โครงการ จินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช เป็นโครงการที่กระตุ้นให้เยาวชน ไทยร่วมรณรงค์ ส่งเสริม และสืบสานวรรณกรรมไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านบทประพันธ์ ในรูปแบบของร้อยแก้ว ร้อยกรอง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ผนวกกับจินตนาการของตนเอง หลังจากได้อ่านบทวรรณกรรมนั้นๆ ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาดตามจินตนาการของตนเอง ซึ่ง ตลอด ๔ ปีที่ผ่านมามีเยาวชนส่งผลงานเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๗,๑๐๖ ผลงาน และในปีที่ ๕ นี้ เป็นปีมหามงคลแห่งการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ซึ่งตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์พระองค์ท่านทรงเป็นผู้ให้ที่ แท้จริง ทรงทุ่มเทพระวรกายในการทรงงานหนัก เพื่อพสกนิกรของพระองค์ ดังจะเห็นได้จาก โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ เพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขใต้ร่ม พระบารมี ดังนั้น เพื่อเป็นการร่วมเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน ระลึกถึงพระราชกรณียกิจ และ พระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ ทางอินทัชจึงได้จัดทำโครงการต่อเนื่อง โดยส่งเสริมให้เยาวชน อ่านหนังสือพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วรรณกรรมในชั้นเรียน หรือ วรรณกรรมไทยอื่นๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ทั้งในมุมของผู้ให้และผู้รับ แล้วถ่ายทอดสิ่งที่อ่าน เป็นภาพวาดในหัวข้อ “ ความสุขจากการให้ ” เพราะนอกจากความรู้ที่เยาวชนได้รับจากการ อ่านวรรณกรรมไทยแล้ว ยังสามารถนำข้อคิดที่ได้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้อีกด้วย
๑. เชิดชูและสืบสานความเป็นไทย มรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน ศิลปะและวรรณกรรมที่กำลังจะถูกลืมและเลือนหายไปจากสังคมไทย
๒. กระตุ้นให้เยาวชนไทยรักการอ่าน เข้าใจภาษาไทย ชื่นชมและภูมิใจในภาษาไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาวรรณกรรม เช่น ลักษณะเฉพาะของตัวละครนั้นๆ การแสดง อารมณ์ และท่าทางของตัวละคร
๓. กระตุ้นให้เยาวชนใช้จินตนาการเพื่อช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยถ่ายทอด วรรณกรรมเหล่านั้นออกมาเป็นผลงานทางศิลปะตามความเข้าใจของตนเอง
๔. ส่งเสริมให้เยาวชนเป็นคนมีจิตใจดี รู้จักเสียสละ มีน้ำใจ เพราะศิลปะทำให้คนอ่อนโยน อ่อนน้อม และโอบอ้อมอารี
๕. ส่งเสริมและสนับสนุนให้วรรณกรรมเหล่านั้นคงอยู่ โดยสามารถนำมาประยุกต์เข้ากับการ ดำเนินชีวิตของคนและสังคมปัจจุบันได้
๖. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้วรรณกรรมไทยเป็นสื่อในการสอนคุณธรรมและจริยธรรม ให้กับเยาวชน
๗. ปลูกฝังค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับ “การให้” ให้กับเยาวชน
เยาวชนไทยทั่วประเทศในระดับประถม, มัธยม, อุดมศึกษา คือ
- เยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ๔-๖
- เยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น-ตอนปลาย หรือเทียบเท่า
- เยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา
๑. เยาวชนที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้
๑.๑ อ่านและคัดเลือกวรรณกรรมไทยที่ตนเองชื่นชอบในบทหรือตอนที่สื่อให้เห็นถึง ความสุข ความปิติที่เกิดจากการให้ หรือการรับ แล้วใช้จินตนาการถ่ายทอดสิ่ง ที่อ่านเป็นภาพวาดให้ตรงตามบทวรรณกรรมที่เลือกมา (ห้ามคัดลอกภาพจาก ต้นฉบับ)
๑.๒ ผลงานต้องสื่อให้เห็นถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย และองค์ประกอบอื่นๆ ต้อง สอดคล้องกับองค์ประกอบตามบทวรรณกรรมนั้น โดยอาจวาดลงบนกระดาษ ผ้า หรือวัสดุอื่นๆ ทั้งนี้อาจใช้เทคนิคลายเส้น หรือเทคนิคสีที่ตนเองถนัด อาทิ ภาพสีน้ำ ภาพสีน้ำมัน สีโปสเตอร์ สีฝุ่น สีไม้ สีเทียน สีชอล์ก เป็นต้น (ยกเว้นคอมพิวเตอร์กราฟิก)
