THE FUNDAMENTAL OF EDITING เวิร์ดชอปการคัดเลือกภาพระยะสั้น กับ สุเทพ กฤษณาวารินทร์


คอร์สอบรม THE FUNDAMENTAL OF EDITING
With Suthep Kritsanavarin & CameraEyes School
เวิร์ดชอปการคัดเลือกภาพระยะสั้น กับ สุเทพ กฤษณาวารินทร์


หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเทคโนโลยี่การถ่ายภาพได้ก้าวหน้าไปมาก โลกของดิจิตอลได้เข้ามาแทนที่ฟิลม์อย่างเต็มตัว และด้วยเหตุผลที่ดิจิตอลใช้งานได้ง่าย สามารถเห็นภาพได้ทันที สามารถเลือกพิมพ์ภาพเฉพาะที่ต้องการได้ หรือสามารถแชร์ภาพได้อย่างง่ายดายตามเว็ปไซด์ต่างๆ ทำให้ผู้คนสนใจการถ่ายภาพมากขึ้น ตั้งแต่การใช้มือถือ จนถึงกล้องมืออาชีพก็มีคนจับจองกันมากขึ้น เพราะความสะดวกสบายอย่างที่กล่าวมา
อย่างไรก็ตามถึงแม้จะเป็นโลกดิจิตอลเหตุผล และหลักการถ่ายภาพก็ยังเหมือนเดิม คือเราถ่ายเพื่อบันทึกความทรงจำ หลายครั้งก็จะพบได้ว่าคนส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาในการเข้าใจสื่อถึงสิ่งที่ตัวเองอยากถ่ายทอดให้คนอื่นได้รับรู้ แม้แต่มืออาชีพก็ยังประสบปัญหานี้ เริ่มตั้งแต่จะถ่ายภาพอะไร สื่อให้คนรู้ถึงสิ่งที่เราต้องการบอกอย่างไร ไปจนถึงการคัดเลือกภาพที่ถ่ายมาแล้วจำนวนหนึ่งไปลงบนหน้าบล๊อกของตนเอง ตามเว็ปไซด์ต่างๆ ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร ๆลๆ
สมัยก่อนการคัดเลือกภาพเหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของ บรรณาธิการฝ่ายภาพผู้ได้ร่ำเรียนมาโดยตรง หรือมีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน แต่เมื่อปัจจุบันโลกของการสื่อสารด้วยภาพไม่ได้จำกัดอยู่บนสื่อสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิมอีกต่อไป ทุกคนสามารถเล่าเรื่องของภาพถ่ายด้วยตัวเองให้กับคนจำนวนมากได้รู้ผ่านทางโลกออนไลน์ มันจึงเป็นความจำเป็นที่คนเหล่านี้ควรจะได้รู้ถึงหลักการคัดภาพเพื่อสื่อสารอย่างถูกต้องไม่มากก็น้อย ซึ่งในเวิร์ดชอปนี้จะมุ่งให้ความรู้ไปใช้ปฏิบัติได้จริงในระยะเวลาอันสั้น

สิ่งที่จะสอน
- นำภาพที่ผู้ร่วมอบรมได้ถ่ายมาแล้วมาเรียงร้อยให้เป็นเรื่องราวตามที่ต้องการเพื่อเผยแพร่ต่อไป โดยภาพชุดนั้นไม่จำกัดว่าจะเป็นภาพอะไร เรื่องอะไร
- จำนวนภาพที่จะคัดมีไม่ต่ำกว่า 50 ภาพ แต่ไม่เกิน 100 ภาพ
- สอนการให้คะแนนภาพเป็นดาวในโปรแกรม Lightroom หรือ Adobe Bridge รวมทั้งการให้เครื่องหมายสีเพื่อคัดไปใช้ต่อไป
- ผู้เข้าอบรมจะได้เข้าใจว่าทำไมภาพนี้ถึงดีกว่าภาพนั้น และทำไมบางครั้งภาพที่ดีกว่ากลับไม่ได้ใช้
- ภาพที่เลือกขั้นสุดท้ายจะมีไม่เกิน 12 ภาพ
- นำภาพที่ได้มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวคล้ายภาพยนตร์สั้น
- สอนการเขียนคำอธิบายภาพอย่างสั้น เพื่อมาเรียงเป็นบทความสั้น
- นำทั้งภาพและบทความ มารวบรวมเพื่อทำเป็น slideshow อย่างง่ายๆ

โปรแกรม
เรียนสองวัน วันที่ 26-27 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ตั้งแต่ 9.00 – 16.00 น.


