<<- กว่าจะเป็นดังใจฝัน ->>

..- "ขนาดและสัดส่วน"ต้องจำให้ขึ้นใจ
- "พกตลับเมตร" ไว้เสมอ
- รู้จัก "สไตล์ของของการตกแต่ง"
- เข้าใจกับการใช้ "สี"
- รอบรู้ "แหล่งสรรหา"
- "ประดิษฐ์" ของแต่งบ้านเอง
- ตีสนิทกับ "ช่างฝีมือ"
- สังเกต "พฤติกรรม"ของลูกค้า
- ดู "ตัวอย่าง"มากๆ
- พัฒนา "รสนิยม"
INTERIOR DESIGNER.
ขั้นตอนการให้บริการ
ขั้นที่ 1 ขั้นตอนการวางแผน
บริษัทฯจัดส่งทีมงานเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบความประสงค์และจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดขอบเขตของงานโดยละเอียด
ขั้นที่ 2 ขั้นตอนแบบร่างขั้นต้น
บริษัทฯ จัดทำแบบร่างขั้นตอน ซึ่งประกอบไปด้วยแบบแปลนการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เพื่อกำหนดพื้นที่ใช้สอย,รูป แบบเฟอร์นิเจอร์โดยสังเขป,ราคากลางของงานตามขอบเขตที่ระบุในแบบเพื่อพิจารณา อนุมัติให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
ขั้นที่ 3 ขั้นตอนแบบขั้นพัฒนา
บริษัทฯ จัดทำแบบทัศนียภาพ ( Perspective ) ซึ่งจะระบุวัสดุและโครงสี เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
ขั้นที่ 4 ขั้นตอนแบบรายละเอียดพร้อมวัสดุ
บริษัทฯ จัดทำแบบรายละเอียด( Shop drawing )และรายการวัสดุประกอบแบบ เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
ขั้นที่ 5 ขั้นตอนการผลิต ,ควบคุมงาน และการแบ่งงวดชำระเงิน
5.1 การเซ็นสัญญาอนุมัติการผลิต ชำระเงิน 30 %จากราคาค่าตกแต่ง
5.2 การเริ่มเข้าติดตั้ง ณ. หน่วยงาน ชำระเงิน 40 %จากราคาค่าตกแต่ง
5.3 การทำสีจริงและติดตั้งอุปกรณ์ ณ. หน่วยงาน ชำระเงิน 20 %จากราคาค่าตกแต่ง
5.4 การส่งมอบงาน ชำระเงิน10 %จากราคาค่าตกแต่งมัณฑนากร อาชีพนักออกแบบแขนงหนึ่งที่มีบทบาท มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต คุณภาพของชีวิตมนุษย์จะดีหรือไม่ดีอย่างไรขึ้นอยู่กับการจัดสภาพแวดล้อมภาย ใน อย่างเหมาะสม
มัณฑนากร คือ นักออกแบบภายใน, นักออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน, นักออกแบบตกแต่งภายใน, นักออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน, นักจัดการพื้นที่ภายใน เรียกชื่อได้หลากหลาย แต่คำกลางที่สุดก็เห็นจะเป็นคำว่า มัณฑนากร
กระบวนการทำงานของอาชีพนี้ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไปจากเดิม มัณฑนากรทำหน้าที่จัดวาง ตกแต่ง เติมเสริม ภายในอาคารให้สวยดูดีน่าอยู่ แต่ในปัจจุบันมัณฑนากรมีขั้นตอนการทำงานที่ละเอียดขึ้น ครอบคลุมและขยายกว้างสู่สภาพแวดล้อมอื่นๆ มากขึ้น อีกทั้งอาชีพมัณฑนากรในปัจจุบันจักต้องเข้าใจทุกมิติ ของการดำรงชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ เทคโนโลยี ฯลฯ เพราะทุกองค์ประกอบนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบทั้งสิ้น
คิดจากภายใน แนวคิดในการเริ่มต้นสตาร์ทการออกแบบจากสิ่งที่เล็กที่สุดภายในอาคาร แล้วขยายออกสู่พื้นที่รอบตัว 360 องศา ขยายสู่ขอบเขตห้องไปสู่บริเวณภายในอาคาร ทะลุทะลวงสู่ภายนอกอาคาร ทั้งประโยชน์ใช้สอย มุมมอง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับพื้นที่
