ภาพถ่ายบนเซรามิก เทคนิคใหม่ ในยุคครีเอทีฟ



มีข่าวการโจรกรรมโบราณวัตถุจากพิพิธภัณฑ์ขอนแก่นมาระยะหนึ่งแล้ว ประชาชาติธุรกิจนิวบิซจึงมองหากรณีศึกษา ธุรกิจที่น่าจะใกล้เคียงและแก้ปัญหาเรื่องของการรักษาสมบัติและ ประวัติศาสตร์ของชาติในอีกรูปแบบหนึ่งมานำเสนอ

ในประเทศญี่ปุ่นเขามีการเก็บรักษาภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วยวิธีการนำภาพเหล่า นั้นมาทำก๊อบปี้ หรือจำลองขึ้นมาใหม่ และเก็บรักษาด้วยวีธีการถ่ายภาพลงบนเซรามิกที่มีความทนทานยาวนานกว่า มีความเหมือนต้นฉบับจริงมากกว่าเทคนิคอื่น ๆ

คนที่นำเอาธุรกิจนี้มาขยายตลาดในบ้านเรา ก็คือ จักรวาล บรรดาประณีต กรรมการผู้จัดการ บริษัท Ceramic Mage จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจนี้มีในญี่ปุ่นทำมาร่วม 30 ปีแล้ว เขาได้มีโอกาสไปดูงานจิตรกรรมบนกระเบื้องเซรามิกที่ OTSUKA MUSEUM OF ART ที่ประเทศญี่ปุ่น และมองเห็นว่าน่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการนำเทคนิคดังกล่าวมาทำตลาดใน ประเทศไทย

ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีภาพจิตรกรรมฝาผนังจากทั่วโลกที่ถูกจำลองมา ไว้ที่ นี่ 1,000 กว่าภาพ เช่น ภาพ Night Watch จาก Amsterdam National Museum ภาพ The Last Supper โดย Leonardo da Vinci ที่ Milan Italy มีการจำลองทั้งภาพเก่าก่อนทำการซ่อมแซม และภาพใหม่ตอนที่เสร็จแล้ว ถูกจำลองและนำมาจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้

นอกจากเทคนิคขั้นสูงในการจำลองภาพจิตรกรรมลงบนเซรามิก (ceremic art) ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แล้ว เทคนิคเดียวกัน คือการพิมพ�ภาพลงบนเซรามิก ยังทำเป็น ป้ายบอกทาง แผนที่ ตามสถานที่ท่องเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์ต่าง ๆ (ceramic sign) ซึ่งของเดิมบ้านเราจะคุ้นตากับป้ายแผนที่ทำมาจากกระดาษโปสเตอร์แล้วครอบด้วย พลาสติกอีกที พอใช้ไปนาน ๆ จะมีปัญหาเรื่องของเชื้อรา ความคมชัดน้อยลง แต่ถ้าเป็นเทคนิคสีที่พิมพ์ลงบนเซรามิก จะมีอายุการใช้งานที่ทนนานกว่า



และสุดท้ายการถ่ายภาพบุคคลแล้วพรินต์ลงบนเซรามิก (ceramic portrait) ก็เป็นอีกรูปแบบของการเก็บภาพบุคคลสำคัญเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นการสั่งทำจากผู้อื่นที่มอบให้กับบุคคลสำคัญในวาระพิเศษ

ทั้งหลายทั้งปวงกำลังจะเกิดในประเทศไทย จักรวาล บรรดาประณีต กล่าวว่า เขามองว่า รูปแบบของบ้านเรานั้น ภาพจิตรกรรม โดยส่วนใหญ่ หากเป็นภาพที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาก ๆ ถ้าจะต้องการก๊อบปี้ภาพ เพื่อการเก็บรักษา หรือนำมาจัดแสดง ภาพเหล่านั้นจะเป็นหน้าที่ของช่างศิลป์ในการซ่อมแซมภาพจริง รวมทั้งการคัดลอกภาพต่าง ๆ เหล่านั้นมาเก็บไว้ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาถึงเรื่องของสี เรื่องของรูปแบบลวดลายต่าง ๆ และใช้เวลานานกว่าปีในการที่จะก๊อบปี้รูปแบบเหล่านั้นออกมาได้อย่างถูกต้อง

