โครงการบ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่ รับสมัครถึงวันที่ 15 มกราคม 2554 นี้


ด้วยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กำหนดจัดโครงการบ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนให้นักเขียนรุ่นใหม่มีโอกาสแสดงผลงานในวงการวรรณศิลป์ไทย และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนักเขียนรุ่นเก่าและนักเขียนรุ่นใหม่ให้เกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างยั่งยืน จึงเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ มีรายละเอียด ดังนี้
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. มีความมุ่งมั่นอยากเป็นนักเขียน
2. อายุระหว่าง 18 - 33 ปี
3. เคยมีผลงานเผยแพร่โดยการรวมเล่มหรือตีพิมพ์ในนิตยสาร วารสาร หนังสืออื่นๆ หรือเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตมาก่อน
4. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ครบตามกำหนดเวลา
5. เมื่อสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถส่งผลงานเขียนตามประเภทที่สมัครได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ได้แก่ นวนิยาย 1 เรื่อง (ขนาดสั้น 12 บท), สารคดี 1 เรื่อง ความยาวประมาณ 100 หน้า, กวีนิพนธ์ 40 บท และ/หรือ รวมเรื่องสั้น 9 - 10 เรื่อง

ลักษณะโครงการและเงื่อนไข
1. ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับโอกาสในการรับคำแนะนำและวิจารณ์งานเขียนตามประเภท ที่สมัครจากนักเขียนพี่เลี้ยง (นักเขียนพี่เลี้ยง 1 คน ต่อนักเขียนหน้าใหม่ 1 – 2 คน) โดยผู้เข้าร่วมโครงการโพสต์ผลงานเขียนลงในเว็บไซต์ของโครงการฯ และนักเขียนพี่เลี้ยงเข้าไปวิจารณ์และเสนอแนะ ตลอดจนผู้อ่านสามารถร่วมวิจารณ์ผลงาน
2. ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ จำนวน 4 ครั้ง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเขียน เรียนรู้เทคนิคการเขียน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
3. ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับโอกาสในการเสนอผลงานเขียนให้สำนักพิมพ์พิจารณาตีพิมพ์เป็นเล่ม ทั้งนี้ โดยขึ้นอยู่กับคุณภาพผลงานและการพิจารณาของสำนักพิมพ์ที่เข้าร่วมโครงการ และหากผลงานที่สร้างสรรค์ในระหว่างเข้าร่วมโครงการได้รับการตีพิมพ์ ต้องอนุญาตให้ผู้จัดโครงการสามารถนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้

ขั้นตอนและกำหนดการโครงการ
1. วันที่ 25 มกราคม 2554 ประกาศรายชื่อผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก
2. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 สัมภาษณ์ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก
3. วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ
4. เดือนกุมภาพันธ์ – ต้นเดือนกันยายน 2554 ร่วมโครงการบ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่

รายชื่อนักเขียนพี่เลี้ยง
1. อัศศิริ ธรรมโชติ (ศิลปินแห่งชาติ ปี 2543 และนักเขียนรางวัลซีไรท์ปี พ.ศ.2524 จากหนังสือรวมเรื่องสั้น “ขุนทอง เจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง”)
2. ประภัสสร เสวิกุล (อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย นักเขียนเจ้าของผลงาน อาทิ ลอดลายมังกร เวลาในขวดแก้ว
ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน ชี้ค ฯลฯ)
3. ชมัยภร แสงกระจ่าง (นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ประจำปี 2553 จากกระทรวงวัฒนธรรม มีผลงาน อาทิ บ้านหนังสือในหัวใจ จดหมายถึงดวงดาว คุณปู่แว่นตาโต)
4. จำลอง ฝั่งชลจิตร (นักเขียนรางวัลรพีพร ปี 2553 มีผลงาน อาทิ รวมเรื่องสั้น “ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไป” “น้ำใจยังหาได้” “เมืองน่าอยู่” วรรณกรรมเยาวชน “ขนำน้อยกลางทุ่งนา”
5. กนกวลี พจนปกรณ์ (นักเขียนเจ้าของผลงาน อาทิ กาษานาคา ยิ่งฟ้ามหานที ซอย 3 สยามสแควร์ หลังเงา ฯลฯ)
6. ศักดิ์สิริ มีสมสืบ (ศิลปินศิลปาธร ปี 2548 กวีซีไรต์ ปี 2535 จาก “มือนั้นสีขาว”)
7. อรสม สุทธิสาคร (ศิลปินศิลปาธร ปี 2552 มีผลงานสารคดี อาทิ เด็กพันธุ์ใหม่...วัยเอ็กซ์ นักโทษประหารหญิง)
8. ประชาคม ลุนาชัย (นักเขียนเจ้าของผลงาน อาทิ “เขียนฝันด้วยชีวิต” “ลูกแก้วสำรอง” “นาฏกรรมแห่งชีวิต” “เมืองใต้อุโมงค์”)
9. โชคชัย บัณฑิต (กวีซีไรต์ ปี 2544 จากเรื่อง “บ้านเก่า” และได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 เล่ม หนังสือแนะนำสำหรับเยาวชนของ สกว.)
10. เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ (กวีซีไรต์ ปี 2547 จากรวมบทกวี “แม่น้ำรำลึก”)
11. อนุสรณ์ ติปยานนท์ (ผลงานรวมเล่ม “เคหวัตถุ” “ลอนดอนกับความลับในรอยจูบ” เคยเป็นหนึ่งในคอลัมนิสต์ของ Yes! magazine)
12. วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง (ผลงาน “เต้นรำในความมืด” ปัจจุบัน ประจำกองบรรณาธิการนิตยสาร สารคดี)
13. อุทิศ เหมะมูล (นักเขียนซีไรต์ ปี 2552 จากนวนิยายเรื่อง “ลับแลแก่งคอย”)
14. วัชระ สัจจะสารสิน (นักเขียนซีไรต์ ปี 2551 จากรวมเรื่องสั้น “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง”)

การรับสมัคร
กำหนดให้ผู้สมัครส่งใบสมัครและข้อเขียนที่คิดว่าดีที่สุดจำนวน 1 เรื่อง ตรงกับประเภทงานเขียนที่สมัคร: นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี กวีนิพนธ์ (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลงานใหม่) ใช้ตัวพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 2 หน้า กระดาษ A4 เพื่อ “คัดเลือก” ผู้เข้าอบรม หมดเขตรับสมัคร วันที่ 15 มกราคม 2554
ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดและ download ใบสมัครได้ที่ www.ocac.go.th 
โดยส่งใบสมัครได้ทางไปรษณีย์มาที่:

 
นางสาวแสงทิวา นราพิชญ์
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
ชั้น 17 กระทรวงวัฒนธรรม 
เลขที่ 666 อาคาร ธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ แขวงบางบำหรุ 
เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม 
โทร. (02) 422 8827

Views: 87

Reply to This

Replies to This Discussion

MOVE

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service