มองสถาปัตยกรรม: Fallingwater's Kaufmann House

Fallingwater เป็นชื่อของบ้านสุดมหัศจรรย์ที่ผ่านการสร้างสรรค์การออกแบบจากสถาปนิกนาม Frank Lloyd Wright สถาปนิกชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงแห่งยุคสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) บ้านหลังนี้ถูกออกแบบเพื่อใช้เป็นสถานที่สังสรรค์กับกลุ่มลูกค้าและพักผ่อน สุดสัปดาห์ของครอบครัวตระกูล Kaufmann โดยมี Edgar J. Kaufmann Sr. เป็นผู้ครอบครองว่าจ้างออกแบบ ในแถวชนบทของแถบตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐเพนซิลเวเนีย ห่างออกไป 50 ไมล์ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองพิตส์เบิร์ก โดยมีระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จระหว่างปี ค.ศ 1936 - 1939 รวมเบ็ดเสร็จเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 3 ปี (การออกแบบและวางโครงการเริ่มต้นปี ค.ศ. 1935) 




ความสุดบรรเจิดของบ้านหลังนี้ไม่ใช่แค่เป็นอาคารหลัง หนึ่งที่สถาปนิกนามกระเดื่องอย่าง Frank Lloyd Wright รับผิดชอบการออกแบบเพียงแค่นั้น แต่สิ่งที่สุดพิเศษของมันอยู่ที่การก่อสร้างอาคารมิได้ยื่นอยู่บนชั้นดินโดย ทั่วไป แต่มันเป็นโครงสร้างที่ท้าทายธรรมชาติโดยยื่นเนื้อพื้นผิวน้ำตกจากลำธารแบร์ รัน ออกไปถึง 30 ฟุต โลกปัจจุบันการสร้างอาคารในลักษณะ cateliever ที่มีเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ตอบสนองการออกแบบอย่างไร้ขีดจำกัด

แต่...กับสถาปัตยกรรมในยุคนั้นและสภาพพื้นที่การก่อสร้าง นับได้ว่าสมบูรณ์แบบอย่างไร้ที่ติ โดยเฉพาะความงามทางสุนทรียภาพที่เกิดขึ้นระว่างที่ว่าง (Space) กับสิ่งแวดล้อม (siite Surrounding) ของอาคารได้ถูกโอบล้อมบรรจบกัยเป็นหนึ่งเดียวระหว่าง คน สถาปัตยกรรมและธรรมชาติที่ตั้ง








ชื่อ "บ้านน้ำตก (Fallingwater - ฟอลลิงวอเทอร์) จึงเป็นนามเฉพาะที่เมื่อกล่าวคำนี้ออกมา โลกของวงการสถาปัตยกรรมต้องนึกถึงอาคารหลังนี้เพียงแห่งเดียว มากกว่าอาคารหรือบ้านหลังอื่น ที่ถูกสร้างด้วยบริบทเดียวกันหลังอื่น



Site Plan Fallingwater Kaufmann's House ตัวอาคารถูกแบ่งเป็นสองส่วนหลักได้แก่  

Main House เป็นส่วนพักอาศัยหลักของครอบครัว อาคาหลังนี้เป็น Private Zone ของบ้านและเป็นอาคารส่วงนที่ยื่นคร่อมน้ำตกของลำธารแบร์รันตามที่กล่าวข้าง ต้น โดยอาคารส่วนนี้แบ่งเป็นสามชั้น 

ความน่าสนใจของ Space ในส่วนของพื้นที่ชั้น 1 คือการที่ส่วนประกอบทั้งหมดไม่มีการปิดกั้นด้วยผนังอาคาร ปล่อยให้เป็นพื้นที่โล่งโปร่ง เกิดการถ่ายผ่านสัมผัสทางสายตาให้เกิดความรู้สึกถึงภาวะสบาย บรรยากาศจึงไม่เกิดภาพความอึดอัด


ผังพื้นอาคารส่วน Main House ชั้นที่ 1


ผังพื้นอาคารส่วน Main House ชั้นที่ 2

ผังพื้นอาคารส่วน Main House ชั้นที่ 3


สำหรับส่วนที่สองของบ้าน คือ ส่วน   Guest Wing สำหรับการพบปะและประชุมกับกลุ่มลูกค้าของเครือธุรกิจของครอบครัว Kaufmann รวมถึงห้องพักรับรองแขกที่มาเยี่มเยือน นับว่าส่วนนี้เป็น Public Zone ของอาคารที่ใช้เป็นพื้นที่ต้อนรัน แยกออกจากความเป็นส่วนตัวของพื้นที่หลัก โดยมีพื้นที่แบ่งเป็น 2 ชั้น

