นิทาน Flash: เรื่องช่างภาพผู้กล้า กับ Guide Number (GN) Table

เรื่องค่า GN (Guide Number) ออกจะเป็นทฤษฎีที่หลายคนไม่ค่อยอยากจะสนใจ
ผมเองก็ใช้แฟลชมาตั้ง นานไม่เคยจะสนใจเช่นกัน ก็สามารถใช้แฟลชได้
ตัวผมเองลองใช้แฟลชครั้งแรกก็ได้เป็นโหมด A หลายๆคนอาจจะใช้แต่ TTL/ETTL
GN เป็นเรื่องไกลตัว และแทบไม่ได้ใช้ในโลกแห่ง Flash Auto
GN มักจะถูกพูดถึงกันในตอนเลือกซื้อแฟลช ผมเองก็ได้ยินเช่นกันแค่คุ้นๆว่ายิ่งมากแปลว่าแฟลชกำลังแรงดี
อาจ จะเป็นเพราะแฟลชมันมีตัวเลือกไม่มากเราได้ยินมาหรือซื้อแล้วก็จบไป

ปล. จะขอเล่าตามความเข้าใจจากที่ได้ศึกษามาเอง
ถ้าไม่ถูกต้องในส่วนไหน โปรดแนะนำด้วยนะครับ

หลายๆคนพอเริ่มเห็นว่าเป็นบทความ ออกจะวิชาการ อาจจะเลิกอ่าน
แต่ผมขอแนะนำว่าลองทำความเข้าใจกับตรงนี้สักนิด แล้วเราจะเข้าใจการควบคุมแฟลชมากขึ้น
สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับ การควบคุมแฟลช Mode Auto ได้ครับ
เพื่อให้ดูไม่น่าเบื่อพยายามจะทำให้ดูไร้สาระนิดนึง อิอิ

GN (Guide Number)
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
ช่างภาพผู้กล้าและสมองไวทั้งหลาย จะพกบันทึกลับตาราง Guide Number เคียงคู่ไปกับเครื่องปล่อยพลังแสงที่เรียกว่า Flash
จากหลักฐานที่ค้นพบ ตารางมีหน้าตาอย่างรูปด้านล่าง

Photobucket

จากการเดินทางอันยาวนาน ช่างภาพผู้กล้าก็ได้พบองค์หญิง
ที่ปราสาทแห่งความมืดที่ถูกครอบงำ ด้วยศัตรูตัวฉกาจที่เรียกว่าความมืด
ช่างภาพต้องการช่วยเหลือเจ้า หญิงเป็นอย่างยิ่งจึงได้หยิบเครื่องปล่อยพลังแสงออกมาเพื่อปราบเจ้าความมืด
แต่วิธีการปราบนั้นไม่ง่ายดาย เพราะเครื่องปล่อยพลังแสงต้องควบคุมทุกอย่างด้วยตัวเอง (ไม่มีโหมด Auto)
จริงแล้วนอกจากตารางคู่ใจที่นำติดตัวมานั้น ช่างภาพผู้กล้าจะต้องรู้เคล็ดวิชาความสัมพันธ์
ระหว่าง GN Aperture และ ISO.... ทางทีมงานถอดรหัสของเราได้ไปสืบทราบจนค้นพบสูตรลับดังด้านล่าง