๑.๓ ขนาดผลงานที่ส่งเข้าประกวด สำหรับระดับประถมศึกษาตอนปลาย ถึงระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า ๑๒ x ๑๖ นิ้ว และไม่เกิน ๑๖ x ๒๔ นิ้ว ส่วน ระดับอุดมศึกษา ขนาดผลงาน ๑๖.๕ x ๒๓.๔ นิ้ว (เอ ๒) ขึ้นไป
๑.๔ เขียน ชื่อ-สกุล อายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ระดับชั้น สถาบันการศึกษา พร้อมชื่อผลงาน ชื่อวรรณกรรม ลงนามรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมทั้ง แนบ หนังสือรับรองผลงาน และประทับตราโรงเรียน จากสถานศึกษาที่กำลัง ศึกษาอยู่ในปัจจุบัน (ไม่ใช่ชมรม สถาบัน กลุ่มที่สอนศิลปะ) ตามแบบฟอร์มที่ ปรากฏใน www.intouchcompany.com (ยกเว้นระดับอุดมศึกษา)
๑.๕ สิ่งที่ต้องส่งมาด้วย ได้แก่
บทวรรณกรรมที่ตนเองเลือก โดยคัดลอกเฉพาะตอนที่นำมาวาดเป็นภาพ ความยาวไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ เอ ๔
แง่คิด หรือคติสอนใจที่ได้จากบทวรรณกรรมที่ตรงตามหัวข้อ “ความสุข จากการให้” ความยาวไม่เกิน ๕ บรรทัด
เหตุผลที่ชอบวรรณกรรมนั้นๆ ความยาวไม่น้อยกว่า ๑๐ บรรทัด และไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ เอ ๔
๑.๖ ผู้จัดการประกวดงดพิจารณาผลงานที่มีข้อมูลไม่ครบตามข้อกำหนด
๑.๗ วรรณกรรมต้นแบบสามารถเลือกได้จากแหล่งต่างๆ ดังนี้
หนังสือพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หนังสือที่อยู่ในหลักสูตรการเรียนในแต่ละระดับชั้น
วรรณกรรมไทยอื่นๆ
๑.๘ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยผ่านการประกวดที่ใดมาก่อน
๑.๙ ผู้ส่งผลงานสามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ไม่จำกัดจำนวนภาพ แต่จะได้รับ รางวัลสูงสุดเพียงรางวัลเดียวเท่านั้น
๒. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้จัดการประกวด
การตัดสินพิจารณาจาก
- ภาพวาดต้องสื่อความหมายหรือแสดงออกตรงตามหัวข้อ “ความสุขจากการให้” ได้อย่าง ชัดเจน
- ภาพวาดสื่อถึงความเป็นไทยและถ่ายทอดถึงบุคลิกลักษณะของตัวละคร และองค์ประกอบ ได้ถูกต้อง สอดคล้องกับบทวรรณกรรมที่เลือกไว้ โดยพิจารณาประกอบกับเหตุผลที่แนบมา
- ภาพวาดสะท้อนถึงจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าประกวดได้อย่างชัดเจน
- การใช้เทคนิคลายเส้น หรือเทคนิคการใช้สีต่างๆ มีความสวยงาม โดดเด่น
- รางวัลพิเศษสำหรับเยาวชนพิจารณาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการ
- รางวัลพิเศษสำหรับสถาบันการศึกษาที่สนับสนุนให้เยาวชนส่งผลงานเข้าประกวดและ ได้รับรางวัล จะต้องเป็นสถาบันการศึกษาที่เยาวชนกำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบันในระดับ ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา (แล้วแต่กรณี) (ไม่ใช่ชมรม สถาบัน กลุ่มที่สอนศิลปะ) ซึ่งรางวัลที่สถาบันการศึกษาได้รับจะต้องใช้เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปะเท่านั้น
- อื่นๆ (ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด
หมายเหตุ
: บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์การให้รางวัลขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการ
: บริษัทฯ ไม่รับผิดชอบกรณีภาพที่จัดส่งมาชำรุดหรือเสียหาย ก่อนถึงการพิจารณา
ตัดสินของคณะกรรมการ
: ผลงานที่ได้รับรางวัลถือเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฯ
: ผู้ส่งผลงานมีสิทธิ์รับรางวัลสูงสุดเพียงรางวัลเดียวเท่านั้น
การรับผลงานคืน
ผลงานที่ไม่ได้รับรางวัลหรือคงค้าง เจ้าของผลงานสามารถติดต่อรับผลงานคืนได้ด้วย ตนเอง ภายในวันที่ ๓๐ ธ.ค.๒๕๕๔ หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวถือว่าสละสิทธิ์ และ ยินยอมให้บริษัทฯ ดำเนินการใดๆ กับผลงานนั้นได้ตามดุลยพินิจของบริษัทฯ
Tags:
© 2009-2025 PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.
Powered by