โครงการมอบรางวัล PM’s Creative Award โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เริ่มเข้มข้นขึ้น ล่าสุดมีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณว ุฒิจากหลายภาคส่วนกว่า 50 ท่าน ร่วมกันวางกรอบพิจารณาหลักเกณฑ์การตัดสินเ พื่อเฟ้นหาสุดยอดผลงานรางวัลเกียรติยศ Best of The Best ทั้ง 4 สาขา ได้แก่ สาขางานสร้างสรรค์ตามลักษณะงาน ในชื่อรางวัลคือ นริศรานุวัดติวงศ์, รางวัลสาขาสื่อ ชื่อรางวัลคือคึกฤทธิ์ปราโมท, สาขาศิลปะ ชื่อรางวัลคือเฟื้อ หริพิทักษ์ และสาขาสืบทอดทางวัฒนธรรม ชื่อรางวัล คือ อังคาร กัลยาณพงศ์
การประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อวาง กรอบการเฟ้นหาผลงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานที่ประชุม ทั้งนี้ โครงการ PM’s Creative Award เป็นโครงการภายใต้นโยบายเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) สอดคล้องกับพันธสัญญาด้านที่ 3 ให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ข้อพันธสัญญาที่ 7 ระบุให้ยกย่องความสำเร็จของคนไทยที่มีผลงานดีเด่นที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อทำชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ และเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสเมืองไทยเมืองนักคิด
ทั้งนี้ ทางโครงการจะเปิดรับผลงานสร้างสรรค์เพื่อชิงรางวัล PM’s Creative Award จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 โดยส่งผลงานเข้าประกวดได้ที่ สำนักเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ สอบถามโทร 02-547-4689 และดาวโหลดใบสมัครที่ www.ipthailand.go.th/pmcreativeaward ทั้งนี้ โครงการจะจัดพิธีประกาศผลและมอบรางวัล โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 4 เมษายน 2554
เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการของไทยให้โดดเด่นเป็นที่ต้องการของตลาดโลก จึงได้ประกาศพันธสัญญาของรัฐบาล 12 ข้อ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน และเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จากร้อยละ 12 ของ GDP เป็นร้อยละ 20 ภายในปี 2555 และคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552 ได้มีมติเห็นชอบการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาล และ พันธสัญญาของรัฐบาล 12 ข้อ โดยพันธสัญญา ด้านที่ 3 กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Society & Inspiration) ข้อพันธสัญญาที่ 7 ยกย่องความสำเร็จของ คนไทยที่มีผลงานความคิดสร้างสรรค์ ที่ทำชื่อเสียงให้กับประเทศชาติและสนับสนุนโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสเมืองไทยเมืองนักคิด หรือนิยมวัฒนธรรมหรือศิลปะไทยต่อประชาคมโลก เพื่อสนองนโยบายดังกล่าวจึงเห็นควรให้จัดมีโครงการต้นแบบของพสกนิกรไทย “ในหลวง”กับ “การคิดสร้างสรรค์” เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในฐานนะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” โดยทรงประดิษฐ์คิดค้น และสร้างสรรค์ผลงานทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมากมีทั้งผลงานลิขสิทธิ์ อาทิ สาขาวรรณกรรม ได้แก่ แนวคิดทฤษฎีใหม่ โครงการทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระมหาชนก สาขาดนตรีกรรม ได้แก่ การประพันธ์ทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ เป็นต้น ผลงาน สิทธิบัตร อาทิ กังหันน้ำชัยพัฒนา ฝนหลวง น้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น และผลงานเครื่องหมายการค้า อาทิ สุวรรณชาด ทองแดง โกลเด้น เพลซ เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพด้านการสร้างสรรค์ และประดิษฐ์คิดค้นผลงานทรัพย์สินทางปัญญา และทรงเป็นแบบอย่างให้นักประดิษฐ์ได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ประจักษ์เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้นแต่เป็นที่รับทราบกันทั่วโลก โดยองค์การทรัพย์สินปัญญาโลก (WIPO) ได้ทูลเกล้าถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO Global Leader Award) แก่พระองค์เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ดังนั้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เผยแพร่พระเกียรติคุณ ร่วมแสดงความประทับใจใน พระอัจฉริยภาพ และเพื่อให้ประชาชนเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท รวมทั้งปลูกฝังและส่งเสริมให้เยาวชนไทยให้มีทุนทางสังคมของ ความคิดสร้างสรรค์ นักประดิษฐ์คิดค้น พัฒนา ตลอดจนส่งเสริมให้คนไทยร่วมมือร่วมใจกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญของประเทศชาติสืบไป จึงเห็นควรยกย่องและประกาศพระเกียรติคุณโดยการจัดให้มีโครงการนี้ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ความสำคัญต่อผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักสร้างสรรค์ ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนต่อไป
กระทรวงพาณิชย์ จึงจัดกิจกรรมการมอบรางวัล PM’S CREATIVE AWARD ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการต้นแบบของพสกนิกรไทย “ในหลวง” กับ “การคิดสร้างสรรค์” ให้แก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานดีเด่น (Best of the Best) เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์และคุณค่าอันจะเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศต่อไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ipthailand.go.th/pmcreativeaward/
Tags:
-
▶ Reply to This