ชมนิทรรศการศิลปะ Uwe Lausen เจ้าชายพ๊อพอารต์แห่งเยอรมนี (Uwe Lausen: ende schön alles schön)

ในขณะที่บ้านเกิดเมืองนอนเรากำลังร้อนระอุ ขอเชิญคุณเชิดใส่การเมือง แล้วเสพย์งานศิลป์ร่วมไปกับฉัน เพราะศิลปะจะทำให้คุณไม่ตกเป็นไพร่ของใคร และเสรีภาพของจินตนาการจะทำให้เราเป็นนายตัวเอง

วันนี้ฉันมีนัดที่นิทรรศการงานศิลป์ของ Uwe Lausen: ende schön alles schön ศิลปินหนุ่มชาวเยอรมันสุดอารต์จากยุค60' จัดโดยพิพิธภัณฑ์ Schirn Kunsthalle Frankfurt ค่ะ ที่ยิงนกกี่ตัวๆก็โดนทุกครั้งสำหรับพิพิธภัณฑ์นี้ งานดีไม่เคยพลาด ก่อนจะเข้าไปชมก็เก็บรูปบริเวณด้านนอกพิพิธภัณฑ์เอาไว้ก่อน ด้วยสีสันฉูดฉาดแบบพ๊อพอารต์เจือกกลิ่นเอ็กเพรสชั่นนิสม์แบบนี้ พอปรากฏริมถนนหนทางแล้วดูสดใสต้อนรับฤดูใบไม้ผลิเป็นอย่างดี








Uwe Lausen: ende schön alles schön
ในคอนเซป " All's Find that Ends Fine "

น่าจะแปลงมาจากสำนวนเยอรมันค่ะ ประมาณ จบสวย อะไรก็ดูดีไปหมด
จบไม่ดี โดนรุมยำไปทั้งชาติ ประมาณนั้น


จากที่ฉันได้อ่านและมองเห็น ชาวเยอรมันในยุคซิกตี้(60's)ถือว่าอารมณ์ไม่ค่อยจะแฮปปี้เหมือนชาติอื่นเท่าไหร่นัก เรียกได้ว่าสวนทางกับฝั่งสหรัฐอเมริกาและเกาะอังกฤษอย่างสิ้นเชิง ทั้งๆที่การเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมดูก้าวหน้าอยู่มาก แต่ชาวเยอรมันส่วนใหญ่ยังคงอารมณ์ค้างๆคาๆอยู่กับเศษซากสงคราม ผู้คนยังคงความหวาดผวากับสงครามเย็น(Cold War) และความแตกแยกของคนในชาติที่บานปลาย ทำให้อารมณ์ซิกตี้ที่แสนจะเสรีสุดเหวี่ยง สดใสและทุนนิยมจ๋าในศิลปะพ๊อพอารต์ของอเมริกัน กลายเป็นอารมณ์แรงแสบลึกในเยอรมนี จะบอกว่าสนุกอย่างลืมโลกไปเถิดคงไม่ใช่ หรือจะเศร้าระทมทุกข์ก็คงไม่ขนาดนั้น แต่กลิ่นของเอ็กเพรสชั่นนิสม์เต็มไปด้วยสีสันที่สดรุนแรง ภายในประกอบด้วยเนื้อหาที่เข้มข้น บ้างก็เสียดสีประชดประชัน ดูๆไปแล้วก็เหมือนจะเป็นมนต์เสน่ห์อีกแบบของประเทศนี้

จริงๆเมื่อย้อนกลับไปครั้งเยอรมนีถูกแบ่งเป็นสอง พรรคคอมมิวนิสต์มีคำสั่งปิดประเทศเยอรมนีฝั่งตะวันออกโดยสิ้นเชิง ชาวเยอรมันตะวันตกก็พากันอิ่มเอิบกับวัฒนธรรมทุนนิยม ดื่มโคล่า กินแฮมเบอเกอร์ และฟังดนตรีแนวใหม่สไตล์อเมริกัน วัฒนธรรมและศิลปะหลั่งไหลเข้ามาสู่ฝั่งตะวันตกกันเป็นเทน้ำเทท่า รัฐบาลเยอรมันเองก็ช่วยสนับสนุนความรุ่งเรืองนี้ ด้วยการซ่อนคดีอาชญากรรมสงคราม และเรื่องนาซีกลายเป็นเรื่องที่ต้องรูดซิบปาก เพราะความรุ่งเรืองของประเทศต้องมาก่อน

เรื่องนี้เงียบไปในช่วงแรก แต่มาระเบิดเอาในยุคซิกตี้ เมื่อศิลปินและวัยรุ่นชาวเยอรมันหลายคนทวงถามผู้ใหญ่ในบ้านเมือง .. สงครามเกิดขึ้นได้อย่างไร ปู่ย่าตายายของเขาสู้ไปเพื่ออะไร แล้วเหตุใดพ่อแม่ของพวกเขาถึงปล่อยให้มันเกิดขึ้น และความรับผิดชอบหายไปไหน .. ภาพวาดมึนๆเหวี่ยงๆ แบบสไตล์พ๊อพอารต์เจือกลิ่นเอ็กเพรสชั่นนิสม์ เนื้อหาคละคลุ้งด้วยกลิ่นสงคราม ฆาตกรรม และการล่วงละเมิดทางเพศ อันเป็นผลมาจากยาเสrติดที่ยัดเข้าไปไม่อั้นของ Uwe Lausen ทวงถาม จากนักศึกษาเอกกฏหมายและปรัชญาในมหาวิทยาชื่อดัง เขาตัดสินใจลาออกไปทำงานศิลปะร่วมกับ Spur กลุ่มศิลปินอิสระหัวก้าวหน้าหลายประเทศข้างเคียงเยอรมนี และสร้างตำนานศิลปินหนุ่มอายุสั้นที่วงการศิลปะเยอรมันไม่มีวันลืม


