Peter Zumthor: Teaching Architecture, Learning Architecture | การเรียน การสอน สถาปัตยกรรม

By Peter Zumthor

The following is an excerpt from “Thinking Architecture”, published by Lars Müller Publishers in 1998

Translated by Pudit Ngourangsi

คน หนุ่มสาวมากมายในปัจจุบันกำลังตามหาหนทางที่จะเป็นสถาปนิกพร้อมกับคำถามที่ ว่าพวกเค้าเหล่านั้นมีคุณสมบัติที่เหมาะสมหรือไม่? อย่างไร?
นี่เป็นจุดเริ่มต้นการตั้งคำถามที่ว่า
ในฐานะผู้สอนอะไรเป็นสิ่งแรกที่ควรจะถ่ายทอดให้เค้าเหล่านั้นได้เรียนรู้?

ในเบื้องต้นเราต้องมีข้อตกลงให้เข้าใจร่วมกันก่อนว่า ผู้ที่ยืนอยู่หน้าเค้าเหล่านั้นไม่ใช่คนที่จะมาตั้งคำถามซึ่งเค้ารู้คำตอบ ที่แน่ชัดอยู่ในใจแล้ว
การเรียนการสอนสถาปัตยกรรมคือการตั้งคำถามแก่บุคคลๆหนึ่งให้หาคำตอบของตัว
เองด้วยความช่วยเหลือและคำปรึกษาจากผู้สอน ขัดเกลา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา
ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ความสามารถที่จะสร้างงานออกแบบที่มีคุณภาพมีอยู่ในตัวพวกเราทุกคน และฝังอยู่ภายในทักษะการรับรู้ความเป็นไปของโลกด้วยความรู้สึก และเหตุผล งานสถาปัตยกรรมที่ดีจะต้องสะเทือนอารมณ์
งานสถาปัตยกรรมที่ดีจะต้องมีที่มาที่ไปและตอบสนองความต้องการต่างๆอย่างชาญ
ฉลาด

เราทุกคนมีประสบการณ์เกี่ยวกับ ‘สถาปัตยกรรม’ มาก่อนที่เราจะได้รู้จักคำๆนี้ด้วยซ้ำ รากเหง้าความเข้าใจในสถาปัตยกรรมฝังรากอยู่ในประสบการณ์เหล่านั้น ในห้องนอน
ในบ้าน สภาพภูมิประเทศ บนถนน ในหมู่บ้าน ในเมืองของเรา
ประสบการณ์ซึ่งเกิดขึ้นมานาน ส่วนใหญ่ในจิตใต้สำนึก
และเราจะระลึกถึงความรู้สึกเหล่านั้นได้หลังจากได้พบเจอกับสถานที่ใหม่ๆและ
เกิดความรู้สึกเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้ประสบพบเจอมาก่อนหน้านั้น
รากเหง้าความเข้าใจในสถาปัตยกรรมฝังรากอยู่ในความทรงจำวัยเยาว์
ในวัยหนุ่มสาว ในอัตชีวประวัติของคนทุกคน
ผู้ศึกษาสถาปัตยกรรมจึงต้องเรียนรู้วิธีที่จะทำงานร่วมกับข้อมูลในจิตใต้
สำนึกเหล่านี้ด้วยความตระหนักรู้ ผสานประสบการณ์ทางสถาปัตยกรรมชั่วชีวิต
และมีหน้าที่ๆจะทำให้กระบวนการเหล่านี้ทำงานอย่างถูกต้อง

เราอาจแปลกใจเมื่อมีความรู้สึกกับบ้านหลังหนึ่ง เมืองๆหนึ่ง เมื่อเกิดความรู้สึกประทับใจต่อสถานที่หนึ่ง ทำไมความรู้สึกเหล่านี้ถึงเกิดขึ้น? ห้องเหล่านั้นหน้าตาเป็นอย่างไร?
เป็นห้องสี่เหลี่ยม? กลิ่นที่อบอวลอยู่ในอากาศ?
เสียงฝีเท้าเมื่อเคลื่อนที่เป็นอย่างไร? ความรู้สึกที่เกิดขึ้นใต้ฝ่าเท้า?
ด้ามจับประตูที่อยู่ในมือ? แสงแดดที่สาดกระทบกับผิวอาคาร?
แสงเงาที่เกิดขึ้น? ความรู้สึกอึดอัด คับแคบ หรืออ้างว้าง?

