Inspiration: ยุคไซเบอร์พังค์(Cyber Punk) ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางเทคโนโลยีถึงขีดสุด แต่ “สงคราม” และ “การกบฏ” ก็ยังเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้
Concept : เสื้อผ้าในคอลเลคชั่นเน้นไซเบอร์เป็นหลัก รูปแบบของเสื้อผ้าได้จากการศึกษาสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในภาพยนตร์ บวกกับการสร้างพื้นผิวใหม่ให้กับผ้าเน้นให้ผ้ามีมิติมากขึ้นพร้อมสื่อให้เห็นถึงสงครามและการกบฎไปพร้อมกันผ่านการสกรีนลายลงบนเนื้อผ้าด้วยสียาง,สีนูน,การสกรีนลายลงบนอะคริลิกด้วยสีแป้งยางแล้วปักลงบนเนื้อผ้า และการเคลือบหน้าผ้าบางส่วนด้วยสีแป้งยาง

ts01
ts02
ts03
ts04


process :
นำแรงบันดาลใจในการออกแบบเสื้อผ้ามาคิดๆๆๆ หาข้อมูลให้ได้มากๆ แล้วค่อยมาสาระตะว่า สิ่งใดในแรงบันดาลใจสื่อออกมาเป็นฟอร์ม ดีเทล ซิลลูเอท และอื่นๆ พอดีในขณะนั้นได้ดูภาพยนตร์การ์ตูน3Dเรื่อง *BLAME* ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับยุคไซเบอร์พังค์ที่มีเทคโนโลยีสูงสุด แต่มีองค์กรหนึ่งซึ่งส่งพระเอกของเรื่องมาหาสิ่งๆหนึ่ง ซึ่งเปรียบได้กับโปรแกรมแอนตี้ไวรัสเพื่อทำให้โลกที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนั้นกลับมาเป็นโลกแบบที่เราๆอาศัยกันอยู่ในปัจจุบัน แต่ข้าพเจ้าคิดว่าการนำภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องเดียวทำให้ไม่สามารถเข้าถึงยุคไซเบอร์พังค์ได้ลึกซึ้งมากพอ จึงได้หาภาพยนตร์เกี่ยวกับไซเบอร์พังค์มาดูอีกหลายเรื่อง อาทิเช่น Matrix, Ani-Matirx, Appleseed, Blade Runner, Gataga และอื่นๆ ซึ่งการตความอาจจะเป็นไปในทิศทางได้แล้วแต่ผู้ดู แต่ข้าพเจ้าเห็นถึงเทคโนโลยีที่สูงส่งอย่างมาก แต่กลับกลายเป็นก่อสงครามและการกบฏกันอย่างไม่หยุดยั้งไม่ว่าจะเหตุผลใดก็แล้วแต่ นี่จึงเป็นที่มาของการออกแบบเสื้อผ้าในคอลเลกชั่นนี้

mood board
ภาพmoodboardแสดงแรงบันดาลใจ

เมื่อรวบรวมแนวความคิดได้แล้ว ต่อไปก็มานึกถึงอะไรอีกหลายๆอย่างก่อนที่จะสเก็ตช์แบบเสื้อผ้า ข้าพเจ้ามองหาซิลลูเอทของเสื้อผ้าของข้าพเจ้าก่อน ซิลลูเอทก็คือโครงร่างเงาของเสื้อผ้า เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงรูปร่างเมื่อผู้สวมใส่เสื้อผ้าสวมใส่เสื้อผ้าว่าจะออกมามีรูปร่างอย่างไร มันสามารถแสดงถึงอารมณ์ ความรู้สึก ยุคสมัย แนวความคิด และอื่นๆอีกหลายอย่าง เริ่มแรกข้าพเจ้าลองสเก็ต์ซิลลูเอทออกมาหลายๆแบบก่อนโดยอิงจากแรงบันดาลใจของข้าพเจ้า ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมาจากเสือ้ผ้าของตัวละครเท่านั้น สามารถนำมาจากสิ่งของหรือสถาปัตยกรรมอื่นๆก็ได้ แล้วจึงเลือกซิลลูเอทที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดออกมา1ซิลลูเอท ที่เลือกมาเพียง1ซิลลูเอทเนื่องจากคอลลเกชั่นนี้มีเพียงเสื้อผ้าไม่กี่ชุด หากเลือกซิลลูเอทมามากๆจะทำให้ดูรวมเป็นคอลเลกชั่นเดียวกันไม่ได้