Photobucket


องค์หญิงรอข้า เดี่ยว ขอข้าเซ็ทเครื่องปล่อยพลังแสงก่อน
ว่าแล้วช่างภาพผู้กล้าก็เริ่ม อ่านตาราง GN
ตาราง GN นั้นด้านซ้ายมือ M1/1 หมายถึงกำลังแฟลชที่เต็มๆ เท่าทีมีเรียกว่าปล่อยหมดก็อกเลย
M1/2 ก็คือการใช้กำลังแฟลชเพียงครึ่งเดียว และลดหลั่นไปตามอัตราส่วน
ช่างภาพเริ่มคำนวณว่ากำลังระยะทางสูงสุด ที่จะปล่อยแสงไปถึงนั้นไกลสุดได้เท่าไร
ช่างภาพผู้กล้านึกย้อนหลังไป อาจารย์บอกเราว่าเครื่องปล่อยแสงตัวนี้ มีพลัง GN = 56 ในหน่วยเมตร
โอ้เราเห็นแล้วอยู่มุมบนขวาสุด ของตารางนี่เอง ถ้าเราเซ็ทแฟลช zoom ที่105 mm และยิงแฟลชเต็มกำลัง
นี่คือความสามารถสูงสุดที่ลำแสงพิฆาตจะยิงไป ถึง
& lt;br>ว่าแล้วช่างภาพก็ประหยิบอาวุธคู่ใจอีกตัวมาออกมานั่นคือเลนส์ฟิกซ์ ไวแสงนั่นเอง
หึหึ เสร็จข้าเจ้าความมืดเจ้าจะมลายหายไปในไม่ช้าเพราะเลนส์ตัวนี้มีค่า Aperture f ได้น้อยถึง 1.4
จากการกะคร่าวๆตอนนี้ช่างภาพผู้กล้าอยู่ห่างจากเจ้าหญิง 28 เมตร
หึหึ ช่างภาพกระหยิ่มในใจ อะไรจะเหมาะเหม็งปานนี้
ช่างภาพคำนวณในใจจากสูตรเคล็ดวิชา GN = Distance (ระยะทาง) x Apterture
ถ้าซัดกำลังเต็มที่ GN =56 ระยะทาง 28 เมตร เหลือค่าตัวแปรตัวเดียว
ช่างหวานหมูกระไรย้ายตัวคูณทางขวาไปเป็น ตัวหาร ก็จะได้ค่า Aperture f = 2
เหลือๆซัดมันเลยแล้วกันว่าแล้ว ช่างภาพก็เซ้ทแฟลช M1/1 ซูม 105 และ f2 ที่กล้อง
แช๊ะทันทีที่กดปุ่มลำแสงวิ่งไปถึงเจ้าความมืดที่กำลังลวม ลามเจ้าหญิงพอดี
เจ้าปีศาจความมืดกระเจิงเพราะโดนเข้าไปเต็มๆดอก ตกใจฉุดเจ้าหญิงวิ่งหนีไป
& lt;br>ตามตำนาน เจ้าความมืดจะตายถ้าโดนลำแสงพิฆาต 3 ครั้ง ติดๆกัน
เวลาไม่คอยท่าจะปล่อยให้มันฟื้นพลังไม่ได้ วิ่งหนีไปไกลเหรอไม่ทันข้าหรอก
ด้วยความรีบ ช่างภาพได้หมุนลดค่า shutter speed ลง โดยนึกว่าให้ผลกับระยะทางพลังแสงเหมือนกัน
เปรี๊ยง เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นลำแสงพุ่งออกไปทำไมไม่ถึงเจ้าหญิง.... เจ้าความมืดกระหยิ่ม
ช่างภาพหลบฉากอยู่หลังเสา บอกตัวเองให้ใจเย็นเกิดอะไรขึ้นกันแน่ < br>
ทำไมลำแสงไปไม่ถึง ครั้นนึกขึ้นได้ว่าจากเคล็ดวิชา ค่าพลังของแสงไม่เกี่ยวกับ shutter speed เลยนี่นา
ใช่ๆ อาจารย์เคยบอกว่า ลำแสงพิฆาตนั้นปล่อยใยช่วงเวลาอันสั้นมากประมาณ 1/1000 ถึง 1/30000 แล้วแต่กำลังแฟลช
เพราะฉะนั้นอย่าไปเสียเวลาปรับ shutter speed เพราะมันไม่มีผล
& lt;br>ใจเย็นช่างภาพบอกตัวเองอีกครั้ง เราต้องลดค่า Aperture นี่นาว่าแล้วช่างภาพได้ลด Aperture ไปที่ f 1.4
ช่างเหมาะเหม็งเจ้าความมืดพาองค์หญิงไปที่ระยะ 40 เมตรพอดี
สุดกำลังความสามารถของแฟลชที่ยิงได้พอดี (56 / 1.4 = 40m)
เปรี๊ยงลำแสงพิมาตยิงออกไปสุดความสามารถอีกครั้ง โดนครั้งที่สองไปแบบเต็มๆ
ดูเหมือนเจ้าความมืดจะรู้ทางว่า นั่นคือระยะทางมากที่สุดที่ปล่อยลำแสงมาได้
เจ้าความมืดกระฉากองค์ หญิงวิ่งหนีไปอีก ระยะไกลห่างจากช่างภาพมากให้มากกว่า 40m ช่างภาพวิ่งตามไปติดๆ
แต่ก็ไม่สามารถเข้าใก้ลได้มากกว่า 40m ไม่ได้การหละทำไงดี
& lt;br>เราต้องยิงลำแสงครั้งที่สามแล้วไม่งั้นเจ้าความมืดจะไม่ตาย
แต่ระยะไกลสุดได้แค่ 40m นี่นา ทำไงดี ช่างภาพงัดตารางขึ้นมาดูอีกครั้ง
และในที่มืดนั้นเองตัวอักษรเรือง แสงปรากฏออกมา เป็นลายมือที่อาจารย์เขียนไว้ว่า
ตารางนี้ใช้กับ ISO 100 (รักนะจุ๊บๆ จากอาจารย์)
ปริศนาในห้องปิดตายไขกระจ่างแล้ว ผมขอเอาชื่อปู่ ของผมเป็นประกัน คินดะอิจอกล่าว.... เย้ยไม่ใช่