ผังพื้นอาคารส่วน Guest Wing ชั้นที่ 1

ผังพื้นอาคารส่วน Guest Wing ชั้นที่ 2

รูปด้านแนวทิศใต้ ทางไหลของลำธาร แบร์รัน

ในส่วนของการออกแบบเรื่องที่ว่างนั้น โดยหลักคือการที่ Frank Lloyd Wright ปล่อยให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของด้านที่สัมผัสกับแนวลำธาร เปิดโล่งไม่มีแนวผนังบดมองมุมมองของทัศนียภาพภายนอก การใช้แนวผนังกระจก ที่ลดความถี่ของกรอบวงกบไม่ให้เกิดความเกะกะทางสายตา

นอกเหนือจากความโปร่งของแนวผนัง บ้านหลังนี้มีการลดมิติความสูงของระดับฝ้าเพดานลงจากระดับมาตรฐานของบ้านในอเมริกาทั่วไป (ตรงนี้ผมไม่แน่ใจในเรื่องระยะมาตรฐาน ว่ากำหนดเท่าไหร่ อย่างของประเทศไทยตาม เทศบัญญัติ ว่าไม่น้อยกว่า 2.60 เมตร) 

การลดระดับแนวฝ้าลงนั้น เป็นการลดความสำคัญของความโปร่งภายใน ให้น้อยลงกว่าคุณภาพของแสงและมุมมองภายนอก นัยว่าถ้าภายในมีสภาวะของความเป็นโถงโล่งนั้น สายตาของมนุษย์มันจะมีธรรมชาติที่ต้องมองโดยกว้าง ๆ ไปมา

การออกแบบนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อบังคับองศา ระยะการมองของคนที่เข้าไปให้สนใจ มุมมองโดยตรงต่อทัศนียภาพภายนอกนั่นเอง





โดยสรุป...Fallingwater นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมประเภทบ้านพักอาศัย ที่มีนัยยะการสื่อสะท้อนแนวทางการออกแบบของ Frank Lloyd Wright ที่สร้างรูปแบบความคิดที่เรียกว่า "แนวคิดสถาปัตยกรรมแบบ Organic Architecture" ที่เน้นกระบวนการออกแบบให้สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมแบบ Passive Design หรือการออกแบบที่ไม่เน้นการใช้อุปกรณ์ทางเทคนิคมาสร้างบรรยากาศ  แต่ใช้ภาวะสบายของคุณภาพที่ว่างเป็นตัวกำหนดการเคลื่อนที่ของบรรยากาศในตัวมันเอง

และความสัมผัสแห่งวัสดุที่มีภาษาตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมว่าต้องแทนสิ่งนั้น สิ่งนี้ ความเป็นธรรมชาติของบ้านหลังนี้มันกลมกล่อมและอ่อนน้อมถ่อมตัวกับสภาพแวดล้อมและบริบทในภาษาทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างดี


สุดท้ายผมยังคงต้องสงสัย และค้นหาต่อไปว่า...ทำไมมันไปสร้างในที่ตั้งโครงการแบบนี้ได้นะ เข้าข่ายบุกรุกป่าสงวนแบบนักการเมืองบางท่านในประเทศไทยของเราหรือป่าว...(หรือจริง ๆ บ้านเมืองเราก็มีงานออกแบบระดับโลก แต่ออกสื่อไม่ได้ ^ ^)

เดี๋ยวว่าง ๆ มาต่อกันด้วยเรื่องของ Construction & Material Design กัน ผมกับไปพระราม 9 หาหนังสือก่อนมีเต็มเล่ม จะไปนั่งแปลมาให้อ่านกันต่อ...(^ ^)


ดู VDO ไปเพลิน ๆ ก่อน ฝรั่งมันตั้งใจทำดีจัง ทำไม นศ.สถาปัตยกรรมที่เก่ง 3D ไม่ทำ Presentation แบบนี้ แต่เป็นพวกสถาปัตยกรรมไทยบ้างนะ...หรือมี???


สงสัยต้องไปค้นหาดูอีกที...


แหล่งข้อมูลส่วนที่ 1
"Fallingwater" เข้าถึง [ออนไลน์] ที่ http://www.fallingwater.org/
"Fallingwater" เข้าถึง [ออนไลน์] ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Fallingwater
"fallingwater house" เข้าถึง [ออนไลน์] ที่ http://www.google.co.th

Views: 5323

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service