พอดีผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่จบสายวิทย์มาครับ
(ประมงด้วย ไม่ได้จบคอม ไม่ได้จบวิศวะ)
ปัจจุบันนี้ทำงานออกแบบสิ่งพิมพ์อยู่
ก็พอทำงานออกแบบได้ทั่วไปครับ
ไม่ได้เลิศหรูมากเหมือนกับระดับมืออาชีพที่เห็นได้ทั่วไป
เลยอยากรู้ว่า...
ปกติแล้วคนที่ไม่ได้จบสายออกแบบ แต่มาทำงานออกแบบ
เขามีวิถีชีวิตอย่างไรบ้างเหรอครับ??
(ปัจจุบันกำลังยุ่งกับซอฟท์แวร์น้อยลง และกำลังไปทางขีดๆเขียนๆมากขึ้นครับ
กำลังจะต่อสาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมที่ศิลปากรครับ
เพราะรู้สึกว่าตัวเองจะไม่ค่อยรุ่งทางซอฟท์แวร์ แต่จะถนัดไปทางออกไอเดีย
จึงมุ่งไปทางออกแบบการสื่อสาร และการใช้ภาษาครับ)
ขอบคุณครับ
Tags:
ไม่เห็นแปลกเลยอะ เราว่างานออกแบบเป็นเรื่องของไอเดียของแต่ละคนนะ จบหมอจบพยาบาลก็ต้องมีไอเดีย ต่างๆนานา
เราจบ ปรัชญา สาขาที่ทุกคนคิดว่ามันต้องเกี่ยวกับตำรา ตัวหนังสือ หลัก ทฤษฎีมากมายยยยย และบ้างครั้งก็ดูเป็นพวกนอกกระแส คิดแปลกๆบ้าง
แต่รู้ไหมความคิดแปลกแหวกแนวนี่แหละที่ทำให้เกิดไอเดียดีๆ ตอนนี้เราทำงานด้านถ่ายภาพ ออกแบบนิดๆหน่อยๆ
แล้วก็งานสีน้ำมากกว่าที่เรียนมาอีก มีความสุขทุกครั้งด้วย
ภูมิใจไว้ๆๆๆๆ ขอบคุณคะ
ผมว่ามันมีองค์ประกอบหลายอย่างนะเรื่องนี้
จบต่างสายแต่ ถ้าใจรักมันก็จะพยายามทำให้ได้อยู่ดี
ถ้าจบตงสายแต่ไม่มีใจ ทำไปก็ไม่ได้ดีขึ้นนะผมว่า
สายที่เรียนผมว่าไม่ใช่ปัจใจหลัก ใจต่างหากที่ตัดสินว่าเราทำงานอะไรแล้วดี
คุริคุริ
การออกแบบ = การแก้ปัญหา
ไม่ต้องเป็นสิ่งพิมพ์หรือการวาดรูปก็ได้ หาทางออกให้อะไรซักอย่างก็คือได้ออกแบบแล้วไม่ใช่หรือครับ
จบประมงมาก็ออกแบบอะไรที่แก้ปัญหาในสายนั้นๆ หรือใครเห็นปัญหาก่อนแก้ก่อน ก็ได้เปรียบ
จบหมอมา ก็ยังต้องออกแบบเลย
แต่ถ้าถามว่า ออกแบบกราฟฟิก หรือ เขียนงานได้ไหม
ได้สิครับ ถ้าคุณมีอะไรข้างในต้องการสื่อสารออกมา
ถ้าคุณชอบที่จะออกแบบ แสดงว่าคุณคือนักแก้ปัญหาดีๆนี่เองครับ
ส่วนสวยไม่สวยนี่ผมว่าไม่เกี่ยวนะ นั่นมันเรื่องทักษะที่ต้องใช้เวลาขลุกกับมัน
งานนอกเขาขาย story หรือแก่นความคิดกันมากกว่า
ส่วนบ้านเรา บางครั้ง เอาสวยเข้าว่า (ซึ่งจบงานมาก็ดูไม่สวย)
ลายเส้นขยุกขยุยที่ไม่ได้ออกมาจากสมองกลวงๆก็ถือว่าเยี่ยมแล้ว...
