การแสดงลิเกร่วมสมัย: ยักษ์ตัวแดง Red Demon (AKAONI)

Event Details

การแสดงลิเกร่วมสมัย: ยักษ์ตัวแดง Red Demon (AKAONI)

Time: November 2, 2009 from 6pm to 7pm
Location: Jim Thomson Art Center, Soi Kasemsan 2
Phone: 087-221-3111
Event Type: art, performance
Latest Activity: Nov 2, 2009

Export to Outlook or iCal (.ics)

Event Description

จากละคร “Red Demon (AKAONI-Hideki Noda) สู่ลิเกร่วมสมัย
บัตรราคา 500, 300บาท นักศึกษา ผู้สูงวัย 60 ปีขึ้นไป 200บาท
เวลา 1 – 8 พ.ย. 52 | 14:00 น. วันหยุด | 19:30 น. วันธรรมดา
สถานที่ จิม ทอมสัน อาร์ต เซ็นเตอร์, ซอยเกษมสันต์ 2
จองตั๋วโทร. 087-221-3111

Likay performance entitled the “Red Demon, AKAONI”
Ticket: 500 and 300 baht / 200 baht for seniors over 60 and students
Jim Thomson Art Center, Soi Kasemsan 2
Reservation 087-221-3111


ลิเกร่วมสมัย เรื่อง “ยักษ์ตัวแดง” AKAONI (Red Demon) in Thai Likay style กำกับการแสดงโดย ประดิษฐ ประสาททอง ศิลปินศิลปาธร ปี 2547 ด้วยความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) เครือข่ายละครกรุงเทพ Tokyo Metropolitan Art Space ร่วมกับหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ซึ่งการแสดงนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลละครกรุงเทพ 2552 คุณประดิษฐได้รับเชิญจาก ฮิเดกิ โนดะ (Hideki Noda) ผู้กำกับการแสดงและนักเขียนบทชาวญี่ปุ่น ผู้เลื่องชื่อทางด้านการละครไปทั่วโลก ให้นำบทละครเรื่องนี้มาดัดแปลงในทางลิเกมะขามป้อม และนำไปแสดงที่ประเทศญี่ปุ่น


“ยักษ์ตัวแดง” เป็นลิเกร่วมสมัย ที่ถือเป็นอีกก้าวของศิลปะการแสดงแบบไทยๆที่ผู้กำกับชาวญี่ปุ่นชื่อดังระดับ โลก ฮิเดกิ โนดะ (Hideki Noda) ได้สนใจเชิญให้ประดิษฐ ประสาททอง ศิลปินศิลปาธรสาขาการแสดงคนแรกในปี 2547 (รางวัลมอบให้ศิลปินร่วมสมัยจากกระทรวงวัฒนธรรม) เพลงที่ใช้ร้องในลิเกเรื่องนี้ ล้วนเป็นเพลงไทยดั้งเดิมที่หาฟังยาก แต่ได้นำมาเรียบเรียงด้วยภาษากลอนลิเกที่สวยงาม น่าฟัง ขับให้ลิเกเรื่องนี้ มีความพร้อมสมบูรณ์และไม่ควรพลาด

เรื่องย่อ ลิเก ยักษ์ตัวแดง
จาก Akaoni (Red Demon) ถึง ยักษ์ตัวแดง ในรูปแบบการแสดงลิเกของไทย รูปแบบการแสดงนั้นได้มีการปรับรูปแบบการนำเสนอจากละครร่วมสมัยสู่แบบลิเกดั้งเดิมของไทยโดยศิลปินศิลปาธร ประดิษฐ ประสาททอง

ณ หมู่บ้านบนเกาะแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศไทย ชาวบ้านช่วยชีวิตขิณีและขมูขีขึ้นมาจากทะเล ชาวบ้านเอาหูฉลามมาให้ขิณีกินเพื่อบำรุงร่างกายให้ฟื้นคืนแข็งแรง แต่แล้วขิณีก็เกิดคำถาม “นี่ไม่ใช่หูฉลาม” แต่ชาวบ้านก็ตอบย้ำว่ามันคือหูฉลาม แต่เธอว่ารสชาติมันไม่เหมือนกับที่เธอกินทุกวันเมื่อตอนที่ติดอยู่กลางทะเล พูดเสร็จ …เธอก็ตระหนักได้ถึงความจริงอะไรบางอย่าง แล้วเธอก็วิ่งไปกระโดดหน้าผาตาย

ขมูขีเล่าเรื่องราวย้อนกลับไปว่า ครั้งหนึ่งขิณี เขาและเพื่อนอีกคนที่ชื่อปักหลั่น ได้รู้จักกับยักษ์ตัวแดง และเป็นเพื่อนรักกัน แต่ชาวบ้านไม่มีใครยอมรับและต่างพากันหาทางกำจัดยักษ์ตัวแดงออกไปจากหมู่ บ้าน ในที่สุดทั้งสี่คนก็โดนเนรเทศออกจากหมู่บ้านให้นั่งเรือออกไปจากเกาะนั้น ในที่สุดเวลาผ่านไป ขิณีหมดแรงจนสลบเพราะไม่มีน้ำไม่มีอาหารกินและต่อมายักษ์ตัวแดงจากไป เหลือเพียงขมูขี ปักหลั่นและเขาจึงจำต้องหาทางอยู่รอด ด้วยการกินเนื้อเพื่อนของเขา “ยักษ์ตัวแดง”ที่ตายไปก่อนและโกหกขิณีว่าเนื้อที่เธอกินนั้นคือหูฉลาม…