มัณฑนา กร คือ นักคิดที่เริ่มจากข้างในไปสู่ภายนอก บางครั้งมัณฑนากรอาจจะขยายวงออกสู่งานสถาปนิก หรือสถาปนิกอาจจะขยายขอบเขตสู่ภายใน บ้างก็บอกว่ามัณฑนากรเกิดจากสถาปนิก และบ้างก็บอกว่ามัณฑนากรเกิดจากศิลปิน หรือบ้างก็บอกว่ามัณฑนากรเกิดจากนักออกแบบเครื่องเรือนที่ขยายขอบเขตสู่ พื้นที่ในการจัดวางภายใน แต่ที่แน่ๆ อาชีพนี้คือนักออกแบบที่เข้าใจภายในมากที่สุดนั่นเอง อะไรที่ต้องเข้าใจ ตรงนี้ต้องมองให้ชัด มัณฑนากรที่เป็นมืออาชีพมีองค์ประกอบ และกระบวนการทำงานดังนี้ครับ
ขั้นตอนการวิเคราะห์โครงการและศึกษาความ เป็นไปได้ของโครงการ ก่อนจะเริ่มการออกแบบหรือ จะกล่าวได้ว่าจุดเริ่มต้นแรกสุดในการออกแบบคือความพยายาม ในการหาข้อมูล ค้นคว้า วิจัย เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทาง และแนวความคิด ในการออกแบบ เช่น การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการประกอบธุรกิจ การหาข้อมูลในส่วนของงบประมาณการลงทุน การศึกษาผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการออกแบบต่อไป ศึกษากรณีศึกษาจากโครงการใกล้เคียง โครงการที่มีส่วนคล้ายคลึงกัน หรือคู่แข่ง เพื่อหาแนวทางออกแบบที่เหนือชั้นกว่า เพื่อผลต่อความสำเร็จของโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า โรงแรม เป็นต้น
ขั้นตอนที่ดีในการออกแบบของมัณฑนากรใน ปัจจุบันนี้ มัณฑนากรต้องทำการบ้านอย่างหนัก โดยศึกษาให้ออกมาเป็นผลอย่างรูปธรรมมากที่สุด เพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ หรือผิดพลาดน้อยที่สุด อันมีผลต่อการกำหนดแนวทางการออกแบบ การจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ของมัณฑนากรต่อไป
ขั้นตอนการกำหนดแนวความคิด
การ กำหนดแนวความคิดจะเดาสุ่มไม่ได้ จะต้องมีเหตุและผลที่สอดคล้องกัน อันอาจจะเกิดจากแรงบันดาลใจของผู้ออกแบบ การหาข้อมูลของมัณฑนากร จนตกตะกอนความคิด เช่น การค้นคว้าจากสถานที่ตั้ง วัฒนธรรมท้องถิ่นมีผลต่อการกำหนดลักษณะเฉพาะของงานออกแบบ การศึกษาสิ่งแวดล้อม การศึกษาสภาพพื้นที่รอบทิศ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ผู้ใช้งานอาคาร ทั้งพฤติกรรมด้านกายภาพ และด้านจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก อาชีพ วัย สถานะ ลักษณะเฉพาะ นิสัย เป็นต้น
การศึกษาธรรมชาติและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
การศึกษาสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น นวัตกรรม เทคโนโลยี
การศึกษาหลักการทางธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด
การศึกษาเรื่องวัสดุอันมีผลต่อเทคนิคในการตกแต่ง ไปจนถึงผลกระทบของวัสดุต่อเนื่องต่อการใช้งาน เป็นต้น
ขั้น ตอนในการวางแนวความคิดจึงต้องศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบ เพื่อผลของงานออกแบบที่มีคุณค่าและคุณภาพ ฉะนั้นการออกแบบภายในโครงการใดก็ตามที่กำหนดแนวความคิดไม่ชัดอาจจะส่งผลต่อ ภาพลักษณ์ จุดเน้น จุดเด่นของโครงการที่ไม่ละเอียดอ่อนจนโครงการขาดคุณภาพนั่นเอง มัณฑนากร (Interior-Decorator)
หรือ นักออกแบบภายใน (Interior-Designer)

นิยามอาชีพ
ผู้ ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบและตกแต่งภายใน อาคารสำนักงาน อาคารอยู่อาศัย และบ้านเรือน ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
ลักษณะของงานที่ทำ
ออกแบบ ตกแต่งภายในสถานที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ทำงาน ต้องทำงานตามขั้นตอน และกำหนดเวลาชิ้นผลงานต่างๆ ร่วมกับผู้ว่าจ้าง
