สุนทรียภาพ ยุคกรีกสู่ร่วมสมัย


 

 

             นักประพันธ์อื่นๆมีความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเงื่อนไขด้านประเพณี รูปแบบสมัยนิยมและแรงกดดันจากสังคมอื่นๆโดยใช้ในการสาธิตการเปลี่ยนแปลงของรสนิยมในยุคสมัยที่ William Shakepeare ถูกมองว่าป่าเถื่อน ในขณะที่มองศิลปะแบบ Gothic ว่าสูงส่ง ศักดิ์สิทธิ์

 

            ประวัติและพัฒนาการสุนทรียภาพ History of Aesthetic นิคม มูสิกะคามะ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้ถ่ายทอดเรื่องนี้ไว้ในหนัง สือคนศิลปากรกับสำนึกทางสุนทรียะว่า Aesthetic สุนทรียภาพคือ ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งงดงาม ฯลฯ ส่วน Aesthetics สุนทรียศาสตร์คือ วิชาว่าด้วยความซาบซึ้งที่เป็นปรัชญาหรือทฤษฎี

            คำว่า สุนทรียศาสตร์ ถูกนำมาใช้ครั้งแรกใน ค.ศ.1753 โดยนักปรัชญาชาวเยอรมันชื่อ อเล็กซานเดอร์ โปการ์เทน (Alexander Cottieb Bougarten) แต่การศึกษาธรรมชาติของความงามถูกยืดอายุออกไปอีกหลายศตวรรษก่อนหน้านี้

 

 

 

            ยุคกรีกและละติน (Classic Period) ทฤษฎีแรกเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ คือมุมมองของ เพลโต้ (Plato) นักปรัชญาชาวกรีก ผู้ที่เชื่อว่า ส่วนประกอบที่เป็นความจริงของรูปแบบแรกเริ่มอยู่เหนือกว่าที่มนุษย์จะสัมผัสได้ ซึ่งเป็นแบบอย่างของทุกสิ่งที่มนุษย์มีประสบการณ์ถึงวัตถุที่เกี่ยวกับประสบการณ์นั้นๆ หรือเลียนแบบของรูปแบบแรกเริ่ม นักปรัชญาพยายามให้เหตุผลความเป็นจริงที่พวกเขาเลียนแบบจากสิ่งที่พวกเขาประสบ ศิลปินลอกเลียนแบบวัตถุที่พวกเขาเคยประสบ หรือใช้เป็นแบบในการสร้างผลงาน ดังนั้น งานของศิลปินคือการเลียน แบบของสิ่งที่เลียนแบบมาอีกที คือสองสิ่งที่แตกออกมาจากสิ่งที่เชื่อว่าเป็นความจริง

            ความคิดของเพลโตคิดว่า งานของศิลปินเหล่านั้นส่งเสริมการผิดทำนองคลองธรรมหรือพรรณนาตัวละ ครที่ชั่วช้าเลวทราม และการประพันธ์เพลงบางเพลงก่อให้เกิดความเฉื่อยชาหรือปลุกปั่นมนุษย์ให้มีการแสดง ออกที่รุนแรง

            นักปรัชญาชาวกรักอีกคนหนึ่งคือ อริสโตเติ้ล (Aristotie) ยังได้พูดถึงศิลปะในฐานะการเลียนแบบ แต่สาระไม่ใช่แบบเดียวกับเพลโต้ เขาเขียนไว้ว่า คนเราสามารถเลียนแบบสิ่งต่างๆ อย่างที่ควรจะเป็นและในส่วนหนึ่งแล้ว ศิลปะได้ทำให้สิ่งที่ธรรมชาติไม่สามารถทำให้ได้เสร็จสำเร็จสมบูรณ์

            ดังนั้น การเลียนแบบจึงไม่ใช่แค่การลอกเลียนแบบสิ่งใดมาทั้งดุ้น และไม่ใช่ประดิษฐ์สัญลักษณ์มาแทนสิ่งนั้น น่าจะเป็นการแสดงถึงแง่มุมของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะเจาะจงและแต่ละผลงาน เป็นการเลียนแบบจักรวาลโดยรวม อย่างไรก็ดี ทั้งอริสโตเติ้ลและเพลโต้แล้ว สุนทรียศาสตร์ไม่สามารถแยกออกได้จากศิลปกรรมและการเมือง

 

 

 

            ยุคทันสมัย (Modern Period) ศิลปะในยุคกลาง ล้วนเน้นหนักการแสดงออกถึงศาสนาหลักของสุนทรียศาสตร์ มีพื้นฐานโดยส่วนใหญ่มาจากแนวคิดแบบนีโอพลาโต้ระหว่างสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ศิลปะเกี่ยวกับทางโลกมากขึ้น และสุนทรียภาพเป็นแบบยุคกรีกและโรมันมากกว่าแบบศาสนา

