A Life Journey of A Photographer เทคนิค ศิลปะ และการถ่ายภาพ

ไปพบบทความดี ๆ เอามาฝากครับ อยากให้ช่างภาพรุ่นใหม่ได้อ่านกัน

----------------------------------------------------------------------

 

ตั้งแต่กล้องดิจิตอลเข้ามาในโลกของการถ่ายภาพ ผู้คนมากมายได้หลั่งไหลเข้ามาสัมผัสวงการนี้ บ้างก็เข้ามา แล้วก็จากไป บ้างก็จริงจังกับการถ่ายภาพ แต่ด้วยอินเทอร์เน็ตและบทบาทของ Photoshop ทำให้บางสิ่งบางอย่างแปรเปลี่ยนไป เรื่องราวต่อไปนี้ ผมขอนำเสนอประสบการณ์ส่วนหนึ่งของผม ซึ่งอาจจะเป็นข้อคิดและประโยชน์แก่หลายๆ ท่าน หลายคนอ่านแล้วอาจจะไม่เห็นด้วยกับผม แต่อย่างน้อยๆ ผมก็อยากจะชี้ให้หลายๆ คนได้เห็นสิ่งสำคัญต่อเราๆ ในฐานะผู้ที่จะก้าวไปเป็นศิลปิน และผู้ที่กำลังจะค้นหาหนทางเดินของตัวเองต่อไป

ถ้าเกิดผมถามว่า ภาพที่ดีเป็นอย่างไร ผมค่อนข้างมั่นใจว่า คำตอบส่วนมากที่ผมจะได้รับจะออกมาในลักษณะนี้ ซึ่งผมขอเรียกว่า “ความสมบูรณ์เชิงเทคนิคเบื้องต้น”


- ภาพคมชัด โฟกัสถูกจุด ชนิดว่าถ้าเอามาเป็นมีดโกน คงบาดหน้าง่ายๆ
- สีไม่เพี้ยน วัดแสงถูกต้อง ทิศทางแสงดี แสงไม่แข็ง ฯลฯ
- เกรนไม่แตก น้อยส์ไม่กระจาย ภาพเป็นพลาสติก Detail หายเรียบ ตรูไม่สน ขอเนียนๆ
- สีสันสดใสซาบซ่า เหมือนสไปรซ์
- ที่สำคัญที่ดีที่สุด องค์ประกอบต้องเยี่ยม กฏสามส่วน, กฏสามเหลี่ยมทองคำ เอ๊ย Golden Mean, กฏยิ่งซูมยิ่งได้อารมณ์ ฯลฯ


และคนหลายคน ก็มักจะประเมินภาพที่ตนเองเห็นตามลิสต์ที่ว่ามาข้างต้น (มีคนบอกว่า “วิจารณ์ภาพเวอร์ชัน checklist”) และหลงลืมสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ชนิดที่ว่าถ้ามีคนเอาภาพถ่ายของบรรดาช่างภาพระดับโลกมาลง อาจจะโดนวิจารณ์เชิงลบได้ง่ายๆ

ไม่ใช่ว่าความสมบูรณ์เชิงเทคนิคไม่มีความสำคัญ 
เทคนิคเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราต่อเติมจินตนาการ หากแต่มันเป็นเพียงส่วนๆ หนึ่งเท่านั้น ผมมั่นใจว่าคนที่อยู่ในวงการถ่ายภาพมาพอสมควร คงสามารถสร้างสรรค์ภาพที่สมบูรณ์ทางเทคนิคเบื้องต้นได้ไม่ยาก (ความสมบูรณ์ทางเทคนิคที่กล่าวมาเป็นเพียงเริ่มต้นเท่านั้น จริงๆ แล้วยังมีมากกว่านั้นอีกมาก ซึ่งยากที่จะเรียนรู้ และมักจะไม่มีใครกล่าวถึง) เมื่อก่อนผมเองก็รู้จักเพียงอุปกรณ์ และเทคนิคเหล่านี้เท่านั้น และก็ประเมินสิ่งต่างๆ ตาม “Checklist” เหล่านี้

และแล้ว วันหนึ่ง คำถามหนึ่งก็พุ่งเข้ามาในจิตใจของผม เมื่อผมได้พยายามทำความเข้าใจกับศิลปะแขนงหนึ่ง นั่นก็คือ “Fine Arts คืออะไร?”