สิ่งที่ต้องเตรียม

- คอมพิวเตอร์Labtopของตนเอง พร้อมโปรแกรม Adobe Lightroom หรือ Adobe Bridge
- ไฟล์ภาพที่จะมาจัดเป็นชุด
- เพลงประกอบ Slideshow

ค่าลงทะเบียน 3,000 บาท
รวมค่าอาหารกลางวัน และคอฟฟี่เบรค ทั้ง 2 วัน

รับไม่เกิน 40 คน


สถานที่
Foto Info Club 39/84 หมู่ 14 ถนน.ลาดพร้าว-วังหิน แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ

ท่านที่สนใจสมัครเข้าอบรม


ผู้ที่สมัครต้องโอนเงินเต็มจำนวน 3000 บาท มาที่
ชื่อบัญชี นาย สมชาย สุริยาสถาพร
ธนาคาร กรุงเทพ บัญชีออมทรัพย์
เลขที่บัญชี 060-0-089858

พร้อมถ่ายรูปสลิปใบโอน
ส่งมาที่อีเมล์ : somchai@cameraeyes.net
หรือโพสต์ไว้ในกระทู้ด้านล่างนี้

มีปัญหา โทร.สายด่วน 083-2952531

หมายเหตุ : รายละเอียดต่างๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
เปิดรับขั้นต่ำ 30 คนขึ้นไป
โดยจะนับจำนวนจากคนที่โอนเงินคนแรกเป็นต้นไป

..............................................................



สุเทพ กฤษณาวารินทร์ ช่างภาพสารคดีชั้นนำของโลก ผู้ได้รับรางวัลรางวัล Days Japan International Photojournalism Award
และ National Press Photographers Association (NPPA) ของอเมริกา ประจำปี 2008

Biography

Suthep Kritsanavarin is one of Thailand’s leading photojournalists. His award-winning work has been published internationally in: the New York Times, International Herald Tribune, National Geographic Thailand, Geographical, Aera and Japan Times. Suthep has covered environmental, social and humanitarian issues in Southeast Asia for nearly two decades. Suthep’s work is based on his firm belief that a photojournalist must act as a conscientious observer of society and culture. He has to contribute to social change on a local and global level. He achieves these goals by working on a project over long durations to build deep understanding on the topic and to establish trust among the communities where he works. Suthep’s powerful images create in-depth documentary essays shot over protracted periods of time on his own initiative and funding. Recently, Suthep traveled to Burma within a week after Cyclone Nargis that devastated the country. Suthep was able to visit distant areas devastated by the cyclone and chronicled the suffering of people caused by the military government’s actions or lack thereof. His images bore witness to the destruction, torment, and despair not only caused by the cyclone but also exacerbated by the government. In 2008 Suthep received the Days Japan International Photojournalism Award and was selected for the Best of Photojournalism award from the US-based National Press Photographers Association. His Mekong photo documentary was awarded a grant by the Blue Earth Alliance. After the 2004 Asian Tsunami, Suthep co-founded and worked as the Photo Director of InSIGHT Out! Photography Project. The project teaches children to document their lives through photography in tsunami-affected areas in Banda Aceh, Indonesia and Phang Nga Thailand. He is only the Asian Tutor for young Asian Photographers at the Angkor Photography Festival.
Suthep has exhibited his documentary photography in Thailand, Cambodia, China, Japan, Germany and France including; Siphadon Mekong Fishing Under Threat, Kuay and Elephants: Struggling for Survival, Life in Xinjiang, China and Hunters and Monk in Thailand. His photo documentary about the plight of Thai elephants drew attention to their decline from a national symbol to surviving as beggars on the streets of Bangkok. His photo essay about the Mekong, shot over a three-year period is a vital documentation drawing attention to the demise of traditional fishing communities and wildlife damaged by hydropower and mega-structure projects. Suthep’s images have been used by international and regional organizations for campaigns and education. The World Wildlife Fund, the International Rivers Network and Terra are using his photos from the Mekong project in their campaigns about the impact of the construction of local dams in Laos and Cambodia.

ประวัติวิทยากรโดยย่อ / biography

สุเทพ กฤษณาวารินทร์ เป็นหนึ่งในช่างภาพสารคดีชั้นแนวหน้าของเมืองไทย งานของเขาได้รับการตีพิมพ์ไปทั่วโลก อาทิ the New York Times, International Herald Tribune, National Geographic Thailand, Geographical, Aera, Japan Times, Geo และ National Geographic Adventure งานถ่ายภาพของสุเทพยังครอบคลุมไปถึงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และสังคม เป็นเวลาเกือบ 20 ปี

