INTERVIEW: "มุมมองมืออาชีพ" (ON CAMERA Magazine 2007)




ON People
สัมผัสมุมมองช่างภาพมืออาชีพ
< /b>
ธนบูรณ์ สมบูรณ์



ON People ฉบับนี้พาท่านมาสัมผัสมุมมองธนบูรณ์ สมบูรณ์(www.aceimage.com) ช่างภาพมืออาชีพแนวหน้าระดับประเทศ ปัจจุบันถ้าถามหาช่างภาพที่มีความถนัดทางด้าน fashion และ portrait แล้วธนบูรณ์ถือเป็นสุดยอดคนหนึ่งของวงการถ่ายภาพบ้านเรา เมื่อต้องถ่ายภาพ portrait ธนบูรณ์สามารถดึงตัวตนของแบบออกมาได้อย่างชัดเจนและสำหรับงาน fashion เขาก็สามารถกำกับอารมณ์ของแบบได้ดีไม่แพ้กัน ภาพถ่ายของเค้าที่มักจะแฝงไปด้วยพลังที่จะดึงดูดผู้ชมภาพให้เข้าไปร่วมจินตนาการด้วยเสมอ

ใครที่่เคยบ่นกลับตัวเองบ่อยๆว่า เราไม่สามารถที่จะเป็นช่างภาพมืออาชีพได้หรอก เพราะว่าเราเลือกเส้นทางเรียนที่ผิด หรือเลือกสายงานที่ผิด คุณจะมีกำลังใจเพิ่มจากเรื่องราวของธนบูรณ์ ช่างภาพแฟชั่นชื่อดังคนนี้ได้เริ่มงานเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์มาก่อน ใช่แล้วครับ ผมเคยเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์< /font> ธนบูรณ์หัวเราะ "เด็กๆ ผมเติบโตมาในสังคมที่ทุกครอบครัวอยากให้ลูกหลานตัวเองเป็นหมอหรือไม่ก็ วิศวกร ครอบครัวผมก็อยากให้ผมเป็นวิศวกรครับ"< /span> แม้ธนบูรณ์จะรักการถ่ายรูปมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมโดยอาศัย หยิบยืมกล้องของพ่อมาถ่ายรูปเป็นประจำ เค้าก็ตัดสินใจเลือกเดินในทางที่ครอบครัวอยากให้เป็น

วันหนึ่ง หลังจากที่ได้ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานติดกันกว่าสิบชั่วโมง ผมถอนหายใจและบอกตัวเองว่า... นี่ไม่ใช่ชีวิตของผม ผมไม่ต้องการนั่งทำงานอยู่กับเจ้าสิ่งนี้ไปจนตาย ผมรักการถ่ายรูป... ผมอยากทำงานถ่ายรูปไปจนตาย

หลังจากธนบูรณ์เรียนจบมาทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเริ่ม งานได้ไม่นาน ธนบูรณ์เลือกที่จะเบนเข็มชีวิตตัวเองไปเรียนต่อทางด้านการถ่ายภาพที่ Academy of Art University ที่ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยเป้าหมายที่ตั้งใจว่าจะกลับมาทำงานเป็นช่างภาพงานที่ประสบความสำเร็จใน ชีวิตและมี style ของงานเป็นของตัวเอง หลังจากใช้เวลาเรียนและทำงานเพื่อสะสมประสบการณ์และผลงานมานานเกือบ 10 ปี ธนบูรณ์ตัดสินใจเดินจากกลับมาบ้านเกิดเพื่อเริ่มทำงานเป็นช่างภาพมืออาชีพ ที่เมืองไทยอย่างที่ตั้งใจไว้< /span>

กลับมาอาทิตย์แรกก็ทำ list รายชื่อของหนังสือที่เราอยากทำงานด้วยครับมีประมาณ 30 เล่ม แล้วหิ้ว portfolio เข้าไปขอพบบรรณาธิการแต่ละท่านเลยครับ เหนื่อยหน่อยครับเพราะเราไม่รู้จักใครในสายงานนี้เลยต้องวัดกันที่ portfolio กันอย่างเดียว แต่ละเล่มที่เข้าไปพบผมจะปรับวิธีการ presentation ของ portfolio ทุกครั้งให้ตรงกับคาแรคเตอร์ของหนังสือแต่ละเล่ม ไม่ว่าจะเป็นการเรียงภาพ อารมณ์ของภาพ หรือแสง

ธนบูรณ์กล่าวถึงการเริ่มงานที่เมืองไทยต่อ< i>

ต้องขอบคุณพี่แอร์ (คำรณ ปราโมช ณ อยุธยาบรรณาธิการ) และพี่ใหญ่ (อมาตย์ นิมิตภาคย์- บรรณาธิการแฟชั่น) แห่งนิตยสาร IMAGE ที่ชอบผลงานใน portfolio ของผม และให้โอกาสได้ร่วมงานกับนิตยสาร IMAGE ในช่วงแรกที่กลับมาครับ นึกไม่ถึงครับว่าจะมีโอกาสนี้ ผมเคยคิดว่าเมืองไทยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ connection แต่ไม่จริงซะทั้งหมดครับ< /span>

จากจุดนี้เองที่ทำหลายๆ คนเริ่มหันมาให้ความสนใจว่าทำไมช่างภาพหน้าใหม่อย่างธนบูรณ์ถึงมีโอกาสได้ ทำงานกับนิตยสารชื่อดังเล่มนี้ และให้ความสนใจที่จะดู Portfolio และอยากร่วมงานกับช่างภาพคนนี้ ด้วยงานถ่ายภาพที่มีเอกลักษณ์และการจัดแสงที่เป็นแนวทางเป็นของตัวเอง หลังจากนั้นไม่นานธนบูรณ์ได้ถ่ายภาพปกและภาพแฟชั่นให้กับนิตยสารชั้นนำ มากมาย