ผมใช้เวลาครุ่นคิดคำถามนี้อยู่นับเดือน จนสุดท้ายที่ได้เจอกับคุณ soranai เป็นครั้งแรก ผมจึงได้ถามคำถามนี้ออกไป ผมยังจำบทสนทนาในวันนั้นได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ

“Fine Arts คืออะไรครับ?”
“Fine Arts มันก็คือศิลปะ แต่คุณรู้จักศิลปะหรือเปล่า?”

ผมนั่งอึ้ง+งง (ความจริงวันนั้นนั่งงงไปหลายรอบ 55) คำถามที่ผมเคยคิดว่าผมรู้คำตอบดี (รวมถึงหลายๆ คนที่คิดว่าตนเองรู้จักดี) แต่เมื่อโดนถามกลับมาเช่นนี้ ผมกลับไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไร สรุปสั้นๆ คือ “ผมไม่รู้”

สำหรับท่อนนี้ผมอาจจะจำผิดเพี้ยนไปบ้าง “ศิลปะก็คือ อารมณ์และความรู้สึก เมื่อใดที่ความรู้สึกของผู้สร้างงานศิลปะสื่อไปถึงผู้รับชม เมื่อนั้นมันก็คืองานศิลปะ ทำไมคนส่วนมากในโลก ไม่รู้ว่าภาพโมนาลิซ่างดงามตรงไหน แต่กลับมีคนบางคนไปยืนร้องไห้อยู่หน้าภาพโมนาลิซ่า?”

 

Ansel Adams - Clearing Winter Storm - 1942
 
 

เมื่อเร็วๆ นี้ ผมเพิ่งซื้อหนังสือ “National Geographics – Greatest Portraits” เพราะว่าหนังสือถูกลดราคาอยู่ที่ร้านหนังสือ ขณะที่ผมกำลังดูภาพไปเรื่อยๆ ผมนึกถึงบทสัมภาษณ์ผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ได้ท่อนหนึ่ง

“ ในฐานะ บก. คุณมองหาอะไรในภาพ portrait !? ”


“Bendavid-Val  :  สิ่งแรกที่ผมมองก็คือภาพถ่ายนั้นมีอิทธิพลหรือไม่ ถ้ามันไม่สามารถเข้าถึงอารมณ์ของผู้รับชมได้ ถ้าผู้รับชมไม่รู้สึกผูกพันกับตัวแบบในภาพทางใดทางหนึ่ง ภาพนั้นก็ไม่มีความหมาย"




ช่างภาพจำนวนมากสามารถสร้างสรรค์ภาพได้สมบูรณ์ในเชิงเทคนิค แต่ว่ากลับไม่มีความหมายทางด้านอารมณ์หรือศิลป์ในภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากที่จะได้มา ภาพเหล่านั้นก็จะไม่น่าจดจำแต่อย่างใด ในบางครั้งภาพที่ถ่ายมาผิดๆ ในเชิงเทคนิคกลับมีอารมณ์ในภาพอย่างมากจนกระทั่งความผิดพลาดเชิงเทคนิคถูกลืมเสียหมดสิ้น”
“Johns: 
ผมมองหาภาพที่มีความสัมพันธ์อันแข็งแกร่ง มีเรื่องราวที่ดำเนินไป ลึกซึ้ง แต่ก็มีแรงดึงดูดทางอารมณ์สูง มันเป็นภาพที่อยู่เหนือกาลเวลาและสถานที่ และจะคงอยู่ตลอดไป

ภาพที่จะสั่นไหวผู้คน ภาพที่จะดึงดูดผู้คน ทำให้พวกเขาสนใจ และช่วยให้พวกเขาเข้าใจ และถ้ามันทำสิ่งเหล่านี้ได้ดี มันก็อาจจะคงอยู่ตลอดไป และเป็นคำบ่งบอกอันสำคัญเกี่ยวกับมนุษยธรรมแก่ชนรุ่นหลัง”

