลางของเลนส์ (เส้น A) ในการปรับหัวพาโนจะต้องเลื่อนให้กล้องมาด้านขวาจนเส้นแนวดิ่งสองเส้นนี้ ซ้อนทับกัน โดยการเลื่อนแท่นแนวนอน (เส้นลูกศร) ในภาพ ท่านอาจจะใช้ไม้บรรทัดวางทาบที่ศูนย์กลางเลนส์เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง เมื่อได้ระยะที่ถูกต้องแล้วให้จดระยะบนแท่นวาง ณ ตำแหน่งนี้ไว้เพื่อใช้ในครั้งต่อๆ ไป
2. เลื่อนกล้องไปด้านหลังจนจุดโนดัลของเลนส์มาอยู่ ณ จุดหมุนของขาตั้งกล้อง คือให้เส้น A ทับเส้น B


เทคนิดการหาจุดโนดัล


จากภาพด้านล่างเป็นการตั้งกล้องในแนวตั้ง ให้ท่านหาวัตถุมาวางไว้ใกล้ๆ เลนส์แล้วหาฉากหลังที่มีเส้นเพื่อเป็นตัวช่วยสังเกตการเกิด parallex กล่าวให้สังเกตไม้ที่เป็นฉากหน้ากับกรอบหน้าต่างที่เป็นฉากหลัง จะเห็นว่ามีตำแหน่งไม่ตรงกัน เมื่อเราหมุนกล้อง โดยภาพซ้ายสุด แท่งไม้ด้านหน้าจะทับกรอบหน้าต่างพอดี แต่ภาพถัดมา แท่งไม้กลับมาอยู่ด้านขวามากกว่า ซึ่งหากเราเลือนกล้องให้ถอยหลัง parallex ของภาพซ้ายขวาก็จะลดน้อยลง จนท้ายที่สุดจะหายไป นั่นคือเมื่อจุดโนดัลของเลนส์มาอยู่ ณ ตำแหน่งเดียวกันกับจุดหมุนของขาตั้งกล้อง ดังจะสังเกตได้ดังในภาพที่ 3 และ ที่ 4


เมื่อได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วให้จดด่าระยะที่แท่นของหัวพาโน ไว้ เพื่อใช้ในการถ่ายรูปภายหลัง

3 คำนวณจำนวนภาพที่จะต้องถ่ายใน 1 รอบ หรือ 360 องศา ทั้งนี้ ขึ้นกับมุมรับภาพเลนส์ที่ใช้ กับขนาดของเซนเซอร์ ถ้าใช้กล้อง full frame ติดเลนส์มุมกว้่าง 14-15 มม. ใช้ภาพจำนวน 6 ภาพ ก็เพียงพอที่จะเก็บภาพพาโนแบบ Cylindrical แต่ หากใช้เลนส์ 16- 17 มม. ควรถ่ายภาพจำนวน 8 ภาพ และหากใช้เลนส์ 20 มม. ให้ถ่าย 10 ภาพ และหากใช้เลนส์ 24 มม ก็ใช้จำนวนภาพ 12 ภาพ เป็นต้น
เอาเนื้อหามาให้ได้อ่านกัน นะครับ

ประเภทของพาโนรามา [1]
1. Planner คือภาพพาโนรามาตามยาวแบบมุมกว้างทั่วไปโดยจะมีมุมประมาณ 120 x 50 องศา
2. Cylindrical คือภาพ Panorama ที่มุมมองรอบตัวในแนวนอนเท่ากับ 360 องศา คล้ายเป็นรูปทรงกระบอก โดยมุมจะอยู่ที่ประมาณ 360 x 100 องศา
3. Cubic คือภาพ Panorama ที่แสดงภาพแบบลูกบาศก์ 6 ด้าน โดยใช้รูปประกอบกันจำนวน 6 รูป จะมีมุม ประมาณ 360x180 องศา
4. Equirectangular คือภาพ Panorama ที่มีมุม 360x180 องศา โดยการถ่ายรอบตัวในลักษณะทรงกลม (spherical) และสามารถนำมาทำเป็นภาพ Quicktime VR ได้