1. บันทึกรายละเอียด ความต้องการของลูกค้า เพื่อออกแบบให้สร้างสรรค์ ที่สุดและเป็นที่สะดุดตา ประทับใจ และได้รสนิยมตรงตามความต้องการของลูกค้า
2. ศึกษาโครงสร้างของงาน จัดดำเนินการออกแบบตกแต่ง คำนวณแบบ ประมาณราคา และเลือกวัสดุ ตกแต่งที่มีคุณภาพเหมาะสม และให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า และให้ตรง เป้าหมายและประโยชน์ใช้สอย
3. ส่งแบบที่วาดและเสนองบประมาณให้ลูกค้าพิจารณา
4. เมื่อผ่านการแก้ไขดัดแปลงแบบให้สมบูรณ์แล้วจึงส่งแบบให้กับช่างต่างๆ เช่นช่างไม้ หรือช่างเชื่อมเหล็กให้ทำงานตามโครงสร้างที่ออกแบบไว้
5. ปฏิบัติงาน และประสานงานกับระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ช่างเพื่อให้การออกแบบเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญา
สภาพการจ้างงาน
มัณฑนา กรหรือนักออกแบบภายในที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ถ้าทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับ เงินเดือนขั้นต้นอยู่ระหว่าง15,000 - 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ในการฝึกงาน ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ และได้รับสวัสดิการตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด และสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ
สภาพการทำงาน
การปฏิบัติงานการออกแบบ ส่วนมากต้องทำงานทั้งในและนอกสำนักงาน เช่นในอาคาร ในสถานที่กำลังตกแต่ง อาจต้องใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมช่วยในการออกแบบ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาออกแบบภายใน
2. มีความคิดสร้างสรรค์ ผลิตผลงานที่ไม่เหมือนใคร เป็นคนมีความละเอียดรอบคอบ
3. มีความสามารถในการรู้จักประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในประเทศ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ และประโยชน์ ใช้สอยสูงสุด
4. มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมในการช่วยวาดรูปหรือออกแบบ
5. มีระเบียบวินัย เข้าใจถึงการบริการทางธุรกิจ
6. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ให้ความร่วมมือกับ ทีมงานดี และมีความสามารถในการประสานงาน
7. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และปรับปรุงความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา
8. รู้แหล่งข้อมูลเพื่อซื้อหาวัตถุดิบ
9. ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านเรือนให้ถูกหลักและตรงตามความต้องการของผู้ บริโภค และ เพื่อความปลอดภัย ประหยัดเหมาะสมกับภาวะสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน
ผู้ที่จะประกอบ อาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : เมื่อสำเร็จการศึการมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สอบคัดเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยที่จัดสอนคณะหรือภาควิชาออกแบบภายใน ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัย อาจไม่เหมือนกัน
ที่มา : แนะแนวอาชีพ http://www.jobnorththailand.com/learning/100work/presentwork.html

Views: 259

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service