สิ่งที่น่าสนใจในเรื่องราวนี้ก็คือมีตัวละครและการกระทำหลายอย่าง ที่จะได้นำเสนออย่างแยบยลในเชิงสัญลักษณ์ ชวนให้ขบคิดให้คติกระตุ้นเตือนใจผู้ชม ซึ่งก่อให้เกิดคุณค่าในความเป็นมนุษยชาติต่อไป

การแสดง ลิเกร่วมสมัยเรื่อง ยักษ์ตัวแดง ในครั้งนี้ได้รับเชิญไปแสดงในเทศกาล Mekong Festival ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 18 – 25 พฤศจิกายน 2552

นอกจากลิเกร่วมสมัยเรื่องนี้ ก็ยังมีละครเรื่อง สาวชาวนา กำกับการแสดงโดย นิกร แซ่ตั้ง โดยใช้นักแสดงมืออาชีพจากเครือข่ายละครกรุงเทพมาร่วมกันแสดงฝีมือ ให้ประจักษ์แก่สายตาผู้ชมญี่ปุ่นและคนไทย โดยทั้งเรื่องยักษ์ตัวแดงและสาวชาวนานั้นเป็นบทประพันธ์ดั้งเดิมของ ฮิเดกิ โนดะ ทั้งสิ้น

ข้อมูลเพิ่มเติม: คุณสิริรัตน์ รัตนขจรสกุล บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด โทร.0-2762-2562

Comment Wall

Comment

RSVP for การแสดงลิเกร่วมสมัย: ยักษ์ตัวแดง Red Demon (AKAONI) to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

Comment by PORTFOLIOS*NET on November 2, 2009 at 9:06pm
The Jim Thompson Art Center is proud to present a Likay performance entitled the Red Demon, AKAONI. The Thai folk dance-drama is directed by Pradit Prasartthong, Silapathon who is a contemporary performing arts award winner (2004). This project is the result of a collaborative effort between Makhampom Foundation, Bangkok Theatre Network, Tokyo Metropolitan Art Space and the Jim Thompson Art Center. The performance is part of the Bangkok Theatre Festival 2009. Pradit was asked by Hideki Noda, an internationally renowned Japanese director, to adapt his play script for the Makhampom Foundation. This unique Likay performance was presented in Japan as part of the Mekong Festival 2009 Project in celebration of the Mekong-Japan Exchange Year 2009.

The performance will be held from Sunday November 1st until Sunday November 8, 2009 at 7.30 p.m. on weekdays and 2 p.m. on weekends at the Jim Thomson Art Center, Soi Kasemsan 2, opposite the National Stadium, Pathumwan (diagonally across from MBK to the stadium).

For more information, go to the web site: www.makhampom.net
For more details, please contact 087- 504-0891

Highlights:
This performance is a contemporary Likay (Thai folk dance-drama), an innovative adaptation of Thai stage performances. The work was created at the suggestion of Hideki Noda, an internationally famous Japanese director who asked Pradit Prasartthong, the first Silapathon award winner in performing arts (2004) from the Ministry of Culture, to create the work. The Thai artist was asked to create a Likay version of Red Demon by adapting Hideki’s play script for the Mekong Festival 2009 in Tokyo. Pradit is the first to present an entirely new theme through Likay. His work is outstanding and has been widely acclaimed among viewers and peers.

Summary of Red Demon
In the Thai version the character Akaoni (Red Demon) becomes Yuk Tua Dang to create this special Thai Likay. The style of the performance has been transformed from traditional Thai Likay to a contemporary version by a Silapathon award winner, Pradit Prasartthong.

According to the plot, villagers on an island in the south of Thailand saved the lives of two persons from the sea, Kini and Kmuki. The villagers fed Kini with shark-fin soup to help with her recovery. The soup seemed strange to Kini and she asked if it was really shark-fin soup. The villagers confirmed it was, but she could tell from the taste of the soup that something was wrong. The soup reminded her of her ordeal in the sea. Suddenly she realized what had really happened, and she ran away to jump off a cliff to her death.

Originally Kmuki, Kini, and another friend — Puglann had met Red Demon and had become very good friends. The villagers refused to accept this and tried to get rid of Red Demon. All four of friends finally left the village by boat. Eventually Kini lost consciousness due to lack of food and water. Then the Red Demon disappeared. In fact, Kmuki and Puglann had eaten the meat of their friend who had disappeared to survive and fed it to Kini so she would regain her strength. They lied to Kini telling her that the meat was shark fin.

What makes the story interesting are the characters and many symbolic gestures and speeches presented to the audience to promote morale awareness of human values?

Attending (1)

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service