Street photography

การถ่ายภาพแบบ Street photography คือ การผสมผสานเทคนิคการถ่ายภาพ เพื่อให้ได้ภาพที่สื่อถึงสภาพความเป็นจริง เหมือนกับการเป็นกระจกสะท้อนภาพให้กับสังคม การถ่ายภาพแนวนี้เน้นเรื่องความเป็นจริงของสภาพที่เป็นไปในสังคม ไม่มีการตกแต่ง หรือจัดฉาก โดยมากมักจะใช้ภาพขาวดำในการสื่อกับผู้ชมภาพ เพราะให้อารมณ์ ความรู้สึก ออกมาได้ดีกว่าการเป็นภาพสี ภาพถ่ายจะเป็นธรรมชาติ ตามบรรยากาศในความเป็นจริง ไม่มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งแต่อย่างใด ภาพจะให้ความรู้สึกเหมือนผู้ชมอยู่ในภาพมีส่วนร่วมในเหตุการณ์

Street photography มีข้อดีที่เราไม่จำเป็นต้องไปหาสถานที่สวย ๆ สถานที่ดี ๆ เพื่อทำการถ่ายภาพ หากแต่สถานที่ที่เหมาะกับการถ่ายภาพแนวนี้ก็คือ ตามถนนในเมืองใหญ่ ซึ่งมีผู้คนที่มีรุปแบบหลากหลาย มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา การถ่ายภาพแบบนี้มีเสน่ห์ที่การมองหามุมมอง และการเล่าเรื่องในภาพ ด้วยความที่ไม่มีข้อจำกัดมากนักในการถ่ายภาพแนวนี้ นักถ่ายภาพเองจึงมีความอิสระในการสร้างสรรค์ภาพได้มากขึ้น

การ ที่จะเป็นช่างภาพแนว Street photography ที่ดีได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่การฝึกฝน ความพยาม การถ่ายภาพ และการศึกษาภาพแนว Street photography อย่างสม่ำเสมอ ประสบการณ์ในการถ่ายภาพจะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนานักถ่ายภาพ ในเรื่องของมุมมอง การหาเรื่องราว และอารมณ์ ที่จะนำมาบอกเล่าในภาพถ่าย

เทคนิค พื้นฐานของการถ่ายภาพแนว street photographyคือการใช้เลนส์ไวด์ หรือเลนส์ที่มีมุมกว้างพอสมควรในการถ่ายภาพ เช่น เลนส์ 21mm หรือเลนส์ 35mm นอกจากนี้เลนส์อีกช่วงที่ได้รับความนิยมในการใช้งานคือ เลนส์ 50mm เนื่องจากเลนส์ในช่วงทางยาวโฟกัสนี้จะมีมุมมองเท่ากับสายตาของคน จึงทำให้ภาพที่ได้ออกมามีความเป็นธรรมชาติ ค่าความไวแสงที่ใช้ควรใช้ในช่วงที่มีความไวสูง เช่น ISO 400 หรือ 800 เพื่อลดการสั่นไหวของภาพ ทำการโฟกัสภาพล่วงหน้าก่อนที่จะเข้าไปถ่ายภาพ ด้วยการกะระยะจากตัวกล้องถึงวัตถุที่ต้องการจะถ่าย แล้วทำการปรับโฟกัสที่ตัวเลนส์ตามระยะที่คาดคะเนไว้ ข้อดีของเลนส์ Wide ก็คือการที่ตัวเลนส์มีระยะ depth of field ที่ค่อนข้างลึก ทำให้โอกาสที่ภาพจะหลุดโฟกัสมีน้อยลง การโฟกัสภาพแบบ Zone Focus หรือการใช้เทคนิค Hyper Focus ก็มีส่วนที่จะทำให้สามาถรโฟกัสภาพได้ง่าย และแม่นยำยิ่งขึ้น