นอกจากธนบูรณ์จะถ่ายภาพให้กับสินค้าและเอเจนซี่โฆษณาชื่อดัง หลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันยังมีตำแหน่งเป็น Photography Director ดูแลด้านการถ่ายภาพให้กับบริษัท Inspire Entertainment ผู้ผลิตนิตยสาร ARENA, FHM, Stuff, Car, Ray, Cawaii และ Casa Viva อีกด้วย เรียกได้ว่าธนบูรณ์ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาอันรวดเร็วเลยที่ เดียว

งานแฟชั่นของผมจะเน้นที่อารมณ์ของแบบและบรรยากาศของภาพ ช่างภาพกับนางแบบจะต้องสื่อสารกันมากที่สุด เราต้องทำงานเหมือนผู้กำกับภาพยนตร์ครับ ต้องบอกเค้าได้ว่าสิ่งที่เราต้องการคืออะไร ซึม สนุก เหงา เศร้า หรือเซ็กซี่ ต่อให้มีกล้องที่ดีที่สุดหรือเก่งเรื่องการจัดแสงขนาดไหน หากไม่สามารถสื่อสารกับแบบได้แล้วล่ะก็...จบกันครับ เราต้องกำกับอารมณ์เค้าให้ได้ก่อน”< /o:p>

สำหรับเทคนิคของคุณธนบูรณ์ในการถ่ายภาพนั้นเขาบอกว่าทุกครั้ง ที่ถ่ายภาพจะเน้นการถ่ายทอดอารมณ์ที่ ดวงตา ของแบบเป็นสำคัญ ภาพของธนบูรณ์ส่วนใหญ่จะมีถ่ายทอดอารมณ์ที่ดวงตาไปสู่ผู้ดูภาพเสมอ และจะมักพบอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งตามธรรมชาติแล้วดวงตาไม่สามารถยิ้มได้ แต่ถ้าคุณสามารถทำให้คนดูภาพรับรู้ได้ว่ามันเป็นดวงตาที่กำลังยิ้มอยู่ ใบหน้าของแบบคนนั้นอยู่จะเปลี่ยนเป็นใบหน้าของคนที่มีความสุขที่สุดในโลกได้ แทนที่จะเป็นการฝืนยิ้มแบบไม่มีที่มาที่ไป< /o:p>

ส่วนเรื่องของอุปกรณ์นั้นคุณธนบูรณ์บอกว่าไม่ได้ให้ความสำคัญ กับมันมาก

มีอะไรมาให้ก็ถ่ายครับ ผมใช้กล้องทุกประเภทครับ ไม่ว่าจะเป็นกล้องดิจิตอง compact ขนาดเล็กราคาไม่กี่พันบาทไปจนถึงกล้องดิจิตอลความละเอียด 39 Mp ราคาล้านกว่าบาท หรือกล้องฟิล์มแบบใช้แล้วทิ้ง (single use camera) ราคาสามสี่ร้อยบาททีมีขายถ่ายรูปทั่วไป รวมทั้งแต่กล้อง Polaroid โบราณอายุกว่า 30 ปี

ถ้าต้องเลือก สิ่งที่ผมใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินใจว่าจะใช้กล้องตัวไหน? กลับมาเรื่องเดิมเลยครับ ผมจะเลือกกล้องที่มีคุณภาพเหมาะสมกับงาน และให้คาแรกเตอร์ของภาพจากกล้องออกมาตรงกับอารมณ์ของภาพที่ผมต้องการที่สุด ยกตัวอย่างดีกว่า ถ้าผมต้องการอารมณ์ภาพดิบๆ เซอๆ ผมจะใช้กล้อง compact กับแฟลชที่ตัวกล้องนั้นแหละ แต่ถ้าต้องการภาพเพื่อใช้ทำ Billboard ริมทางด่วนขนาด 20x30 เมตร ผมก็คงใช้กล้องที่ดีที่สุดที่ผมมี และถ้าต้องการไปถ่ายภาพแฟชั่นกลางน้ำตกผมก็จะเลือกกล้อง DSLR เพื่อความคล่องตัวครับ แต่ในชีวิตจริงมันไม่มีกฎตายตัวครับ”< /o:p>

ศึกษาอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เข้าใจ และจงใช้มันให้คุ้ม!”< /font>

จริงๆ แล้วสำหรับการถ่ายภาพสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่อุปกรณ์ถ่ายภาพแต่เป็นตัวคุณ เอง อยากถามคุณว่าถ้าวันนี้คุณมีกล้องที่ดีที่สุดในโลกอยู่ในมือแล้ว คุณจะถ่ายภาพที่ดีสุดในโลกได้หรือไม่ เทคโนโลยีมันพัฒนาไปทุกวัน แล้วคุณกำลังพัฒนาอะไรอยู่ กำลังวุ่นอยู่กับการศึกษากล้องใหม่ๆ ที่ถูกพัฒนาออกมาทุกวัน? หรือว่ากำลังศึกษาเพื่อหาทางพัฒนาการถ่ายภาพของตัวเองให้ดีขึ้น ?”

เขาเน้นอีกว่าอย่าไปยึดติดเรื่องอุปกรณ์มากนัก เพราะทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับสัญชาติญาณ มุมมองและเทคนิคของการถ่ายภาพมากกว่า เชื่อไหมครับว่าเคยมีช่างภาพใช้กล้องคอมแพคถ่ายงานแฟชั่น แคมเปญโฆษณาของเสื้อผ้ายี่ห้อดังระดับโลกมาแล้ว”< /font> ธนบูรณ์กล่าวปิดท้าย

Views: 265

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service