Tools and Instruments

1. กล้องถ่ายภาพ ท่านสามารถเลือกใช้ได้ทุกประเภท แต่ กล้องที่มีรูเสียบขาตั้งกล้องอยู่ในแนวเดียวกับเส้นศูนย์กลางของกล้อง จะทำให้มีปัญหาในการถ่ายภาพน้อยกว่า และควรเลือกใช้เลนส์มุมกว้างจะได้ผลดีที่สุด
2. ขาตั้งกล้อง ควรเป็นขาตั้งกล้องที่มีความมั่นคงแข็งแรงเพราะในการถ่ายภาพจะต้องมีการหมุนกล้อง นอกจากนี้แล้วหากมีระดับน้ำเพื่อตั้งขาให้ได้ระดับก็จะทำให้ภาพที่ถ่ายแล้วต่อกันได้ง่ายยิ่งขึ้น
3. Panorama Head เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้ จุดหมุนของเลนส์อยู่ในตำแหน่งการหมุนของขาตั้งกล้อง
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับโหลดภาพจากกล้องไปตกแต่งและต่อภาพควรเลือกที่มี processor ที่มีความเร็วสูง และมี Ram มากๆ เพราะส่วนใหญ่ภาพพาโนรามาจะใช้เวลาในการประมวลผลนาน
5. โปรแกรมสำหรับต่อภาพ เช่น Hugin. Autopano

หลักการถ่ายภาพพาโนรามา
1. การซ้อนทับกันของภาพที่ติดกัน ภาพแต่ละภาพที่จะนำมาต่อกันจะต้องซ้อนกันอย่างน้อย 20% ไม่ว่าจะถ่ายภาพแนวตั้งหรือแนวนอน ค่าที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 30% แต่หากต้องการให้การซ้อนกันเนียนมากๆ ควรตั้งที่ประมาณ 50%
2. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องให้ได้ระดับทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยต้องควบคุมการตั้งระดับน้ำในขาตั้งกล้อง หรือบนหัวพาโนรามาให้ได้ระดับ หากตั้งไม่ได้ระดับแล้วจะทำให้ภาพที่ต่อกันนั้นเบี้ยว และต้องตัดภาพส่วนบน ส่วนล่างทิ้งไป
3.ควบคุมExposure ให้มีค่าคงที่ ดังนั้นจึงต้องถ่ายในโหมด Manual เพราะหากตั้งโหมด อื่นๆ แล้ว ค่าการฉายแสงจะถูกปรับเปลี่ยนไปจากความเป็นจริง
4.ตั้งกล้องให้จุดโนดัล (nodal point) ของเลนส์ อยู่ ณ จุดหมุนของขาตั้งกล้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา พาราแล็กซ์ (Parallax)


หลักและเทคนิคการหาจุดโนดัล ดังนี้
1. ตั้งกล้องบนขาตั้ง โดยติดไปที่หัวพาโน โดยให้จุดศูนย์กลางเลนส์ ในอยู่ในแนวกับจุดหมุนของขาตั้ง ตามเส้นในแนวดิ่ง (เลื่อนเส้น A ไปทับเส้น B ตามระยะลูกศร)


จากภาพจะเห็นเส้นแนวดิ่งสองเส้นแสดงถึงจุดหมุนของขาตั้งกล้อง(เส้น B) แนวจุดศูนย์กลางของเลนส์ (เส้น A) ในการปรับหัวพาโนจะต้องเลื่อนให้กล้องมาด้านขวาจนเส้นแนวดิ่งสองเส้นนี้ ซ้อนทับกัน โดยการเลื่อนแท่นแนวนอน (เส้นลูกศร) ในภาพ ท่านอาจจะใช้ไม้บรรทัดวางทาบที่ศูนย์กลางเลนส์เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง เมื่อได้ระยะที่ถูกต้องแล้วให้จดระยะบนแท่นวาง ณ ตำแหน่งนี้ไว้เพื่อใช้ในครั้งต่อๆ ไป
2. เลื่อนกล้องไปด้านหลังจนจุดโนดัลของเลนส์มาอยู่ ณ จุดหมุนของขาตั้งกล้อง คือให้เส้น A ทับเส้น B