พื้นไม้ มวลหินหนักหยาบ ผ้าทอผืนบางเบา แกรนิตขัดมัน แผ่นหนังนิ่มๆ โลหะผิวหยาบ ไม้มะฮอกกานีขัดมัน แผ่นกระจกใส พื้นยางมะตอยที่อบอุ่นด้วยแสงแดด เหล่านี้คือวัตถุของสถาปนิก
ที่จริงก็คือวัสดุของพวกเรา เราทุคนรู้จักมันดี
แต่เราก็ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลยแม้แต่น้อย ในทางการออกแบบ
การสรรสร้างงานสถาปัตยกรรม
เราต้องเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจวัสดุเหล่านี้ด้วยความตระหนักรู้
นี่คือกระบวนการวิจัย การศึกษาค้นคว้า
กระบวนการทำงานของการรับรู้เพื่อความเข้าใจวัสดุเหล่านี้ด้วยความถ่องแท้
สถาปัตยกรรมมีสารัตถะที่หนักแน่น มีตัวตน จับต้อง สัมผัสได้
มิใช่สิ่งที่เป็นนามธรรม ผังพื้นซึ่งถูกเขียนลงบนกระดาษมิใช่สถาปัตยกรรม
แต่เป็นแค่เพียงตัวแทนที่จะสื่อถึงสาระที่แท้จริงของสถาปัตยกรรม
เปรียบได้กับกระดาษบันทึกโน๊ตดนตรี
ถ้าดนตรีจำเป็นที่จะต้องถูกแสดงออกผ่านผู้เล่นและเครื่องดนตรี
สถาปัตยกรรมก็จะต้องถูกสร้างและใช้งาน
เนื้อหาสารัตถะของมันจึงจะมีตัวตนขึ้นมา
และเนื้อหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยการสัมผัสเสมอ

งานออกแบบเริ่มต้นขึ้นด้วยการวางสมมติฐาน สร้างจินตภาพทางกายภาพ คาดคะเนรสสัมผัสของมันเมื่อถูกใช้งาน นั่นคือการคาดเดาถึงวัสดุที่จะถูกสร้างสรรค์ขึ้น
ดังนั้นในการรับรู้ประสบการณ์ทางสถาปัตยกรรมในเชิงรูปธรรมจึงเกี่ยวโยงกับ
การสัมผัส การมองเห็น ได้ยิน และได้รับรู้กลิ่น
ดังนั้นการเกิดความตระหนักรู้ และทำงานร่วมกับองค์ประกอบเชิงคุณภาพเหล่านี้

จึงเป็นเนื้อหาใจความหลักของการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมที่ถูกตั้งคำถามไว้ใน
เบื้องต้น

งานออกแบบที่เกิดขึ้นในสตูดิโอทำงานภายใต้เงื่อนไขของวัสดุ มีเป้าหมายอยู่บนสิ่งที่จับต้องสัมผัสได้ซึ่งประกอบขึ้นจากวัสดุจริง เช่น ดินเหนียว หิน ทองแดง เหล็ก ผ้าขนสัตว์ ผ้า ไม้ อิฐ และอื่นๆ “หุ่นจำลอง”
ที่สร้างจากกระดาษแข็งในความเป็นจริงแล้วไม่มีตัวตน เป็นเพียงสิ่งสมมติ
ที่จริงแล้วคือการสร้างวัตถุจริงสัมผัสรับรู้ได้
เป็นงานสามมิติบนพื้นฐานของมาตราส่วนจริงที่กำหนดขึ้น