โดนครับ
เจ็บด้วยครับ
แต่ก็เห็นอะไรมากขึ้นครับ
ขอบคุณครับ :)
ต้องขออภัยครับ
แต่ผมไม่ได้หมายความว่าให้เดินบนทางที่ปูมา
แต่จงปูทางที่เราอยากจะเดินไป
เข้าใจครับ
ผมชอบ
"การออกแบบ = การแก้ปัญหา
ไม่ต้องเป็นสิ่งพิมพ์หรือการวาดรูปก็ได้ หาทางออกให้อะไรซักอย่างก็คือได้ออกแบบแล้วไม่ใช่หรือครับ"
ตรงนี้น่ะครับ
เพราะสิ่งที่ผมกำลังเริ่มอยู่ตอนนี้คือการสื่อสารวิทยาศาสตร์น่ะครับ
อาจเป็นเพราะเคยทำงานในสายสิ่งแวดล้อมมาก่อน
ก็เลยพบว่าสิ่งที่จะมาช่วยให้คนรู้จักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ก็คือสื่อที่ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์
แต่ส่วนมากสื่อที่ทำออกมาจากหน่วยงานราชการ
มักจะมาจากนักวิชาการ ที่ผมรู้สึกว่าเขายังขาดวิธีการนำเสนออยู่
ทำให้การสื่อสารบางช่วงขาดการเน้นให้เกิดความเข้าใจ
หรือขาดสิ่งที่ดึงดูดใจให้ผู้คนเข้ามาสนใจ
ผมเลยเข้ามาทำตรงนี้น่ะครับ
แต่พอทำไปทำมา ก็พอรู้ว่าทางด้านเทคนิคการใช้ซอฟท์แวร์ของผมมันก็ไม่ได้ดีมากน่ะครับ
ก็เลยมามุ่งที่บท การวางโครงเรื่อง แก่นของเรื่องที่จะนำเสนอ
และผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อผู้อ่านรับสารของเราไปแล้วน่ะครับ
ตอนนี้ผมก็กำลังทำหนังสือการ์ตูนเกี่ยวกับปะการังอยู่น่ะครับ
เริ่มตั้งแต่ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปะการัง สิ่งที่ทำให้ปะการังหายไป
ผลที่จะเกิดขึ้นถ้าปะการังหายไป การฟื้นฟูปะการัง และความหวังที่จะทำให้ปะการังอยู่ต่อไป
เอามาเล่าใหม่ครับ ตัดข้อมูลทางวิชาการออกให้มากที่สุด
แต่เน้นในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก อยากให้คนรับรู้ถึงความสำคัญของปะการัง
ที่ไม่ได้ออกมาในรูปแบบของตัวเลขความเสียหาย หรือชนิดของปะการังที่หายไป
เป็นงานที่ผมอยากทำออกมาให้ผู้คนอ่านปั๊บ จำได้ เข้าใจ
ไม่ต้องใช้เวลาไปศึกษาตัวเลข หรือศัพท์ทางวิชาการอะไรมากมายน่ะครับ
ผมก็เลยตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพื่ออยากสอบถามน่ะครับว่า
คนที่ไม่ได้จบสายออกแบบมานั้น แต่มาทำงานออกแบบ
จะมีโอกาสสำเร็จมากน้อยแค่ไหนน่ะครับ
(จริงๆ ก็คงจะไม่ใช่ออกแบบซะทีเดียว น่าจะเป็นงานครีเอทีพ
หรือการสื่อสารไปเลยซะมากกว่า)
ประมาณนี้แหละครับ
ขอบคุณครับ :)
ส่วนที่ผมต้องมาทำงานสิ่งพิมพ์เลยก็เหมือนมาฝึกวิชาแหละครับ
เพราะเจอปัญหามาแล้วว่า ถ้าเราไม่เตรียมไฟล์ให้เหมาะสมก่อนเอาไปพิมพ์
คนที่เอางานเราไปเตรียมทำเพลตต่อเขาจะลำบากน่ะครับ
ก็เลยต้องมารู้ในเรื่องของการทำสิ่งพิมพ์ที่ถูกต้องด้วยน่ะครับ
งานออกแบบกราฟิกก็คือการออกแบบสื่อสาร
ผมแนะนำให้ลองศึกษาเรื่อง Infographics นะครับ
คิดว่าจะมีประโยชน์กับการทำงานของคุณ iggy
อยากไปทำงานงานสายนี้บ้างค่ะ จบบริหารมา น่าเบื่อมากเลย
ตอนนี้รักการถ่ายภาพ แต่อยากมาทำออกแบบมั่งได้มั้ยค่ะ
ก็ต้องลองกันดูสักตั้งล่ะครับ
ถ้าอยากทำจริงๆ นะครับ หุหุ
© 2009-2025 PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.
Powered by