ไปเที่ยวเกาะเกร็ดกัน (คลิกเพื่ออ่าน blog)

9NR3aQBD44RWEAr2I81hxLSLXVOW1dZEYcDoUSZPWuDTWlo8lPU/DSC_9461_resize_resize.JPG" alt=""/>

src="http://storage.ning.com/topology/rest/1.0/file/get/2998635777?profile=original" alt=""/>

src="http://storage.ning.com/topology/rest/1.0/file/get/2998635324?profile=original" alt=""/>


ล่องแม่น้ำเจ้าพระยา เยี่ยมชมความงดงามของธรรมชาติ และศิลปะวัฒนธรรมชาวมอญ ณ “เกาะเกร็ด”

“กริ๊ง”ๆๆๆเสียงนาฬิกา ปลุกผมตื่นขึ้นจากการพักผ่อนอย่างอิ่มเอม เหมือนได้เวลาเดินทางไปเก็บภาพท่องเที่ยว และเรื่องราวอันน่าสนใจให้บรรดาคนชอบเที่ยวทั้งหลาย ได้ยลและสัมผัสได้ถึงความสวยงามและความอบอุ่นของธรรมชาติ ซึ่งในทริปนี้ ผมขอพาท่านผู้อ่านมาสัมผัสกับ แหล่งท่องเที่ยว ที่มีความงดงามของธรรมชาติ ทั้งยังไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ความงดงามที่ว่านี้ ถ้าจะเปรียบเทียบก็คงไม่แพ้อัญมณีเม็ดงาม ที่หลายต่อหลายคนถ้าได้มาพานพบ ก็คงแอบอมยิ้มอย่างสุขใจกลับบ้านอย่างอิ่มเอมหัวใจเสียด้วยซ้ำ

การดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย กับความมีมิตรไมตรีของชาวบ้าน เปรียบดั่งมนต์เสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลแวะมาเยี่ยมชมความงดงามที่ว่านี้กันอย่างไม่ขาดสาย ในทริปนี้สิ่งที่จะขาดมิได้นั่นคือกล้องคู่ใจ พร้อมอุปกรณ์เสริมต่างๆ ยังมีนักถ่ายภาพอีกหลายคน ที่มีความเชื่อที่ผิดๆ ว่าขาตั้งกล้องนั้นไม่มีความจำเป็น ใช้มือถือก็ถ่ายภาพได้ แต่ในบางกับสภาพอากาศ หรือสภาพแสงที่ค่อนข้างแย่ หรือแม้กระทั่งในวันที่แสงดี ฟ้าโปร่งและเปิด ขาตั้งกล้องก็ยังมีความจำเป็นต่อการถ่ายภาพเสมอ เช่น การจัดองค์ประกอบภาพ การวางตำแหน่งของวัตถุในเฟรม หรือสิ่งต่างๆที่คนรักการถ่ายนั้นต้องการนำเสนอ “ภาพที่ดีที่สุด คือภาพที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของสิ่งนั้นๆได้เป็นอย่างดี” แต่กว่าจะได้ภาพนั้นๆมา ก็คงใช้เวลามิใช่น้อยในการเสาะแสวงหา องค์ประกอบของภาพ ด้วยสายตาอันฉียบคม ท่ามกลางความกดดันต่างๆรอบๆกายช่างภาพ เช่น ดินฟ้าอากาศ และที่จะลืมเสียมิได้ นั่นคือโชค และการอยู่อย่างถูกจังหวะถูกเวลา สุดท้ายนั่นคือความรักจากหัวใจที่รักการถ่ายภาพอย่างแท้จริง
คำว่า “วิญญาณในภาพถ่าย” หากเป็นหนังผีคงน่าดูพิลึกเพราะคงตื่นเต้นกับผีที่เตรียมตัวหลอกเราทุกๆซีน แต่การถ่ายภาพแล้วจะทำอย่างไรที่จะให้ภาพนั้น มีชีวิต หรือมีวิญาณนั้น หลายต่อหลายคนอาจจะท้อแท้ หรือเลิกจับกล้องขึ้นมากดชัตเตอร์กันเลยทีเดียว ไม่มีใครเป็นตั้งแต่เกิด คุณเคยได้ยินบ้างหรือไม่ การถ่ายภาพสามารถฝึกฝนกันได้ และถ้าฝึกบ่อยๆรับรองไม่นานนักจะเกิดทักษะและประสบการณ์ การถ่ายภาพท่องเที่ยวนั้น เสมือนแบบฝึกหัดแรกๆของการถ่ายภาพ เพราะทั้งสถานที่ต่างๆ และวัตถุนั้นค่อนข้างอยู่นิ่งกับที่ ไม่เคลื่อนไหวไม่เหมือนการถ่ายภาพแนวแอคชั่นกีฬา ซึ่งมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ภาพกีฬาเป็นภาพถ่ายที่มีความท้าทาย ด้วยความรวดเร็ว ของนักกีฬาที่โจนทะยานเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะในเกมส์ แต่ช่างภาพต้องจับภาพความประทับใจ และแอคชั่นของอารมณ์และความรู้สึกของนักกีฬาประเภทนั้นๆ จะด้วยแววตา สีหน้า ท่าทางต่างๆ ดังนั้นสายตาช่างภาพกีฬาจึงเปรียบดั่งสายตาของนกอินทรี ที่พร้อมจะขย้ำเหยื่อในทุกๆเสี้ยววินาที จะใช้กล้องยี่ห้อใดไม่สำคัญ อยู่ที่มุมมอง ความพยายามความมุมานะ และความอดทน สิ่งเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนเป็นประสบการณ์สอนเราจนเราเกิดความแข็งแกร่ง และสามารถลั่นชัตเตอร์ได้ด้วยความมั่นใจ
วกมาเข้าเรื่องท่องเที่ยวของฉบับนี้กัน เกาะอะไรอยู่จ่อๆกรุงเทพฯ บางคนตอบตรงไปตรงมา เกาะภรรเมียคับเพ่ อันนั้นเป็นความสามารถเฉพาะตัวผมไม่ขอเลียนแบบแน่นอน (555) ผมขอเฉลย “เกาะเกร็ด”