เฉกเช่นเดียวกันกับการเขียนแบบ ผังพื้นแบบเข้าสเกลจึงมีจุดเริ่มต้นจาก “ของจริง” ดังนั้นกระบวนการออกแบบจะถูกย้อนกลับ จากมาตรฐานและความคุ้นเคยที่เริ่มต้นด้วย ‘ความคิด’ (idea) – ผังพื้น
(plan) – วัตถุจริง (concrete object)
ไปสู่การคิดคำนึงถึงวัตถุที่สร้างได้ในโลกแห่งความเป็นจริง
แล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมาเขียนลงในกระดาษ

ในหัวสมองเราบรรจุภาพสถาปัตยกรรมมากมายจากการใส่ใจและรับรู้สิ่งแวดล้อม รอบๆซึ่งที่มีอิทธิพลต่อตัวเรา เราสามารถเรียกภาพต่างๆเหล่านี้ขึ้นมาดู และพิจารณามันใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า
แต่นี่ยังไม่ใช่การสร้างงานออกแบบที่แตกต่าง หรือสถาปัตยกรรมรูปชิ้นใหม่
งานออกแบบต้องการภาพที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน
ภาพเก่าที่เราบันทึกเอาไว้เพียงแต่ช่วยให้เราค้นหาสิ่งใหม่ๆนั้นเจอต่างหาก

การพิจารณาภาพต่างๆเหล่านี้เมื่อทำการออกแบบจะเกิดขึ้นในภาพรวมทั้งหมด ของกระบวนการออกแบบ ด้วยธรรมชาติในตัวมันเอง ภาพเหล่านั้นสะท้อนถึงภาพความจริงที่เป็น ผนังและพื้น
ฝ้าเพดานและวัสดุต่างๆ การให้อารมณ์ของแสงและสีในห้อง คือตัวอย่างเบื้องต้น
และเรายังสามารถจินตนาการถึงรายละเอียดของการเปลี่ยนจากพื้นไปยังผนัง
และจากผนังไปยังช่องเปิด นั่นคือความต่อเนื่อง
ราวกับว่ากำลังดูภาพยนต์เรื่องหนึ่งอยู่ในหัวสมอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเริ่มต้นการออกแบบและพยายามที่จะสร้างภาพที่ปราถนาจะให้เป็นผ่าน องค์ประกอบที่มองเห็นได้ของภาพอ้างอิงเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องที่ทำได้อย่าง
ง่ายดาย ในจุดเริ่มต้นของกระบวนการ ภาพต่างๆมักจะไม่เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์
เราจึงพยายามที่จะเชื่อมต่อไปยังสาระสำคัญในงานนั้นๆและทำให้มันชัดเจนขึ้น
เรื่อยๆ เพื่อเติมส่วนที่ขาดหายไปจากจินตภาพ
สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เราไม่หลงไปกับสาระในเชิงนามธรรมและทฤษฏี
มันช่วยให้เรามุ่งไปสู่การค้นหาสภาวะที่แท้จริงและจับต้องได้ของคุณภาพทาง
สถาปัตยกรรม ช่วยเตือนสติไม่ให้เราหลงไปกับความสวยงามของ “แบบ”
จนเริ่มสับสนว่าอะไรคือคุณภาพที่แท้จริงของงานออกแบบการสร้างภาพภายใน
จินตนาการนั้นถือเป็นกระบวนการธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคิด ดังนั้น การเชื่อมโยง ความกระตือรือล้น อิสระ
ความเป็นระเบียบแบบแผน ของกระบวนการสร้างจินตภาพทางสถาปัตยกรรม ที่ว่าง
สีสัน และความรู้สึกสัมผัสรับรู้
เหล่านี้คือนิยามที่เหมาะสมและเป็นพื้นฐานในการให้คำจำกัดความ “การออกแบบ”

Views: 647

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service