"Kunst-Jungstar" ภาพถ่ายของ Uwe Lausen
ในปี 1941


งานของ Uwe Lausen ตลอดงานนิทรรศการมีทั้งงานแนวอวองค์การต์(Avant-garde) คอมมิค(Comic) พ๊อพอารต์(Pop Art) เอ็กเพรสชั่นนิสม์(Expressionism) และแอพสแทรค(Abstract)ผสมผสานกันไป สร้างทั้งเสียงชื่นชมและกร่นด่าไปพร้อมๆกัน วงการศิลปะบางกลุ่มกล่าวว่าเขาเป็นคนที่มีมีพรสวรรค์ โดยเฉพาะการจับงานด้านพ๊อพอารต์ผสมกับภาพถ่ายระหว่างปี 1966 ดูแล้วเป็นที่น่าประทับใจ เนื้อหาที่ต่อต้านสงคราม การเมือง และธรรมเนียมเก่าสำหรับศิลปินอายุน้อยเช่นนี้ถือว่าหาตัวจับยาก แต่อีกเสียงก็บอกว่าผลงานของเขาเต็มไปด้วยความรุนแรง วนเวียนอยู่ในฉากเล็กๆอย่างอพารทเมนต์ มีทั้งฉากการฆาตกรรม การข่มขืนกระทำชำเรา บางครั้งปราฏกทหารนาซีในเครื่องแบบเอสเอสลั่นไกปืน เลือดและเครื่องในมนุษย์ อันเป็นผลพวงของยาเสพติด ซึ่ง Lausen เองก็ไม่ปฏิเสธคำครหานี้แต่อย่างใด เขากลับชอบที่จะเปิดโปงแผนฆ่าตัวตายของตัวเองเสียด้วยซ้ำ

ในระยะแรกผลงานส่วนใหญ่ของ Lausen ถูกแบนโดยสมาคมศิลปะ และพิพิธภัณฑ์ต่างๆทั่วเยอรมนี เนื่องจากความรุนแรงเกินกว่าเหตุ แต่ภายหลังก็หยุดเสียงเรียกร้องจากเหล่าวัยโจ๋ไม่ไหว ผลงานของเขาจึงถูกจัดแสดงโชว์อีกครั้งทั้งในกรุงเบอร์ลิน มิวนิค สตุททซ์การด์ เลยไปถึงกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส Uwe Lausen ประสบความสำเร็จอย่างมากล้น จนคนรอบข้างและครอบครัวต่างก็คิดว่า Lausen คงลืมแผนการฆ่าตัวตายไปแล้ว แต่ในปี 1969 เขาเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดของตัวเองใกล้เมืองสตุททซ์การด์ และปลิดชีวิตตัวเองในบ้านของครอบครัวด้วยวัยเพียง 29 ปี ตามแผนการที่เขาเคยพูดไว้ในปีต่อมา.

ปี 2010 นี้ถือว่าครบรอบสี่สิบปีที่ Uwe Lausen ได้จากโลกนี้ไป ไม่มีใครรู้ว่าลึกๆแล้วศิลปินหนุ่มผู้นี้ต้องการอะไรในชีวิตกันแน่ ชื่อเสียง เงินทอง หรือแม้กระทั่งความรัก หลังจาก Lausen เสียชีวิตลง แพทย์สันนิฐนาว่าเขาอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาทางสังคมที่ไม่ได้รับการบำบัด แต่ Uwe Lausen ได้ทิ้งคำตอบไว้ให้เราได้คิด .. "my end as a person is as inevitable as the end of human society. and like mankind, I will also find my final confirmation in my final end … victory is inevitable"

ฉันเห็นด้วยกับคำพูดของเขาบางประการ แต่ยาเสพติดนั้นไม่ใช่คำตอบที่ทำให้เรารู้แจ้งทุกอย่าง นั้นคือสิ่งที่สังคมมนุษย์ได้เรียนจากยุคปัจจุบันนี้.

เอาล่ะไปชมงานกันดีกว่าค่ะ --



















































"Fresh made bed, 18 degree room temperature. Rolling Stones in the
background. Wine not under 8 Mark.
With a las meal out off green butter beans, potatoes, meat"


Uwe Lausen at the age of 26 about his suicide

Views: 437

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

Comment by nibhon on March 26, 2010 at 9:14am
งานเจ๋งดีครับ
Comment by shutzky on March 25, 2010 at 4:21pm
เยี่ยม
Comment by sakorn on March 25, 2010 at 8:13am
ว้าวว ...
ขอบคุณ ที่พา เยี่ยม ชม

จากที่อ่าน ผลงานเขา ก็ถือว่า โด่งดัง นะครับ
แต่ ไม่น่าจากไป ในช่วงเวลาที่ไว กว่า อันควร ...

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service