ที่มาของเกาะเกร็ดนั้น เกอดจากการขุดลอกคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตรงส่วนที่เป็นแหลมในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.2265 เรียกว่า “คลองลัดเกร็ดน้อย” (คลองลัดเกร็ดใหญ่นั้นอยู่ที่จ.ปทุมธานี) ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก) ต่อมาเมื่อกระแสน้ำเปลี่ยนมีทิศทางที่แรงขึ้นเซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ เรียกว่า “เกาะสาลากุน” นั่นคือชื่อเดิมของเกาะเกร็ด
เกาะเกร็ดมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้จากวัดวาอารามต่างๆนั้นส่วนใหญ่เป็นศิลปะสมัยอยุธยาทั้งสิ้น และร้างไปพักหนึ่งเมื่อถูกพม่ารุกราน หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญเข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐาน ชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้นมีทั้งเข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาเมื่อมีการตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้น เกาะศาลากุน จึงมีฐานเป็นเรียกว่า ตำบลเกาะเกร็ด และจึงเป็นที่มาของเกาะเกร็ด มีการคมนาคมที่เป็นเอกลักษณ์ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน
เกาะเกร็ดถือเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้านโอท็อปของภาคกลาง เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น วัดปรมัยยิกาวาส (วัดปากอ่าว) ภายในมีพระอุโบสถ พระวิหาร พิพิธภัณฑ์ ที่หน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอด ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ)ของอดีตเจ้าอาวาส ตั้งตระหง่านอยู่ พระอุโบสถตกแต่งด้วยวัสดุจากประเทศอิตาลี ศิลปะจากยุโรปในสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระไตรปิฎกภาษามอญ ซึ่งถือเป็นวัดเดียวที่มี พระประธานในพระอุโบสถเป็นแบบปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของ พระองค์เจ้าประดิษฐานวรกาน ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ 5 เคยตรัสไว้ว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยฝีพระพักตร์ ดูมีชีวิตชีวาเหมือนจริงๆ ด้านหลังพระอุโบสถ มีพระมหารามัญเจดีย์ จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากอง
พระวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธยาตอนปลาย ขนาดยาว 9.50 เมตร ภาพจิตรกรรมที่เพดานนั้นแปลกตา เป็นภาพลายปฐมจุลจอมเกล้า หน้าพระวิหารประดับตราพระเกี้ยว เป็นตราประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลังประดิษฐานพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี “พระนนทมุนินท์” เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย ปางขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ในบุษบกแบบ
มอญ(จองพารา) สลักโดยช่างฝีมือที่นี่ ที่มุขเด็จหน้าวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่ง ซาง ซิว ซน ชาวพม่าถวายแด่รัชกาลที่
เอกลักษณ์ ของชาวมอญอีกอย่างหนึ่ง คือเจดีย์ทรงรามัญที่จำลองมาจากพระธาตุเจดีย์มุเตา เมืองหงสาวดี ซึ่งคนมอญนับถือมาก ภายในบรรจุพระสารีริกธาตุ เนื่องจากเจดีย์อยู่ติดแม่น้ำ กระแสน้ำได้กัดเสาะฐานราก ทำให้เจดีย์มีลักษณะเอียงเอน ดูแปลกตานับเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวมอญ และเกาะเกร็ด
