มาร่วมกันไถ่ชีวิตโค-กระบือครับ


เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เราได้ร่วมกันทำบุญโดยนำสิ่งของและเงินไปมอบให้กับเกาะสุนัขที่พุทธมณฑลกัน มาแล้วนะครับ และในช่วงปีใหม่แบบนี้ผมจึงอยากชวนเพื่อนสมาชิกใน coolswop มาร่วมกันทำบุญอีกครั้งครับ โดยคราวนี้เราจะมาร่วมกันไถ่ชีวิตโค-กระบือกัน ผ่านโครงการนี้ครับ

http://www.dld.go.th/rcb/rcb_proj09.html

เป็น โครงการในพระราชดำริของในหลวง ผ่านทางกรมปศุสัตว์ โดยโค-กระบือทุกตัวที่ได้รับการไถ่ชีวิตจากโครงการนี้จะถูกนำไปให้กับชาว บ้านเลี้ยงเพื่อประโยชน์ทางด้านการเกษตร เท่าที่ผมสอบถามเจ้าหน้าที่โครงการดู เค้ามีระบบค่อนข้างดีครับ คือมีสัญญาให้กับชาวบ้านเซ็นเป็นลายลักษณ์อักษร คือผมกลัวว่าจะเหมือนกับเวลาเราไปปล่อยนกปล่อยปลา แล้วจะมีคนคอยจับมาขายใหม่อย่างที่เราทราบๆกัน

ถ้าท่านใดสนใจขอเชิญ ร่วมบริจากโดยการโอนเงิน(ตามแต่ศรัทธาเลยครับ) มาที่ บัญชี HELP by wararit mangkalanont ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนพระราม9 เลขที่บัญชี 713-2-40858-5

ถ้าเราได้จำนวนพอที่จะไถ่เป็นตัว(โค 15,000 บาท กระบือ 15,000 บาท) ก็จะได้ไปที่โรงฆ่าเลยครับคิดว่าจะไปที่ปทุมฯครับ เพราะใกล้หน่อย ไปวันที่ 13 กุมภาครับ





(ข้อมูลของโครงการ)
โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริฯ

ปัจจุบัน ธนาคารโค-กระบือ ตามพระราชดำริ มีวิธีการให้บริการแก่เกษตรกรในลักษณะต่างๆ ดังนี้คือ ... See More
๑. การให้ยืมเพื่อการผลิต
๒. การให้เช่าซื้อ
๓. การให้ยืมพ่อพันธุ์โค-กระบือแก่เกษตรกร
๔. การให้เช่าเพื่อใช้แรงงาน
๕. การให้บริการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก ข้อ 1-4 ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจาก ธคก. เพื่อให้บริการเป็นกรณีพิเศษ

สรุป
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากธนาคารโค-กระบือ นั้น ส่งผลโดยตรงกับตัวเกษตรกรที่ยากจน คือได้ช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถมีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง ไม่ต้องเสียค่าเช่าแรงงานโค-กระบือ ในอัตราสูง เป็นหลักประกันอย่างหนึ่งซึ่งเอื้ออำนวยให้การผลิตเกิดผลอย่างเต็มเม็ดเต็ม หน่วย

ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อมนั้น เกิดขึ้นจากการเลือกใช้กลยุทธที่เหมาะสมในการพัฒนา เพราะแรงงานแบบดั้งเดิมนี้ เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมแบบยังชีพ ซึ่งเกษตรกรมีฐานะยากจนจะมีพื้นที่ทำกินขนาดเล็ก แรงงานแบบดั้งเดิมนี้ไม่ต้องการความรู้ทางเทคนิควิชาการชั้นสูงใดๆ ในการบำรุงรักษา การใช้แรงงานโค-กระบือ ในการทำนา ปลูกข้าว เป็นลักษณะของการอยู่ร่วมกันและการพึ่งพากันตามธรรมชาติ เกษตรกรสามารถเรียนรู้ได้เองจากการดำรงชีพ อีกทางหนึ่ง การใช้แรงงานสัตว์เป็นการเลือกใช้พลังงานจากธรรมชาติ แทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นทรัพยากรที่นับว่าจะเหลือน้อยลงไป และมีราคาสูงขึ้น ดูจะเป็นประโยชน์หลายทางซึ่งสอดคล้องกันอย่างพอเหมาะยิ่ง

โรงฆ่าสัตว์ที่เข้าร่วมโครงการฯ
โรงฆ่าสัตว์ที่เข้าร่วมโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรฯ มี 2แห่งคือ
1 โรงฆ่าสัตว์เทศบาลเมืองปทุมธานีโทร(02)978-0725,(02)581-6367
2 โรงฆ่าสัตว์เทศบาลอยุธยา โทร(035)251-454 FAX(035)232-553
โค-กระบือที่เราบริจาคทรัพย์เพื่อไถ่ชีวิต กับทางโรงฆ่าสัตว์ทั้งสองแห่งนี้จะไม่มีการนำมาหมุนเวียนหลอกลวง ให้ผู้มีจิตกุศลท่านอื่นๆบริจาคทรัพย์ช่วยชีวิตใหม่
โดยโค-กระบือที่ได้รับการไถ่ชีวิตเข้าโครงการธนาคารโค-กระบือฯ ไปแล้ว จะถูกแยกนำออกไปไว้ต่างหาก เพื่อตรวจและกักกันโรค พอได้ได้ครบจำนวน (เจ้าหน้าที่ ที่กรมปศุสัตว์แจ้งว่า 30ตัว ซึ่งจะพอดีกับขนาดรถที่กรมใช้ขนไปได้) โรงฆ่าสัตว์จะแจ้งไปยังกรมปศุสัตว์เพื่อให้มานำ โค-กระบือที่ได้รับการไถ่ชีวิตนี้ ไปมอบให้กับเกษตรกรในแต่ละจังหวัด ในที่สุดครับ

Views: 462

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service