เอกซเรย์ 'รอยยิ้มโมนาลิซา'

 
The X-ray technique can see the different layers without lifting a sample from the canvas 
---------------------------------- 

วิทยาศาสตร์ได้เข้ามาช่วยไขปริศนาเกี่ยวกับภาพเขียนโมนาลิซาอีกครั้ง แสงเอกซเรย์ได้เผยให้เห็นว่า ลีโอนาร์โด ดาวินชี ได้ประจงวาดให้ภาพเกิดแสงเงาที่เคลื่อนจากความสว่างสู่ความมืดอย่างไร้รอยต่อได้อย่างไร 

ฟิลิป วอลแตร์ กับคณะ รายงานในวารสาร Angewandte Chemie ว่า เคล็ดลับนั้นอยู่ที่การใช้วัสดุเคลือบที่บางมากกับเม็ดสีที่เล็กละเอียดอย่างยิ่ง 

นักวิจัยได้ศึกษาเทคนิคการวาดภาพที่ดาวินชี กับบรรดาจิตรกรในยุคเรอเนซองใช้ในการทำให้ภาพมีโทนของสีและความสว่างที่ไล่ระดับอย่างกลมกลืนทั่วผืนผ้าใบ 

“ในภาพเขียนเหล่านี้ คุณจะไม่เห็นรอยฝีแปรงหรือรอยนิ้วมือเลย” ดร.โลรอง เดอ วีเกอรี นักวิจัยร่วมคณะอธิบาย “ทุกอย่างมีความละเอียดมาก ทุกสิ่งมีการผสมผสานให้เข้ากัน” 

ทีมวิจัยได้ใช้อุปกรณ์แยกแสงสีที่อาศัยแสงเอกซเรย์ ฟลูออเรสเซนส์ เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบและความหนาของสีในแต่ละชั้น 

คณะผู้ศึกษาได้ใช้เทคนิคนี้ตรวจสอบภาพวาดชิ้นเอกของดาวินชีรวม 7 ชิ้น ซึ่งเอกอัครมหาศิลปินแห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการผู้นี้ได้สร้างสรรค์ขึ้นตลอดเวลา 40 ปี 

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบกรรมวิธีที่ดาวินชีใช้ในการสร้างแสงเงาที่ใบหน้าของโมนาลิซาและภาพอื่นๆ กรรมวิธีที่ว่านี้ก็คือ การใช้วัสดุเคลือบเงาเป็นชั้นๆ หรือสีที่มีความบางมาก รวมทั้งวัสดุยึดติด 

สีที่ใช้วาดนั้นมีความบางแค่ 2-3 ไมโครเมตร ความหนาของชั้นสีเหล่านี้รวมกันมีไม่เกิน 30-40 ไมโครเมตร ทั้งนี้ 1 ไมโครเมตรเทียบเท่ากับ 1 ในพันของ 1 มิลลิเมตร 

การศึกษานี้กระทำในห้องแสดงของพิพิธภัณฑ์ลุฟร์ในกรุงปารีส อันเป็นที่เก็บรักษาภาพโมนาลิซา ทีมที่ศึกษาเป็นเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยและฟื้นฟูบูรณะ พิพิธภัณฑ์ฝรั่งเศส. 



ที่มา: ThaiPost 22 Jul 2553 

Views: 234

Reply to This

Replies to This Discussion

ความระเอียด ช่างสุดยอดเลย
สรุปแล้ว จะดูว่า ยิ้มหรือร้อง รึ้ปล่าคับ

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service