และการก๊อบปี้ด้วยฝืมือคน น่าจะเหมาะกับการซ่อมแซมภาพจริง แต่ในการเก็บภาพจำลองต่าง ๆ การถ่ายภาพลงบนเซรามิก เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ให้คุณภาพเหมือนจริงมากที่สุดและย่นระยะในการคัดลอกได้ มาก ได้ภาพมีความละเอียดเทียบเท่าของจริงมากที่สุด จากวิธีการถ่ายภาพ ซ่อมแซม และพรินต์ลงบนวัสดุที่เก็บรักษาได้นาน เช่น เซรามิก ถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึ่ง



บริษัท Ceramic Mage เริ่มเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อราวมิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา โดยแนะนำให้กับผู้ที่อยู่ในวงการ เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร จากกระทรวงวัฒนธรรม ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานอนุรักษ์ รวมทั้งภาคเอกชน วิสาหกิจ อย่างเช่น เจ้าหน้าที่จากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ได้รับทราบเกี่ยวกับเทคนิคที่จะช่วยให้การเก็บรักษาภาพมีความเที่ยงตรง มากขึ้น

นอกจากการประเดิมโดยเข้าแนะนำเทคนิคต่าง ๆ แล้ว ยังมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูพิพิธภัณฑ์ที่ญี่ปุ่นให้เห็นถึงการ อนุรักษ์ที่หลายประเทศทำอยู่ในตอนนี้ นั่นก็คือการอนุญาตให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นเข้าไปถ่ายทำเก็บภาพและทำการ ก๊อบปี้ไว้ ที่นี่ เพราะเชื่อว่าหากภาพจริงมีการชำรุด หรือเสียหาย ก็ยังมีภาพจำลองเก็บไว้ได้

สำหรับโปรเจ็กต์แรก จักรวาลกล่าวว่า เขาเริ่มดำเนินการไปแล้วในส่วนของการทำป้ายบอกทาง แผนที่ตามอุทยานต่างๆ ที่อยู่ในระหว่างขั้นดำเนินการในรายละเอียด



ในส่วนของการอนุรักษ์ภาพจิตกรรม เขาว่ามีขั้นตอนซับซ้อนกว่า คือจะต้องมีทั้งหน่วยงานหลัก เช่น กรมศิลปากร ซึ่งจะคอยชี้เป้าภาพที่ต้องการอนุรักษ์ภาพสำคัญทางประวัติศาสตร์ ประการต่อมา ในส่วนของทุนสนับสนุน จะต้องมองหาภาคเอกชนที่มีซีเอสอาร์ตรงกัน คือเน้นในเรื่องการอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมของไทย

และสุดท้ายคือภาพถ่ายบุคคล เป็นลักษณะของการบอกต่อและ "น็อกดอร์" โดยแนะนำให้กับหน่วยงาน องค์กร บุคคลชั้นสูงที่สนใจสั่งทำในวาระพิเศษต่าง ๆ

เขาว่ารายได้จากสามโปรดักต์นั้นประเมินว่าในส่วนของการหาผู้ สนับสนุน การอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนัง อาจจะใช้เวลาสักหน่อย แต่ในส่วนที่จะเป็นรายได้ให้กับบริษัทก็คือภาพบุคคล น่าจะสามารถผลิตในไทยได้เลย เพราะเป็นภาพที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก สนนราคาโดยเฉลี่ยสำหรับภาพจิตรกรรม ราคาอยู่ที่ตารางเมตรละ 5 แสนบาท ไม่รวมค่าขนส่ง ซึ่งบริษัท คาดว่าในปีหน้าจะมีรายได้โดยรวมราว 20 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย

"เราไม่หวังว่าจะมียอดขายที่เติบโตเร็ว แต่อย่างน้อยเราเชื่อว่าบริษัทน่าจะอยู่ได้ และน่าจะเป็นอีกทางหนึ่งที่เราจะได้อนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทยของเรา อย่างที่ทั่วโลกได้ทำมาแล้ว"

อย่างไรก็ดี เทคนิคในการจำลองโบราณวัตถุต่าง ๆ ก็น่าจะมีแนวทางการนำเอาเทคโนโลยีบวกกันโมเดลธุรกิจที่ทันสมัย ก็น่าจะช่วยเก็บรักษาของที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของบ้านเราได้


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4169

Views: 191

Reply to This

Replies to This Discussion

อือดีๆ

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service