            แรงผลักดันสำคัญต่อความคิดทางสุนทรียศาสตร์ในโลกสมัยใหม่ เกิดขึ้นในเยอรมัน ระหว่างศตวรรษที่ 18 นักวิจารณ์ชาวเยอรมันชื่อ ก็อตโฮล เอแฟรม เลสซิ่ง (Gotthold Ephraim Lessing) เขียนในหนังสือเรื่องเลากูนของเขา (766) โต้ว่า ศิลปะมีข้อจำกัดของตนเอง และจะเข้าถึงจุดไกลสุดได้เฉพาะเมื่อมีการตระ หนักถึงข้อจำกัดเหล่านั้นแล้ว

            นักวิจารณ์และนักโบราณคดียุคกรีกและโรมัน ชาวเยอรมันชื่อ โจฮัน จอซิม วิคเคอล์แมน (Johamm Joachim Winckelmann) สนับสนุนต่ออีกว่า ตามหลักกรีกโบราณแล้วศิลปะที่ดีที่สุดจะไม่เป็นลักษณะส่วนบุคคล แต่เป็นการแสดงออกของสัดส่วนของความคิดและความสมดุลมากกว่าที่จะแสดงลักษณะเฉพาะตัวของผู้สร้าง

            นอกจากนี้นักวิจารณ์ศิลปะชาวเยอรมันอีกหลายท่านให้ทัศนะที่ต่างกันไป ถึงกระนั้นก็ดีในงานเขียนของ ท่านนิคม ได้กล่าวไว้ ถึงแม้ว่าหลักสุนทรียศาสตร์ยุคสมัยใหม่จำนวนมากมีรากฐานจากความคิดของชาวเยอรมัน ความคิดของพวกเขาถูกครอบงำโดยอิทธิพลตะวันตกอื่นๆ อย่างน้อยที่สุดผู้ก่อตั้งแนว คิดแบบโรแมนติกชาวเยอรมัน ได้รับแรงกระทบจากงานเขียนเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ของรัฐบุรุษชาวอังกฤษ ชื่อ เอ็ดมัน บรูค

            ในช่วง 30 ปีสุดท้ายของศตวรรษที่ 19 กลุ่มศิลปินชาวฝรั่งเศสซึ่งรวมทั้ง Andre Derain, Paul Cezanne, Paul Gauguin และ Henri Matisse ต่อต้านแนวคิดแบบ Impressionism พวกเขาสนใจการสร้างสัญลักษณ์ให้กับโครงสร้างและปริมาณของภาพ รวมทั้งวิญญาณของศิลปินเอง แนวคิดการสร้างสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกัน ปรากฏในงานเขียนของกวีชาวฝรั่งเศสชื่อ Charles Baudelaire กวีชาวฝรั่งเศสในสมัยนั้นทั้งหมด

            แนวคิดแบบ Expressionism ตรงข้ามกับแนวความคิดแบบ Impressionism โดยให้ความสำคัญการนำเสนอวัตถุน้อยกว่าการแสดงออกของอารมณ์ แนวคิดแบบ Expressionism ปรากฏใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1911 ในเมือง Munich นิยามชื่อโดยโรงเรียนศิลปะเยอรมันและยังปรากฏใช้ในการนิยามการเคลื่อนไหวทางวรรณกรรม ซึ่งเริ่มต้นในวงการละคร ด้วยละครของนักเขียนบทชาวสวีเดนชื่อ August Strindberg และนักเขียนบทชาวเยอรมันชื่อ Frank Wedekind

            ยุคร่วมสมัย นักปรัชญา 4 คน ในยุคปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้านศตวรรษที่ 20 กลายเป็นอิทธิพลต่อหลักสุนทรียศาสตร์ในปัจจุบัน นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสชื่อ Henri Bergson ได้ให้คำจำกัดความ วิทยาศาสตร์ ในฐานะประโยชน์ของภูมิปัญญา เพื่อสร้างระบบสัญลักษณ์ที่คาดหวังว่าจะอธิบายความจริง แต่กลับกลายเป็นสร้างความเท็จ อย่างไรก็ตามศิลปะอยู่บนพื้นฐานสัญชาตญาณ ซึ่งเป็นวิธีเข้าใจความจริงโดยตรง