เทคนิดการหาจุดโนดัล


จากภาพด้านล่างเป็นการตั้งกล้องในแนวตั้ง ให้ท่านหาวัตถุมาวางไว้ใกล้ๆ เลนส์แล้วหาฉากหลังที่มีเส้นเพื่อเป็นตัวช่วยสังเกตการเกิด parallex ให้สังเกตไม้ที่เป็นฉากหน้ากับกรอบหน้าต่างที่เป็นฉากหลัง จะเห็นว่ามีตำแหน่งไม่ตรงกัน เมื่อเราหมุนกล้อง โดยภาพแรกแท่งไม้ด้านหน้าจะทับกรอบหน้าต่างพอดี แต่ภาพถัดมาแท่งไม้กลับมาอยู่ด้านขวามากกว่า ซึ่งหากเราเลือนกล้องให้ถอยหลัง parallex ระหว่างภาพซ้ายขวาก็จะลดน้อยลง จนท้ายที่สุดจะหายไป นั่นคือเมื่อจุดโนดัลของเลนส์มาอยู่ ณ ตำแหน่งเดียวกันกับจุดหมุนของขาตั้งกล้อง ดังจะสังเกตได้ดังในภาพที่ 3 และ ที่ 4




   

เมื่อได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วให้จดด่าระยะที่แท่นของหัวพาโน ไว้ เพื่อใช้ในการถ่ายรูปภายหลัง
3 คำนวณจำนวนภาพที่จะต้องถ่ายใน 1 รอบ หรือ 360 องศา ทั้งนี้ ขึ้นกับมุมรับภาพเลนส์ที่ใช้ กับขนาดของเซนเซอร์ ถ้าใช้กล้อง full frame ติดเลนส์มุมกว้่าง 14-15 มม. ใช้ภาพจำนวน 6 ภาพ ก็เพียงพอที่จะเก็บภาพพาโนแบบ Cylindrical แต่ หากใช้เลนส์ 16- 17 มม. ควรถ่ายภาพจำนวน 8 ภาพ และหากใช้เลนส์ 20 มม. ให้ถ่าย 10 ภาพ และหากใช้เลนส์ 24 มม ก็ใช้จำนวนภาพ 12 ภาพ เป็นต้น
ขอบคุณอาจารย์มากๆ ครับ
kob khun maak krub
please share more knowledge
ขอบคุณมากครับ
โอว..ขอบคุณครับ สำหรับสาระดีๆๆ
สำหรับคนที่ไม่มีขาตั้งกล้อง ไม่มีอุปกรณ์เสริมก็ไม่ต้องกังวลนะครับ ใช้ตัวเราเป็นขาตั้งกล้องแทน ถ่ายโดยหมุนกล้องให้มีระยะซ้อนทับ
ผมต้องเดินทางไปถ่ายสารคดีในต่างประเทศประจำ ไม่ได้พกขาตั้งไปเพราะมันหนัก ใช้ถ่ายด้วยมือ ต่อด้วย photoshop ภาพพาโนรามาก็ออกมาดีตลอดครับ ไปดูได้ที่ http//www.studio49bangkok.com ครับ

Read More: http://www.portfolios.net/group/landscape/forum/topics/panorama-1#i...
ผมโพสต์ภาพพาโนรามาไว้ในห้องพาโนรามา 6 ภาพ ถ่ายโดยไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้องเลย ต่อภาพด้วยโปรแกรม photoshop cs5 extend
ขอบภาพทั้งด้านบนและล่างที่มีระยะไม่เท่ากัน โปรแกรม photoshop cs5 extend ก็จะทำให้ภาพสมบูรณ์ได้ครับ โดยเฉพาะภาพทัชมาฮาลที่เมืองอักรา อินเดีย ในภาพ foreground เป็นนักท่องเที่ยวที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ผมถ่ายโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง ด้วยเลนส์ zoom 17-55 มม. 5 ภาพ ต่อด้วยโปรแกรม photoshop cs5 extend ก็ทำภาพให้เรียบร้อยดี ไปทดลองทำดูนะครับ ผมเคยเขียนเทคนิคการถ่ายภาพพาโนรามาแบบง่ายๆ นี้ไว้ในนิตยสาร 0n mobile and camera คั้งแต่ฉบับปีที่ 3 ฉบับที่ 31 เดือนมิถุนายน 2549 โน่นแล้วครับ

Read More: http://www.portfolios.net/group/landscape/forum/topics/panorama-1#i...

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service