'หัวโขน' เนรมิตเรื่องราวในวรรณคดีให้สมจริง ด้วยความวิจิตรบรรจงของศิลปะชั้นครู

เชื่อว่าคนไทยไม่มีใคร ไม่รู้จัก 'โขน' แต่น้อยคนนักที่จะได้รับชม 'โขน' จริงๆ สักครั้งในชีวิต เรื่องราวในวรรณคดี ความเชื่อและบทประพันธ์เก่าแก่ต่าง ๆ มักจะฝังลึกอยู่ในวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชนชาติ เรียกได้ว่าคนในชาติ ถึงแม้จะไม่ได้รู้ลึกแต่ก็เรียกได้ว่ารู้จัก นับแต่โบราณมาแล้วที่คนไทยซึ่งเป็นชาติที่ชื่นชอบความสวยงามและความรื่นเริง มักมีดนตรีและนาฎศิลป์ไว้เป็นเครื่องขับกล่อมสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะมีการละเล่นและงานฝีมือมากมายไว้เป็นของเชิดหน้าชูตาประเทศ


สำหรับการละเล่นโขนนั้นแต่เดิมสันนิษฐานว่าไม่ได้ใช้หัวโขนแต่เป็นการวาดหน้าตาให้เหมือนกับตัวละคร ทว่าพอเวลาผ่านไปการแสดงโขนเริ่มที่จะมีผู้แสดงจำนวนมากขึ้น ดังนั้นการวาดหน้าแต่งแต้มสีสันก็เป็นเรื่องที่หนักหนา จึงมีการคิดทำหัวโขนขึ้นมา ขั้นตอนในการทำหัวโขนนั้นมีหลายขึ้นตอน เริ่มตั้งแต่การนำกระดาษสามาพอกไว้กับแบบ จากนั้นจึงใช้ไม้ตีให้กระดาษเรียบเนียนกับตัวแบบ จนกระทั่งถึงเวลาก็ถอดกระดาษสาออกจากแบบ ซึ่งจะได้รูปร่างและขนาดที่จะนำมาตกแต่งเป็นหัวโขนแบบต่าง ๆ ซึ่งขั้นต้อนการตกแต่งนี้ก็เริ่มตั้งแต่การปั้นหน้าโขน การทำลาย ปิดทองแล้วเขียนลาย จนสุดท้ายก็คือการประดับประดากระจกหรือพลอยตกแต่งให้สวยงาม นับว่าเป็นงานที่ต้องใช้ความอดทนและฝีมืออย่างมาก

 

ป้จจุบันนี้หากไม่ได้เห็นหัวโขนในการแสดง ก็จะเห็นวางขายเป็นของที่ระลึก ซึ่งได้พัฒนาทำออกมาเป็นในหลายรูปแบบ ต่างขนาดกันไป ซึ่งต้องยอมรับว่าส่วนใหญ่คนที่ซื้อไปเป็นชาวต่างชาติเสียมากกว่า สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ในตอนนี้หัวโขนก็มีเอาไว้บูชาตามความเชื่อของแต่ละบุคคลนั่นเอง

 



 

[ via:บ้านโขน ]

Views: 2418

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service