           นักปรัชญาชาวอิตาเลียนชื่อ Benedetto Croce ยกย่องสัญชาตญาณเช่นกัน งานศิลปะเป็นการแสดงออกของสัญชาตญาณในรูปแบบทางวัตถุ แต่ความงามและความอัปลักษณ์ ไม่ใช่คุณสมบัติของงานศิลปะ แต่เป็นของจิตวิญญาณที่แสดงออกตามสัญชาตญาณในงานนั้นๆ 

           ด้านนักปรัชญาและกวีชาวอเมริกันชื่อ George Santayana โต้ว่าเมื่อมนุษย์หาความเพลิดเพลินในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เขาพิจารณาว่า ความเพลิดเพลินเป็นคุณ สมบัติข้อหนึ่งในสิ่งที่เขามองเห็น แทนที่จะคิดว่าเป็นแรงตอบสนองที่อยู่ในจิตใจคน เช่นเดียวกับเมื่อมนุษย์อาจจะกำหนดให้การกระทำบางอย่างเป็นคุณธรรมในตัวเองส่วนนักปรัชญาชาวอเมริกัน John Dewey มีความเห็นว่าประสบการณ์ของมนุษย์ไม่ปะติดปะต่อกันอย่างสมบูรณ์ เต็มไปด้วยความหมายแบบไม่มีข้อสรุป

           การเคลื่อนไหวที่ทรงพลัง 2 อย่างคือ ลัทธิ Marxism ในสาขาเศรษฐศาสตร์และการเมือง และแนวคิดแบบ Sigmund Freud ในสาขาจิตวิทยา ซึ่งมีผลสำคัญต่อหลักสุนทรียศาสตร์ในสมัยนั้น Marxism เห็นว่า ศิลปะเป็นการแสดงออกของการเกี่ยวข้องกันทางเศรษฐกิจในสังคมที่แฝงไว้ Marxism ยังคงสนับสนุนว่าศิลปะจะอลังการได้ต่อเมื่อเป็นศิลปะแนวปฏิรูปนั่นเอง คือเมื่อศิลปะนั้นสนับสนุนสังคมที่สร้างมันขึ้น

           การโต้เถียงทางทฤษฎีในศตวรรษที่ 20 เกี่ยวข้องกับความหมายของศิลปะนักวิจารณ์ และนักศึกษาสัญลักษณ์ชาวอังกฤษชื่อ Lvor Armstrong Richards เชื่อว่า ศิลปะคือภาษา เขาอ้างว่า ภาษามี 2ชนิด คือสัญลักษณ์ที่สื่อความคิดและข้อมูล และลักษณะอารมณ์ที่แสดงออก เร้าและกระตุ้นอารมณ์และทัศน คติ ศิลปะเป็นภาษาสื่ออารมณ์ที่จัดระเบียบและลำดับแก่ประสบการณ์และทัศนคติ แต่ไม่มีความ หมายเชิงสัญลักษณ์

          งาน Richards สำคัญเช่นกัน เพราะประโยชน์ของเทคนิคทางจิตวิทยาในการศึกษาตอบสนองทางสุนทรียศาสตร์ ในหนังสือของเขาเรื่อง Practical Criticism (1929) และแม้แต่นักประพันธ์อื่นๆ มีความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเงื่อนไขด้านประเพณี รูปแบบสมัยนิยมและแรงกดดันจากสังคมอื่นๆ โดยใช้ในการสาธิตการเปลี่ยน แปลงของรสนิยมในยุคสมัยที่ William Shakepeare ถูกมองว่าป่าเถื่อน ในขณะที่มองศิลปะแบบ Gothic ว่าสูงส่ง ศักดิ์สิทธิ์

 

 

 

           ในตอนท้ายของบท ประวัติและพัฒนาการสุนทรียภาพ History of Aesthetic” ท่านนิคม อธิบายการจัดยุคสมัยสามยุคนี้ เผยให้ความสนใจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในด้านสุนทรียศาสตร์ มีการก่อตั้งสถาบันต่างๆ ทั้งในสหรัฐฯ ฝรั่งเศส อังกฤษ ฯลฯและตบท้ายวิชาสุนทรียศาสตร์ในปัจจุบันเป็นศาสตร์ที่สำคัญในการยกระดับการพัฒนาประเทศ จากมาตรฐานพงไพรและป่าดง (Primitive and Barbarian) เป็นการพัฒนาที่มุ่งคุณภาพและมาตรฐานการเป็นประเทศอารยะ (Civilized) เป็นจุดมุ่งหมายของการพัฒนาทั้งปวง

ดูเหมือนบ้านเราก็ฮิตอารยะมากเวลานี้ แต่เป็นอารยะขัดขืน

 

 

โดย: เนติ โชติช่วงนิธิ

ที่มา: สยามรัฐ

Views: 4290

Reply to This

© 2009-2025   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service