อ.จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ภาคีสมาชิกประเภทวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรม ในหนังสือศิลปกรรมล้ำค่าสมัยรัตนโกสินทร์ กล่าวถึงประเภทของงานจิตรกรรมไทยประเพณี ว่า
ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์แก่การต่างๆ ในพระพุทธศาสนานั้น ได้รับการสร้างขึ้นบนพื้นที่รองรับ ทำด้วยวัสดุต่างๆ กับมีรูปลักษณะต่างกันไปตามความเหมาะสมที่ต้องการให้มีรูปเขียนแก่สิ่งนั้น หรือสถานที่นั้นๆ ด้วยเหตุนี้งานจิตรกรรมไทยประเพณี จึงอาจจำแนกออกเป็นประเภทได้ ดังนี้
งานจิตรกรรมประเภทสร้างสรรค์บนพื้นกระด้าง เช่น พื้นฝา ผนังก่ออิฐถือปูน พื้นไม้กระดาน พื้นดินเผา งานจิตรกรรมที่ได้รับการสร้างสรรค์บนพื้นกระด้างนี้คือ จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมหลังบานประตู บานหน้า ต่าง จิตรกรรมบนฝาตู้ฝาหีบพระธรรม จิตรกรรมบนหน้าใบประกับคัมภีร์ จิตรกรรมบนแผ่นไม้คอสอง จิตรกรรมบนพื้นฉาก ลับแล ฯลฯ
งานจิตรกรรมประเภทสร้างสรรค์บนพื้นกึ่งกระด้าง เช่น กระดาษ หนังสัตว์ งานจิตรกรรมที่ได้รับการสร้างสรรค์บนพื้นกึ่งกระด้างนี้คือ จิตรกรรมบนพื้นสมุดไทย จิตรกรรมบนแผงข้างม้า จิตรกรรมบนตัวหนังใหญ่ชนิดหนังกลางวัน ฯลฯ
งานจิตรกรรมประเภทสร้างสรรค์บนพื้นอ่อนนุ่มคือ พื้นประเภทผ้าต่างๆ จิตรกรรมที่ได้รับการสร้าง สรรค์บนพื้นประเภทนี้ คือจิตรกรรมภาพพระบฏ จิตรกรรมต้นแบบสำหรับปักไหมปักดิ้นบนผ้าต่างๆ เป็นต้น
วัสดุและวิธีการสร้างจิตรกรรมไทยประเพณีนั้นต่างกัน ทั้งนี้เพื่อสัมฤทธิผลในการนำเสนอ ความคงทน และคุณค่าแห่งงานจิตรกรรมนั้นๆ
งานจิตรกรรมเอกรงค์ คือจิตรกรรมที่เขียนขึ้นด้วยวิธีเขียนน้ำยาหรดาล ลงรักปิดทองคำเปลวแล้วรดน้ำ ลักษณะเป็นรูปภาพและลวดลายสีทองบนพื้นสีดำ ซึ่งทาด้วยยางรัก
งานจิตรกรรมกึ่งพหุรงค์ คือจิตรกรรมที่เขียนขึ้นด้วยวิธีเขียนสีฝุ่นหลากหลายสี ผสมกับยางมะขวิด เป็นต้น เขียนระบายลงบนพื้นที่รองพื้นไว้ด้วยสมุก ซึ่งประกอบด้วยดินสอพองกับยางเม็ดมะขาม และได้ใช้ทอง คำเปลวปิดตกแต่งลงบางส่วนในจิตรกรรมด้วย จิตรกรรมซึ่งเขียนขึ้นด้วยวิธีการเช่นนี้เรียกว่า จิตรกรรมสีฝุ่นบ้าง จิตรกรรมเขียนสีน้ำกาวบ้าง
วัดวาอาราม เป็นธารสถานสำหรับพุทธศาสนิกชนที่มาปฏิบัติศาสนกิจด้วยประเพณีนิยม อันเป็นกิจ วัตรตามปกติของชนชาวสยามที่ดำรงความศรัทธา นับถือพระพุทธศาสนากันมาแต่อดีตกาล
ภาพจิตรกรรมไทย หน้าประตูพระอุโบสถวัดอัมพวาหรือวัดอัมพวันเจติยาราม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม แสงแดดอ่อนยามเช้ากระทบภาพจิตรกรรม ช่วยขับลายเขียนให้แลเห็นความอ่อนช้อย
เรื่อง : เนติ โชติช่วงนิธิ ลีลาไทย
ที่มา : สยามรัฐ วันที่ 9 เมษายน 2553 แหล่งข่าวจาก
Tags:
© 2009-2025 PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.
Powered by