ประกวด "Thailand Digi Challenge 2015" หัวข้อ "รัก(ษ์) สามัคคี วิถีไทยร่วมสมัย” (19/06/2015)

เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการหรือบุคคลที่มีผลงานและต้องการพัฒนาผลงานให้มีผลงานอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ตลอดจนการเสริมสร้างและผลักดันให้ภาคประชาชน ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจการค้าและบริการ ได้ตระหนักถึงความสาคัญของอุตสาหกรรม ดิจิทัลคอนเทนต์ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื่อมโยงต่างๆ ตลอดจนให้มีการใช้ ความรู้ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และ เทคโนโลยี ในชุมชนให้มากยิ่งขึ้น สานักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ องค์การมหาชน (SIPA) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เล็งเห็นถึงความสาคัญของแนวนโยบายดังกล่าว จึงได้จัดให้มีโครงการ Thailand Digi Challenge 2015 เป็นประจาทุกปี เพื่อเป็นการเชิดชูผลงาน ความตระหนัก สร้างคุณค่าและการสร้างเครือข่ายในการพัฒนางานทางด้าน ดิจิทัลคอนเทนต์ ในประเทศไทยทั้งในระดับวิสาหกิจ ชุมชน และประชาชน ในปีงบประมาณ พ.ศ 2558 SIPA มีแผนดาเนินงานโครงการ Thailand Digi Challenge 2015 เป็นครั้งที่ 3 ภายใต้ความร่วมมือกับสานักงานสาขา และหน่วยงานหลักในภูมิภาค ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่มีพลวัตสูง ตลอดจนมีเครือข่ายการดาเนินงานที่หลากหลาย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเชิดชูเกียรติบุคคล/ผู้ประกอบการ ให้สังคมเห็นถึงบทบาทของ SIPA SIPASIPA ที่มีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ดิจิทัลคอนเทนต์ของประเทศไทย 2. เพื่อสร้างความตระหนัก ตลอดจนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์บทบาทด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรม ดิจิทอล คอนเทนต์ ให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคสังคม ภาคประชาชน เยาวชน นักเรียนและนักศึกษา ให้มีความตื่นตัวและเห็นความสาคัญของอุตสาหกรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ต่อการพัฒนาประเทศ 3. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ งาน SIPA IPA สู่สาธารณชน

กลุ่มเป้าหมาย
ประเภทที่ 1 : 1 : นักเรียน นิสิต นักศึกษา
นักเรียนและนักศึกษา หมายถึง ผู้ที่กาลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. และนิสิต นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา รวมถึงผู้ที่ศึกษาอยู่ใน สถาบันการศึกษาที่มีระดับเทียบเท่า
ประเภทที่ 2 : 2 : นักพัฒนาอิสระ และบุคคลทั่วไป บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน หมายถึง นักพัฒนาอิสระ และ/หรือ ผู้สนใจทั่วไป และ/หรือ ผู้มีความสามารถในการใช้ซอฟแวร์ ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยจะต้องเป็นผู้มีองค์ความรู้ด้านการใช้ซอฟแวร์พัฒนาเนื้อหา ต่างๆในรูปแบบของ ดิจิทอล คอนเทนต์)

ประเภทที่ 3 : ผู้ประกอบการ  สถาบันการศึกษา  วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจที่มีการจ้างงานน้อยกว่า 200 คน สาหรับภาคการผลิตและบริการ และการจ้างงานน้อยกว่า 50 คน สาหรับภาคการค้า หรือมีมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรไม่ รวมที่ดินน้อยกว่า 200 ล้านบาท สาหรับภาคการผลิตและภาคบริการ และมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินน้อยกว่า 100 ล้านบาท สาหรับภาคการค้า (พ.ร.บ. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543, กระทรวงอุตสาหกรรม)

 วิสาหกิจชุมชน กิจการของชุมชนที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่นๆ ที่ดาเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการ ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน (พ.ร.บ. ส่ง เสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548, กรมส่งเสริมการเกษตร) ทั้งนี้ให้รวมถึง สหกรณ์ โดยความหมายว่าคณะบุคคลซึ่งร่วมกันดาเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทาง เศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ 2542 (พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542, กรมส่ง เสริมสหกรณ์)

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่กาลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในภาครัฐและเอกชน โดยไม่จากัดชั้นปี
2. บุคคลทั่วไป
3. ผู้ประกอบการ
4. มีความสามารถในการพัฒนาภาพนิ่ง และ/หรือเคลื่อนไหวจากคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นของตนเอง และมีทักษะทางด้านการใช้ โปรแกรม และประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

เงื่อนไขการสมัครเข้าร่วมประกวด
1. ผู้ผลิตผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลผู้ถือสัญชาติไทยเท่านั้น
2. โครงการที่นาเสนอ จะต้องเป็นผลงานที่ไม่ได้ลอกเลียนแนวคิดมาจากที่ใด หรือละเมิดลิขสิทธิ์จากผลงานอื่นๆ และต้องเป็นผลงานไม่เคยส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรมใดๆมาก่อน
3. ในกรณีที่เจ้าของโครงการนาเสนอผลงานเป็นพนักงานประจาในบริษัท ผลงานนั้นๆ จะต้องได้รับการเห็นชอบจากบริษัทต้นสังกัดเป็นลายลักษณ์อักษร โดยแนบหลักฐานมาพร้อมกับการส่งโครงการ
4. รอบแรก ผู้เข้าร่วมประกวดส่งผลงานในรูปแบบ PDF File PDF File PDF File และ Hard CopyHard Copy Hard Copy Hard Copy
5. รอบที่สอง ผู้เข้าร่วมประกวดจะต้องนาเสนอโครงการและความเป็นไปได้ของผลงานต่อคณะกรรมการตัดสิน (ระยะเวลานาเสนอโครงการ 25 นาที
6. โครงการที่นาเสนอจะต้องสามารถดาเนินการให้แล้วเสร็จ เป็นผลงานชิ้นสมบูรณ์ภายในระยะเวลา 12 เดือน (ในกรณีที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก SIPA SIPASIPA)
7. ผลงานที่เข้าร่วมประกวด ถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างผู้ผลิตผลงานนั้นๆ และผู้สนับสนุน สานักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

