Wat Sotorn

ดโสธรวรารามวรวิหาร หรือวัดหลวงพ่อโสธร ที่ชาวแปดริ้ว นิยมเรียกกัน วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สร้างมานาน เดิมชื่อว่า "วัดหงส์" สร้างใน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ต่อมาหงษ์ใหญ่ที่ติดอยู่บนยอดเสานั้น พลัดตกลงมาหักทำลายคงเหลือแต่เสา จึงได้เอาผ้าผืนใหญ่ทำเป็นธงขึ้นไปแขวนไว้บนยอดเสาแทนหงษ์ประชาชนก็เลยเรียกชื่อตามนิมิตเครื่องหมายนั้นว่า วัดเสาธง นานมาเสาธงนี้ได้ถูกลมพายุพัดหักโค่นลงมาเป็น 2 ท่อน ชาวบ้านก็เลยถือเอานิมิตที่เสาธงหักเป็นท่อนนั้นตั้งเป็นชื่อวัดว่า “วัดเสาทอน” อยู่สิ้นกาลช้านาน
จวบจนถึงสมัยที่มีพระพุทธรูป 3 องค์ พี่น้องล่องลอยน้ำมาจากเหนือ ได้อาราธนาอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ 1 องค์ คือ หลวงพ่อโสธร ชาวบ้านได้ร่วมใจกันถวายนามว่า “พระโสทร” มีความหมายว่า พี่น้องร่วมอุทร
จากนั้นชาวบ้านได้พากันเรียกชื่อวัดตามชื่อหลวงพ่อ “วัดโสทร” และเลยเรียกรวมไปถึงชื่อหมู่บ้านและคลองที่อยู่ในละแวกเดียวกับวัดนั้นด้วย จนถึงรัชกาลที่ 6 คำว่า “โสทร” ได้เปลี่ยนไปเขียนใหม่ใหม่เป็น “โสธร” แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้เปลี่ยนสำหรับชื่อ “โสธร” ที่เขียนใหม่นี้มีความหมายว่า “บริสุทธิ์” หรือ”ศักดิ์สิทธิ์” สำหรับเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อจาก “หลวงพ่อพุทธโสทร” มาเป็น “หลวงพ่อพุทธโสธร” ก็คงเป็นด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อที่ประชาชนทั่วไปต่างเคารพนับถือมาแต่โบราณกาลแล้ว นอกจากนี้พุทธลักษณะอันงดงามของหลวงพ่อเองก็เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เปลี่ยนอักษรเขียนชื่อใหม่ดังกล่าว
นอกจากนี้ ทางวัดและทางจังหวัดฉะเชิงเทรายังได้ร่วมกันจัดสร้างพระอุโบสถหลังใหม่สำหรับเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโสธรขึ้น โดยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาทรงวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างพระอุโบสถ จากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมาจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 พระอุโบสถหลังใหม่นี้มีลักษณทรงไทยประยุกต์ กว้าง 44.50 เมตร ยาว 123.50 เมตร ลักษณะเป็นอาคารหลังคาประกอบเครื่อยอด ชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทย ต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านข้างต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงอย่างเดียวกันกับพระวิหาร เป็นอาคารจัตุรมุข ซึ่งเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นหลังคาแบบจัตุรมุขอย่างอาคารปราสาทแบบไทย กำแพงปุด้วยหินอ่อนจากเมืองคาร์ราร่า ประเทศอิตาลี จัดเป็นพระอุโบสถที่งดงามมาก และมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
สำหรับพระอุโบสถหลังใหม่นี้ ชาวจังหวัดฉะเชิงเทราสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อสนับสนุนพระศาสนาซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนและเพื่อร่วมเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนภิเษกถวายเป็นพระราชกุศล โดยร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระอุโบสถประจำรัชกาลที่ 9 สือต่อไป

ศิลปกรรมบนพื้นแกรนิตภาพมหาสมุทร ในส่วนพระอุโบสถ ที่ประดิษฐานพระพุทธโสธรองค์จริง พระประธาน และพระพุทธรูปอื่นรวม 18 องค์ ประดิษฐานในดอกบัว ลายล้อมด้วยศิลปกรรมบน พื้นแกรนิตภาพมหาสมุทร แสดงถึงตำนานหลวงพ่อโสธรที่ลอยน้ำมายังบริเวณนี้ มีปลาขนาดใหญ่ประจำเมืองแปดริ้ว 5 ตัว ว่ายวนอัญเชิญดอกบัว รอบๆ มีสัตว์น้ำนานาชนิด ทั้งกุ้ง หอย
ปู ปลา คาบดอกบัวมาสักการะหลวงพ่อ ลวดลายบนภาพพื้นพระอุโบสถ มีความสมจริงดั่งพื้นน้ำ ด้วยฝีมือช่างผู้ชำนาญ ที่สามารถแกะสลักหินแกรนิตหลากสี จากต้นแบบของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ และคณะให้เป็นลวดลายสมจริงเช่นนี้ ทั้งหมดที่ท่านเห็นบนพื้นพระอุโบสถ ทำจากหินแกรนิตแกะสลักสลับสีซ้อนกันหลายชิ้นมีความพิถีพิถันในการให้สี มีความใส่ใจในรายละเอียด ทำให้ได้ภาพเขียนศิลปกรรมขนาดใหญ่จากแกรนิตที่สวยงาม แห่งเดียวในโลก

จิตรกรรมภาพดวงดาวบนเพดานพระอุโบสถ ท้องฟ้าสีดำประดับด้วยดวงดาวมากมาย เป็นฝีมือของจิตรกรเอกหลายท่านของเมืองไทย ร่วมกันสรรค์สร้างเป็นภาพสีน้ำมันบนวัสดุเคลือบด้วยน้ำยาชนิดพิเศษที่ให้ความคงทน และรักษาสีไม่ให้ซีดจาง เมื่อแหงนหน้ามองขึ้นไป จะรู้สึกเหมือนกับว่าภาพบนเพดานแบนราบ แท้จริงแล้วกลับเป็นเพดาน ทรงโดมโค้ง ภาพนี้แสดงตำแหน่งของดวงดาวใน วัน เวลา นาที ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินยกยอดฉัตรพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร

งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร
1. งานเทศกาลเดือน 5 เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ ถึงแรม 2 ค่ำ รวม 3 วัน 3 คืน เป็นงานฉลองสมโภชในวันที่อาราธนาหลวงพ่อโสธรขึ้นจากน้ำมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้

2. งานเทศกาลเดือน 12 เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เนื่องจากในปี พ.ศ. 2433 เกิดโรคฝีดาษระบาดทั่ว ชาวบ้านจึงบนบานต่อหลวงพ่อโสธร ขอให้หายและได้จัดพิธีสมโภชจนกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมา ปัจจุบันทางจังหวัดฉะเชิงเทราและทางวัดโสธรฯ ได้ร่วมกันจัด "งานนมัสการพระพุทธโสธร และงานกาชาดฉะเชิงเทรา" ขึ้นเป็นประจำ มีการเฉลิมฉล

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service