อุปกรณ์ ถ่ายภาพที่ใช้การถ่ายภาพแนว street photography ไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าต้องเป็นกล้องถ่ายภาพชนิดใด จึงสามารถใช้ได้ตั้งแต่กล้อง D-SLR ไปจนถึงกล้อง Lomo แต่ประเภทกล้องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับการถ่ายภาพแนวนี้คือ กล้อง rangefinder เนื่องจากการถ่ายภาพแนว street photography ต้องการความคล่องตัว และความกลมกลืนไปกับผู้คน สภาพแวดล้อม หลีกเลี่ยงความโดดเด่น และการแสดงตนว่าเป็นช่างภาพ เพื่อความปลอดภัยของตัวนักถ่ายภาพเอง และความหวาดระแวงของแบบ หรือผู้ที่ถูกถ่าย


ตัวอย่างกล้อง Rangefinder

ข้อดี ของกล้อง rangefinder คือตัวกล้องมีขนาดที่เล็ก มีความเชื่อถือได้สูง ทนทานต่อสภาพอากาศ และอุณหภูมิ มีระบบการทำงานที่ไม่ซับซ้อน กล้องหลาย ๆ รุ่นในระบบ rangefinder ยังสามารถทำงานได้แม้ตัวกล้องจะไม่มีแบตเตอรี่ ดังนั้นขอเพียงมีแค่ฟิลม์กับกล้อง และเลนส์ ก็สามารถบันทึกภาพได้แล้ว กล้อง rangefinder จึงเป็นที่นิยมในงานที่ต้องการความสมบุกสมบัน ความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพแบบ street photography หรือการถ่ายภาพในสงคราม


กล้อง Voigtlander Bessa R ใน HBO series เรื่อง Generation Kill

นอกจาก นี้ตัวเลนส์ของกล้อง rangefinder ยังมีความคมชัดที่สูงกว่าเลนส์ของกล้องแบบ SLR เนื่องจากตัวกล้องไม่มีกระจกขั้นอยู่ตรงกลางระหว่างตัวเลนส์กับฟิลม์ ทำให้เลนส์สามารถอยู่ใกล้กับฟิลม์ได้มากขึ้น ตัวเลนส์สามารถออกแบบได้เล็กลง รวมถึงการที่ไม่มีการดีดตัวของกระจกสะท้อนภาพ จึงทำให้กล้องมีการสั่นไหวน้อยลงขณะถ่ายภาพ นอกจากนี้เลนส์ของกล้อง rangefinder ยังสามารถถ่ายทอดโทนสีของภาพออกมาได้ดีกว่าโดยเฉพาะกับภาพขาวดำ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
http://en.wikipedia.org/wiki/Street_photography
http://www.rangefinderforum.com/forums/index.php



ที่มา : http://www.avcamera.com/index.php?option=com_content&task=view&...

Views: 22902

Replies to This Discussion

อยากได้ BESSA สักตัว ....เก็บตังค์ก่อน
อิอิ เดี๋ยวนี้ถือ Rangefinder เป็นจุดเด่นกว่า DSLR อีกนะ เพราะคนไม่ค่อยถือ
เยี่ยมครับ..บทความนี้ ไว้จะลองหัดถ่ายแนววนี้ดูบ้างครับ
any rangefinder in digital cameras?
the leica M8/9 as an example
ชอบ ชอบ ขอขอบคุณ
อิๆ น่าสนใจค่ะ ไว้จะลองหัดดู ไม่รุ้ฝีมือจะเป็นยังไง
ขอบคุณครับ ต้วเล็กไปเลยในมือทหาร อิอิ
เจ้า rangefinder น่าสนใจเหมือนกันครับ แต่ไม่ค่อยมีข้อมูลซักเท่าไหร่ ้เพิ่งจับ dslr ครับ
เข้ามาศึกษาแนวทางครับ ขอบคุณมาก
สุดยอดดดดดด ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service