ผมว่าภาพที่ยอดเยี่ยมจะสามารถก้าวข้าม ความสมบูรณ์ทางเทคนิค สื่อบันทึก และกาลเวลาได้ ในขณะที่ภาพที่สมบูรณ์ทางเทคนิค แต่ไม่มีอารมณ์หรือความรู้สึก ก็เหมือนกับจับได้เพียงเปลือกไม้ 
ภาพที่ถ่ายมาไม่ดี แต่ตกแต่งโดย photoshop อย่างหนักจนสวย ก็ไม่สามารถทนทานต่อกาลเวลาได้ เพราะเมื่อคนๆ หนึ่งสั่งสมประสบการณ์ด้านแต่งภาพมามากพอ ก็สามารถมองทะลุเปลือกที่ห่อหุ้มภาพนั้น และเห็นความจริงที่ซ่อนอยู่ได้ ภาพที่ดูแปลกตาเพียงเพราะอุปกรณ์ (เช่น เลนส์โคตรไวด์ เลนส์โคตรซูม เลนส์ตาปลา ฯลฯ) เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะหมดคุณค่าลง เพราะมันเป็นเพียงความตื่นตาตื่นใจช่วงแรกๆ เท่านั้น

 

 

Richard Avedon

 

ผมชอบคำพูดๆ หนึ่ง ที่ว่า “เทคนิคไม่ได้มีจุดหมายในตัวเอง คุณต้องรู้ว่าจะมีเทคนิคไว้เพื่ออะไร?” ถ้าภาพถ่ายไม่สามารถดึงผู้ชมให้เข้าเป็นส่วนร่วม ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก หรือลบระยะห่างระหว่างผู้สร้างกับผู้ชมได้ สุดยอดเทคนิคทั้งหลายจะมีประโยชน์อันใด ผู้คนมักจะบอกว่า ภาพที่ดีมาจากสามส่วนคือ อุปกรณ์, เทคนิคและฝีมือ, โอกาสและโชคช่วย แต่ผมกลับมองว่ามีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หรืออาจจะสำคัญยิ่งกว่า นั่นก็คือ อารมณ์และความรู้สึก เพราะเราคือมนุษย์ ไม่ใช่หุ่นยนต์ที่ทำงานไปตามตรรกะที่วางไว้นั่นเอง

แล้วคุณมีเทคนิคไว้เพื่ออะไร?



Jerry Uelsmann
(ใครว่าภาพแบบนี้ต้อง Photoshop อย่างเดียว?)

ที่มา : คุณ Charles http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=8600

Views: 3428

Reply to This

Replies to This Discussion

หนักและแน่นมากครับพี่
"มีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หรืออาจจะสำคัญยิ่งกว่า นั่นก็คือ อารมณ์และความรู้สึก"

เห็นด้วยอย่างไม่มีข้อแม้ครับ ;-)
greatttttttttt!
เยี่ยมมคะ >/body>
ขอบคุณครับ
โคตรโดนเลยครับ
"ภาพที่จะสั่นไหวผู้คน" ใช่มาก ๆ เลยพี่ ศิลปะัที่ดีทุกแขนงควรจะสามาระส่งอะไรออกมากระทบให้เรารู้สึก "สั่นไหว" ให้ได้ ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ครับผม
ขอบคุณ สำหรับความรู้ครับ
อ่านแล้วรู้สึกดี
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับบทความดีดี
ไม่อยากถ่ายรูปแล้ว ให้คนดูจบแค่คำว่ารูปสวย กำลังเรียนรู้ fine arts เหมือนกันค่ะ
น่าเอาลิงก์ไปแปะตามอัลบั้มภาพถ่ายพริตตี้ หรือสาวๆ(ทีเหมือนจะสวย)ในมัลติพลาย
เป็นบทความที่ดีมากๆครับ

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service