สูตรทุกอย่างลงตัวแล้ว เราลืมคำนึงถึงค่า ISO Sensivity factor นี่เอง

Photobucket

เสร็จเราแน่เจ้าความมืดจาก ตาราง ด้านล่างนี้เห็นได้ชัดว่า ถ้าเราเพิ่ม ISO ตัวหารก็จะมากขึ้น เราก็จะได้ค่าระยะทางมากขึ้น
คณิตศาสตร์ป.6 เบ เบ เสร็จข้าแน่ ว่าแล้วช่างภาพก็ได้เปลี่ยนฟิลม์ให้ไวแสงขึ้นจาก ISO 100 เป็น ISO 400
ระยะพลังแสงไกลสุดได้เพิ่มจาก 40m ไปเป็น 80m ทันที

ฮานาเซโย ซาโยนาระ Good Bye ลาก่อน ช่างภาพส่งเสียงอำลาเจ้าความมืด
ทีหนีไปไม่พ้นระยะแฟลช แว็ปปปปปปปปปป ลำแสงเจิดจ้าไปถึงเจ้าหญิงอีกครั้ง
และในที่สุดช่างภาพก็ได้เก็บ ภาพองค์หญิง กลับบ้านไปส่งสำนักพิมพ์หนังสือซุบซิบดาราได้ตามเป้าหมาย
+++ อ้าวไมได้ มาช่วยเจ้าหญิงหรอกเหรอ +++

สุดท้ายนิทาน เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ถ้าจะควบคุมแฟลชให้ปรับเปลี่ยนค่า Aperture หรือ ค่า ISO เท่านั้น


Views: 2863

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

Comment by dogkt notsocute on April 29, 2010 at 12:42pm
ขอบคุณสาระดีๆครับ
Comment by Who U Know on September 23, 2009 at 9:19pm
Thk krub
very useful krub
Comment by palm4u on June 20, 2009 at 10:29pm
เยี่ยมๆ เล่าเรื่องได้สนุกมากค่ะ ได้สาระด้วย ^ ^

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service