กติกาการแข่งขัน
1. ลงทะเบียนเพื่อสมัครเข้าร่วมการแข่งขันพร้อมแนบไฟล์โครงการ (PDF File) ภายในวันที่ 19 มิถุนายน 2558 ผ่านทางระบบลงทะเบียน SIPA
ผลิตผลงานภายใต้แนวคิด “รัก(ษ์) สามัคคี วิถีไทยร่วมสมัย” และผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวด แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. Animation
2. Game
3. e-Learning
4. New Media
5. Platform /Tools ที่ใช้ในอุตสาหกรรม Digital Content Content (ไม่จาเป็นต้องผลิตผลงานภายใต้แนวคิดข้างต้น)

2. ผู้เข้าประกวดสามารถส่งเป็นประเภททีมหรือรายบุคคลได้ กรณี นักเรียน นักศึกษา ควรมีอาจารย์ที่ปรึกษา

3. ผู้เข้าร่วมประกวดจะต้องส่งผลงานรูปแบบ PDF File ผ่านทางระบบ SIPA ภายในวันที่ 19 มิถุนายน 2558 และจัดส่งเป็น Hard copy จานวน 6 ชุด ภายในวันที่ 26 มิถุนายน 2558 โดยมีรายละเอียดดังนี้
3.1 Proposal ตามแบบฟอร์มที่กาหนดไว้ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ register.sipa.or.th
3.2 Conceptual Design Document ซึ่งประกอบด้วย ที่มาของผลงาน/แรงบันดาลใจ/เนื้อหาอย่างย่อ
3.3 รายชื่อทีมงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ
3.4 งบประมาณที่คาดว่าจะใช้และระยะเวลาในการดาเนินโครงการ

4. ผู้เข้าร่วมประกวดต้องนาเสนอผลงานต่อคณะกรรมการฯ ตามเวลาที่กาหนด เพื่อให้คณะกรรมการฯ ดาเนินการตามขั้นตอน และต้องอานวยความสะดวกหากมีข้อซักถาม

5. ผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดของผู้เข้าร่วมประกวดต้องไม่เป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบของผู้อื่น

6. ผู้เข้าร่วมประกวดต้องแสดงผลงานต่อคณะกรรมการฯ หากได้รับการร้องขอ พร้อมจัดแสดงชิ้นงานในวันงานมอบรางวัล

7. ดาเนินการอื่นๆ ตามกฎกติกาที่คณะกรรมการฯ ระดับประเทศประกาศ

ขั้นตอนการแข่งขัน
ลงทะเบียนออนไลน์
กาหนดให้ผู้สมัครส่งผลงานในรูปแบบ (PDF File) โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประเภท Animation Contest

1. ปกหน้า ระบุชื่อทีม ชื่อผลงาน รายชื่อผู้ร่วมงาน ภายใน 1 หน้ากระดาษ A4 ขนาดตัวอักษร font Thai Sarabun 16 เท่านั้น

2. เนื้อเรื่องย่อ จานวน 1 หน้ากระดาษ A4

3. Character Line-up ในท่าทางแสดงอารมณ์ต่างๆ อย่างน้อย 6 ท่าทาง โดยท่าทางให้สอดคล้องกับ 16 หัวข้อ ดังนี้

1. แจ้งเบาะแสการกระทาผิด
2. ปัญหาความเดือดร้อน
3. ร้องเรียนการบริการเจ้าหน้ารัฐ
4. ปัญหาที่ดิน
5. ปัญหาด้านยานพาหนะ
6. ร้องเรียนเกี่ยวกับธนาคาร/สถาบันการเงิน/เงินทุนหลักทรัพย์
7. ร้องเรียนด้านการศึกษา
8. ปัญหาสิ่งแวดล้อม
9. เรื่องทั่วไป
10. ขอความช่วยเหลือ
11. ร้องเรียนปัญหาคอรัปชั่น
12. ขอติดตั้งต่างๆ
13. สอบถามการยื่นแบบฟอร์ม
14. ขึ้นทะเบียนบุคคล
15. ขึ้นทะเบียนธุรกิจ
16. ร้องเรียนปัญหาหนี้สิน

หมายเหตุ : Character Line-up ที่ทาท่าทางนั้น เพื่อนาไปใช้ทาสติ๊กเกอร์สาหรับแจ้งเรื่องร้องเรียนของทางศูนย์ดารงธรรม

4. Story board จานวนไม่น้อยกว่า 20 ช่อง/1 ตอน/1 เรื่อง
5. Animation Movie Trailer ความยาวไม่น้อยกว่า 1 นาที (Animatic) หากสามารถทาได้
6. เอกสารรับรองจากบริษัทต้นสังกัด (ในกรณีเป็นพนักงานบริษัท)
7. Business Model (ยกเว้นประเภทนักเรียน นักศึกษา)

รายละเอียดเพิ่มเติม thailanddigi.com

Views: 177

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service