งานของสุเทพมีพื้นฐานมาจากความเชื่อมั่นที่ว่า ช่างภาพสารคดีที่ดีต้องแสดงออกมาว่า เป็นผู้สังเกตที่รู้ผิดรู้ชอบต่อสังคม เขาส่งเรื่องออกตีพิมพ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก เขาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายเหล่านี้ โดยการทำงานที่ใช้เวลายาวนานเพื่อที่จะสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อเรื่องที่ทำ และสร้างความเชื่อใจกับชุมชนที่เขาไปทำงานอยู่ ภาพที่ทรงพลังของเขาได้สร้างสรรค์การเรียงร้อยทางสารคดีเชิงลึก ซึ่งกินเวลาอันยืดเยื้อในช่วงการเริ่มต้นและการระดมทุนของเขา

เมื่อไม่นานมานี้ สุเทพได้เดินทางไปพม่า ภายหลังหนึ่งสัปดาห์หลังจากเกิดพายุนากีสที่ทำลายชีวิตคนไปเป็นจำนวนมาก เขาได้บันทึกเหตุการณ์ความทุกข์ทรมานของประชาชน ที่มีสาเหตุมาจากการปฏิบัติของรัฐบาลทหาร และการขาดแคลนอาหาร ภาพถ่ายของเขาเปิดประตูสู่ผู้ชมให้เห็นถึงการทำลายล้าง ความทุกข์ทรมาน ความสิ้นหวังที่ไม่ได้เกิดจากแค่พายุแต่ยังเกิดจากการกระทำที่ไร้เมตตาธรรมจากรัฐบาล

ภาพถ่ายเชิงสารคดีของเขาเกี่ยวกับสถานการณ์อันเลวร้ายของช้างไทย ที่ถูกดึงลงสู่ภาวะตกต่ำ จากสัญลักษณ์ของประเทศสู่การเป็นขอทานตามถนนในกรุงเทพ การเรียงร้อยภาพถ่ายเกี่ยวกับแม่โขงของเขา ที่ใช้เวลาถึงสามปีเป็นความตั้งใจที่จะดึงเอาสารคดีที่มีชีวิต เพื่อที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนหาปลาที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน และชีวิตสัตว์ป่าที่อาจสูญพันธ์ โดยโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่

ปี 2008 สุเทพได้รับรางวัล Days Japan International Photojournalism Award และ National Press Photographers Association (NPPA) ของอเมริกา ภาพสารคดีแม่โขงของเขายังได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Blue Earth Alliance

หลังจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2004 เขาได้ร่วมงานทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการภาพของโครงการ InSIGHT Out โครงการนี้ได้สอนเด็กๆ ให้ถ่ายทอดชีวิตของพวกเขาผ่านทางภาพถ่าย ในพื้นที่ที่โดนผลกระทบจากสึนามิ เช่น ที่ บันดาห์ อาเจะ ประเทศอินโนนีเซีย และ พังงา ประเทศไทย
เขายังเป็นผู้ฝีกสอนชาวเอเชียเพียงคนเดียว ที่สอนช่างภาพเอเชียรุ่นใหม่ใน Angkor Photography Festival

สุเทพได้จัดแสดงงานนิทรรศการภาพถ่ายเชิงสารคดีในประเทศไทย กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน และฝรั่งเศส
ประกอบด้วยภาพ Siphadon Mekong Fishing Under Threat, Kuay and Elephants: Struggling for Survival, Life in Xinjiang, China and Hunters and Monk

ภาพถ่ายของสุเทพยังได้ถูกใช้ตามองค์กรท้องถิ่น และนานาชาติเกี่ยวกับการรณรงค์และการศึกษาต่างๆเช่น กองทุนสัตว์่ป่าโลก, the International Rivers Network และ มูลนิธิฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ใช้ภาพถ่ายของเขาจากงานโครงการแม่โขงในการรณรงค์เกี่ยวกับผลกระทบของการสร้างเขื่อนในประเทศลาวและกัมพูชา



ตัวอย่างผลงานภาพถ่าย :

: : Siphandon : : http://www.cameraeyes.net/index.php?option=com_smf&Itemid=27&am...

: : Cyclone Nargis : : http://www.cameraeyes.net/index.php?option=com_smf&Itemid=27&am...

: : ช้างไทย : : http://www.cameraeyes.net/index.php?option=com_smf&Itemid=27&am...



More Info: http://www.cameraeyes.net/forum/index.php?topic=2918.0

Views: 434

Replies to This Discussion

3000  อิอิ

การพัฒนาฝีมือในการท่านภาพ ต้องเข้ารับการอบรมและฝึกฝีมือในการถ่ายรูปเป็นหน้าที่สำหรับผู้ที่อาจถ่ายอย่างมืออาชีพ และการที่ได้รับการอบรมกับมืออาชีพ ช่างถ่ายภาพมืออาชีพ ทำให้เรามีทักษะและนำมาพัฒนาตนเอง ในอนาคต

กรรม..เข้ามาดูช้าไป ตอบคำถามไม่ทัน..ทำไงจะได้เรียน...สนใจๆ

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service