เรียงร้อยศิลปะด้วยชนชาติ (KUNST FÜR MILLIONEN 100 SKULPTUREN DER MAO-ZEIT)

หลายครั้งที่ฉันได้มักจะตั้งคำถามกับตัวเองว่า บทบาทของงานเขียนและศิลปะ ภายในการปกครองพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นมอบอิสระเสรีให้กับศิลปินได้ดีพอหรือยัง ถึงวันนี้จีนให้อิสระเสรีแก่นักคิดและนักเขียนมากขึ้นบ้างหรือไม่ ?
คำถามนี้ไม่ต้องการคำตอบสำหรับงานชิ้นที่เราจะกล่าวถึง
เพราะแน่นอนว่าเรากำลังพูดถึงศิลปะที่อยู่เหนือการเมืองใดๆ
และไม่สมควรจะถูกครอบคลุมด้วยระบบการเมืองใดๆ
เราไม่ใช่นักปรัชญาหรือนายทุนที่จะต้องหาคำตอบ
สำหรับศิลปะนั้นมีทางออกไปยังอีกด้านหนึ่งของโลกเสมอ

http://www.vgf-ffm.de/uploads/pics/Willy.Brandt1.jpg
เหมา เจ๋อตุง (毛澤東) และโปสเตอร์งานที่ประดับประดาทั่วสถานีรถไฟเมืองแฟร้งเฟิรต์

เรียงร้อยศิลปะด้วยชนชาติ 100 ชิ้นปฏิมากรรมแห่งยุค Mao-Era (ซึ่งจะว่าไปแล้วก็คือปีค.ศ. 1949 ถึง 1976 ที่เหมาเจ๋อตุง ปกครองอยู่นั่นเอง) งานศิลปะนี้เป็นงานที่โอกาสของเราจะได้ชมฉิวเฉียดไปมาก
เพราะหลังจากจองตั่วเครื่องบินไปเยอรมัน วันกำหนดแสดงงานก็ใกล้จะปิดพอดี
แต่ของดีๆและอยู่ในเอเชียด้วยกันแบบนี้เราไม่พลาดอยู่แล้ว
งานถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Schirn Kunsthalle Frankfurt กลางเมืองกรุงแฟร้งเฟริต์ค่ะ ซึ่งชุดงานศิลปะเหล่านี้ถูกนำมาจัดแสดงควบคู่ไปกับช่วงเทศกาลงานหนังสือ Frankfurt Book Fair's focus on China
และแน่นอนค่ะมีงานหนังสือก็ต้องมีการถกเถียงในข้อคิดเห็น เรื่องเดิม
คำถามเดิมจากทั่วโลกที่รัฐบาลจีนยังไม่ให้คำตอบ
สำหรับหนังสือการเมือง/หนังสือต้องห้าม การควบคุม internet-sms
และล่าสุดก็ถึงกับแบนมือถือ Android
เพราะต่อเนื่องมาจากสงครามสิทธิของเว็บเสิรจ์ยักษ์ใหญ่ Google.com
งานชุดนี้จึงถูกคนเยอรมันทั้งหลายพูดถึงกันอยู่ไม่น้อย
แม้ว่าวันที่เราไปตัวงานใกล้จะปิดแล้วก็ยังมีทั้งนักศึกษาและผู้สนใจเข้ามา
เยี่ยมชมกันไม่ขาดสายเลยค่ะ

http://www.hypertours.com/go/travel-news/images/mao_zeit_web.jpg

ภาพแรก โปสเตอร์งาน และ นี้ ตั่วเข้าชมงาน 0.00 EUR ของเราเอง
(เพราะจ่ายตั๋วเข้าชมพิพิธภัณฑ์รายปีไปแล้ว อิ)


รายละเอียดแบ่งแยกกันเป็นชุดๆ ภายใต้คอนเซปเดียวกันมีชื่อว่า The Seven Scenses of Rent Collection Courtyard (Die sieben Szenen des Hof für die Pachteinnahme) โดยประกอบไปทั้งหมด 7 ชุด บรรยายถึงความยากลำบากของกรรมชีพ ชาวนาชาวไร่คนจนที่ต้องทำมาหากินในที่นาแร้งแค้นเพื่อจ่ายค่าเช่าให้กับเจ้าของที่ดิน (Large Landowner) คือนาย Liu Wencai
ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหน้าเลือดแถมยังมีการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ที่แกล้ง
ทำเป็นเมินเฉยความทุกข์ร้อนของชาวบ้านอีกต่างหาก
จนกระทั่งการเข้ามาถึงของท่านเหมาเจ๋อตุงและพรรคคอมมิวนิสต์
ที่ในช่วงยุคสมัยของท่านเหมาฯได้เข้ามายึดที่ดินเอกชนเข้าเป็นของรัฐ
เหล่าชาวบ้านทั้งหลายจึงได้ปลดทุกข์และคนหนุ่มคนสาวก็ร่วมกันต่อสู้(ตามสูตร
สำเร็จลัทธิคอมมิวนิสต์) มาเพื่ออิสระเสรีภาพ
ส่วนที่รอดชีวิตมาได้ก็บอกเล่าถึงความยากลำเค็ญของชาวกรรมชีพจีนในยุคนั้น





เรียงร้อยศิลปะด้วยชนชาติ 100 ชิ้นปฏิมากรรมแห่งยุค Mao-Era เหล่านี้ถือเป็นชุดงานที่สำคัญชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะยุคโม เดิรน์อารต์จีน (Modern Chinese art History) เริ่มจัดทำขึ้นในช่วงปีค.ศ.
1965 โดยคณะอาจารย์และศิษย์เก่าแต่งตั้งจากกรมศิลปะเสฉวน (Sichuan Fine
Arts Institute) ณ เมืองคุนหมิง
เพื่อให้เป็นศิลปะแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมจีน (Cultural Revolution)
ปฏิมากรรมหลายชิ้นก็มีทั้งวิถีชีวิตเก่าของชาวจีนและกลิ่นอายของคอมมิวนิสต์
แทรกผสมกัน เป็นอารมณ์เศร้าหมองและหดหู่
วงจรอุบาวท์เหล่านี้จะกลับมาลงที่พี่น้องกรรมชีพชาวจีนอีกครั้งหรือไม่
ไม่มีใครรู้
เราก็ได้แต่หวังว่าศิลปินและนักเขียนชาวจีนจะได้เสรีภาพในการบรรยายงานทาง
ศิลปะร่วมสมัยมากขึ้น ภายใต้ม่านหมอกควัน.






























Views: 394

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

Comment by Gong on March 12, 2010 at 1:41am
ขอบคุณมากๆครับที่เอามาให้เราได้อ่านกัน
(ขณะที่อ่านนี่ผมง่วงมาก กลับมาจากที่ทำงาน แต่ก็ยั๊งจะอ่านจนจบ)
เพราะทำให้รู้สึกเหมือนได้เดินเข้าไปในมิวเซี่ยมด้วย

ขอบคุณมากครับ
Comment by AspireCreation on March 6, 2010 at 11:17am
สวยงามมาก
Comment by daxter on March 5, 2010 at 5:43pm
สุดยอด...หุ่นแต่ละตัวที่เห็นคือความจริงเมื่อครั้งอดีต ดูแล้วก็สะท้อนใจ
Comment by Chronos on March 5, 2010 at 5:14pm
สรุปว่าในขณะที่ศิลปะไม่มีกรอบ แต่ศิลปินยังอยู่ในกรอบใดกรอบหนึ่งเสมอ

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service