วัดเสาธง เป็นวัดเก่าเดิมชื่อ “วัดสวนหมาก” นอกจากจะเป็นที่ตั้งของโรงเรียนประถมแห่งแรกของปากเกร็ดแล้ว ด้านหลังโบสถ์ยังประดิษฐานเจดีย์ที่สูงที่สุดของอำเภอปากเกร็ดอีกด้วย พระเจดีย์เป็นศิลปะสมัยอยุธยาย่อมุมไม้สิบสอง มีเจดีย์องค์เล็กเป็นบริวารโดยรอบอีก 2 ชั้น ส่วนด้านข้างมีเจดีย์องค์ใหญ่อีก 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงลังกา อีกองค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงมะเฟือง ภายในโบสถ์มีลายเพดานสวยงามมากเขียนลายทองกรวยอย่างสวยงาม พระประธานเป็นพระปางมารวิชัยปูนปั้นขนาดใหญ่ ตนมอญเรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะอาล๊าต” หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์รูปทรงคล้ายมะเฟืองฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ประดับลายปูนปั้น
วัดไผ่ล้อม สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีโบสถ์ที่มีความงดงามมาก ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน คนมอญเรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะโต้” คลองขนมหวาน บริเวณคลองขนมหวาน และคลองอื่นๆ รอบเกาะเกร็ด ชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ทั้งสองฝากฝั่งคลอง จะทำขนมหวาน จำพวกทองหยิบ ทองหยอด ขายส่งและยัง สาธิตให้นักท่องเที่ยวได้ชมอีกด้วย นักท่องเที่ยวที่จะมาท่องเที่ยวยังเกาะเกร็ด ไม่ต้องห่วงในเรื่องของความปลอดภัย ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่นั้นช่วยกันดูแล และอำนวยความสะดวกในการเดินทางเป้นอย่างดีครับ โดยเฉพาะน้ำใจไมตรีของชาวเกาะเกร็ดนั้นน่านับถือ และน่ารักเป็นกันเอง
การเดินทาง มายังเกาะเกร็ดนั้นท่านสามารถ ลงเรือข้ามฟากได้สองท่า คือ ท่าเรือวัดสนามเหนือ (ไม่ไกลจากท่าน้ำปากเกร็ด) หรือท่าเรือวัดกลางเกร็ด มีเรือบริการระหว่าง 05.00-21.30 น. สำหรับการเดินทางอย่างง่ายมีดังนี้
1. ลงเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ และมาขึ้นที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาสนมัสการพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี ชมพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 5 (ค่าเข้าชม คนละ 5 บาท)
2. เดินเท้าจากวัดปรมัยยิกาวาสสู่หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ชมและซื้อเครื่องปั้นดินเผาสองข้างทาง ชมพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผากวานอาม่าน
3. ลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเสาธงทอง ล่องเรือไปทางท้ายเกาะสู่วัดใหญ่สว่างอารมณ์ ตำบลอ้อมเกร็ด ให้อาหารปลาหน้าวัด ซึ่งเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด รายได้ถวายวัดฯ มีมะพร้าวน้ำหอมจำหน่าย
4. ล่องเรือไปทางใต้เลี้ยวขวาเข้าคลองบางบัวทอง หรือคลองขนมหวาน ชมหมู่บ้านขนมไทยสองฟากฝั่งคลอง และซื้อหาขนมเป็นของฝาก
5. ย้อนกลับออกมาตรงปากคลอง มีปล่องเตาอิฐที่ผลิตอิฐ บ.บ.ท. อิฐทนไฟแห่งแรกของเมืองไทยล่องเรือผ่านบ้านเกร็ดตระการ วิ่งตรงมาขึ้นท่าน้ำหน้าวัดฉิมพลี เลือกซื้อผลผลิตทางการเกษตร เดินเท้าจากวัดฉิมพลีถึงกลุ่มอาชีพหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ชมการสาธิตการแกะลายเครื่องปั้นดินเผาและซื้อเป็นของฝากของขวัญ ล่องเรือข้ามฟากไปวัดกลางเกร็ด เดินทางกลับ
การนั่งเรือเที่ยวรอบเกาะเกร็ด มีเรือออกทุกหนึ่งชั่วโมงเริ่มตั้งแต่เวลา 9.00-17.00 น. คนละ 50 บาท หรือหากต้องการเช่าเรือ ราคามีตั้งแต่ 500-4,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและขนาดของเรือ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ อบต.เกาะเกร็ด โทร. 0 2960 9063 หรือท่าเรือวัดปรมัยยิกาวาสโทร. 0 2584 5012

Views: 527

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service