
ได้อ่าน Entry สั้นๆ จาก Blog ของ Giuseppe Circhetta ที่เค้า Quote ส่วนนึงของบทความเรื่องเกี่ยวกับ Editorial shooting ว่า
“It’s important to understand it’s ok to control the subject. If most editorial stories were photographed just as they are, editors would end up throwing most in the waste basket. You have to work hard at making an editorial picture. You need to re-stage things, rearrange things so that they work for the story, with truth and without lying” A.E., LensWork Feb-Mar 2002 page 82
“เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจว่า การจัดการ subject ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าภาพในบทความถูกถ่ายมาตามที่ตั้งอยู่จริง บรรณาธิการคงจะต้องโยนรูปทิ้งลงถึงขยะแทบทั้งหมด คุณจำเป็นที่จะต้องทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะได้ภาพที่ตรงกับเรื่องราว คุณอาจจะต้องจัดวางอะไรต่ออะไรซะใหม่ จัดการให้ทุกสิ่งอย่างเหมาะกับเรื่องราว โดยที่ยังเป็นจริงอยู่และไม่มีการหลอกลวงเกิดขึ้น”
ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ ที่อ่านจะคิดยังไงนะครับ แต่ผมคิดว่า…
“มันตรงใจผมมาก และผมเห็นด้วยกับสิ่งที่เค้าเขียนมาเต็มที่ครับ”
จากที่ผมพอจะมีประสบการณ์การทำงานมาบ้าง (คงไม่มากเท่าผู้อ่านอีกมากมายที่ได้อ่านบทความนี้) การที่เราจะถ่ายรูปมาเล่าเรื่องและส่งเสริมบทความนี่ ผมแทบจะไม่สามารถถ่ายได้จากสิ่งที่ได้ไปเห็นแบบตรงไปตรงมาได้เลย เพราะมักจะมีบางสิ่งบางอย่างที่จะเข้ามาอยู่ในภาพแล้วทำให้เรื่องราวด้อยลงไป ไม่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนหรือเรื่องราวนั้นๆ ดูไม่ดี ดังนั้น ในฐานะที่เราต้องได้ภาพมาเล่าเรื่องนั้นๆ เราก็ควรปรับแต่งอะไรต่ออะไรไปบ้าง โดยที่มีข้อแม้สำคัญที่ต้องจำเอาไว้ให้ขึ้นใจว่า…
“เราจะต้องไม่ทำให้ผุ้คน(หรือสิ่งของ สถานที่)ผิดเพี้ยนไปแบบที่กลายเป็นการหลอกลวง ไม่ทำให้คนอ่านและคนดูภาพเข้าใจผิดเอาได้”
เท่าที่ทราบ แม้แต่ช่างภาพของ National Geographic เองก็ยังโดนต่อว่าอยู่บ่อยๆ ว่า “จัด subject เพื่อถ่ายภาพ” ในสมัยก่อนตอนแรกๆ ผมก็เป็นคนนึงในพวกที่รู้สึกแบบเดียวกันนี้แหละ แต่อยากให้มองที่เรื่องราวและการที่ต้องถ่ายภาพมาเล่าเรื่องให้ได้ตามที่เป็น บางครั้งเราก็มีข้อจำกัดและ/หรือสาเหตุบางประการที่ทำให้ “ต้อง” ปรับแต่งอะไรบางอย่างเพื่อให้ภาพออกมาแบบนั้น
ก็อย่างที่เค้าเขียนนั่นแหละครับ ปรับได้อยู่ แต่สำคัญที่ห้ามปรับจนกลายเป็นการหลอกลวง
แล้วคุณคิดว่ายังไงกันครับ อยากได้ feedback กลับมาจัง
บทความโดย
Songvut Kositarut