Pop-up Plan หรืองานวิศวกรรมกระดาษ 3 มิติ เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็กต์ “Active Play ออกมาเล่น 60 นาทีทุกวัน” โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หรือ Thaihealth มี 2 ดีไซน์ด้วยกัน
ดีไซน์แรก เป็นลักษณะการจัดสนามเด็กเล่นโดยใช้หลักการของสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning Playground: BBL) ในภาพประกอบจะระบุตำแหน่งที่ชัดเจนว่ามีกี่ฐาน ฐานอะไรบ้าง
ดีไซน์ที่ 2 บ้านเล่นสนุกสำหรับเด็ก (An Active Play Home) เป็นการจำลองการจัดบ้านหรือหยิบจับของใช้ในบ้าน มาสร้างเป็นเครื่องมือ หรือฐานให้เด็กๆ ได้เล่นสนุกกัน และพัฒนาศักยภาพจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว
Pop up Plan ทั้ง 2 ดีไซน์ ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับคอนเท็นท์ ภาพประกอบ และแนวคิดของโปรเจ็กต์เป็นหลัก ซึ่ง สสส.ตระหนักถึงความสำคัญของเครื่องมือ และสื่อที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ฉะนั้นการจำลองเนื้อหา สาระสำคัญของทั้งสองหัวข้อมาอยู่ในรูปแบบงานป๊อบอัพ (pop-up design) หรือวิศวกรรมกระดาษ จึงเป็นสื่อที่เชื่อมมุมมองการรับรู้สู่งาน 3 มิติ อย่างคาดไม่ถึง ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการเรียนรู้มีความน่าสนใจ สนุกสนาน สามารถสัมผัสได้จริง และซึบซับเอาการเรียนรู้นั้นเข้าไปโดยไม่รู้ตัว หากจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพแล้ว เด็กๆ และเยาวชน ก็จะเติบโตทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา และอาจรวมไปถึงการพัฒนาระดับจิตใจได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วยค่ะ
ขอบคุณ
1.Tanakorn Chatnantarerk (TOP) Illustrator
2.Kanjera Chatnantaterk (GIFT) Co-Project Manager & Content สำหรับโอกาสและโปรเจคดีๆครั้งนี้ค่ะ
3.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) หรือ ThaiHealth สำหรับโครงการดีๆ ที่จะทำให้เด็กๆ ได้เติบโตอย่างมีศักยภาพ
© 2009-2025 PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.
Powered by
You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!
Join PORTFOLIOS*NET