Photobucket
ภาพแสดงที่มาซิลลูเอท
PhotobucketPhotobucket
ภาพแสดงการออกแบบซิลลูเอทเสื้อผ้า
Photobucket
ภาพซิลลูเอทที่มาใช้

ต่อมาคือสีที่ใช้ในการออกแบบ ควรใช้ประมาณ5-7สีพอเพราะจำนวนชุดในคอลเลกชั่นมีไม่มากนัก สีที่เลือกใช้จะตามเรื่องราวเป็นหลัก และนำเทรนด์มาใช้ร่วมด้วยเป็นส่วนน้อย สีหลักคือสีดำ สีรองคือสีน้ำเงิน และสีไฮไลท์คือสีเงินและสีเหลืองสะท้อนแสง สีที่นำมาใช้แต่ละสีควรมีส่วนของเนื้อสีที่ทั้งเกี่ยวข้องกันและแตกต่างจากกันโดยสิ้นเชิง สีดำและน้ำเงินโทนมืดที่นำมาใช้นั้นเนื่องจากบรรยากาศขงยุคไซเบอร์พังค์ที่ส่วนมาจะมึมน และสีเหลืองสะท้อนแสงก็นำมาจากในยุคนี้ที่มีการเล่นสีสะท้อนแสงด้วยและอิงเทรนด์สีที่ใช้ในการออกแบบเสื้อผ้าในขณะที่กำลังออกแบบเช่นกัน แต่ไม่นำมาใช้มากเพราะจะทำให้ดูหลุดออกจากคอลเลคชั่น
colorway
ภาพชาร์ตสีที่นำมาใช้ในคอลเลคชั่น

ต่อมาก็ไปเดินหาวัสดุตามสำเพ็ง พาหุรัต และเจริญรัถ เนื้อผ้าที่เลือกจะเป็นผ้าใยสังเคราะห์ชนิดต่างๆเพื่อให้เข้ากับแนวความคิด โดยจะขอตัวอย่างผ้าและเลือกซื้อมาบางชนิดเพื่อมาทดลองทคนิค และเอาmoodboardและชาร์ตสีไปด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจ ส่วนการเลือกอะคริลิกมาใช้ประกอบเพราะอยากให้ตรงกับยุคไซเบอร์พังค์ที่อาจจะไม่มีผ้าใช้นุ่งห่มแล้ว ต้องนำสิ่งที่มีในยุคนั้นมาใช้นุ่งห่มแทน และจากการทดลองอะคริลิกให้ผลเป็นที่น่าพอใจที่สุด
PhotobucketPhotobucket
ภาพแสดงวัสดุที่ใช้ในการออกแบบ

ต่อมาก็มาดูถึงเรื่องฟอร์มเสื้อผ้า โดยออกแบบดูจากสิ่งต่างๆที่อยู่ในแรงบันดาลใจเป็นหลัก แต่อีกสิ่งอีกหนึ่งที่ควรศึกษาคือเสือ้ผ้าในสไตล์เดียวกับเราที่เคยมีดีไซเนอร์คนอื่นๆเคยออกแบบไว้ก่อนหน้านี้เพื่อเสริมความคิดของเราและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้แก่เสื้อผ้าของเรา มิใช่เพื่อการลอกเลียนแบบแน่นอน ในที่นี้สไตล์เสื้อผ้าคือสไตล์Futurism
Photobucket
ภาพแสดงฟอร์มเสื้อผ้าที่เคยมีดีไซเนอร์คนอื่นเคยออกแบบไว้ก่อน

เทคนิคที่ใช้เป็นหลักในที่นี้คือการสกรีนลายผ้า เพื่อให้ลายผ้าได้แสดงออกถึงการกบฎและสงคราม แต่ที่ข้าพเจ้าเลือกการสกรีนไม่เลือกการพิมพ์ลายผ้าด้วยระบบอิงค์เจ็ทนั้นเป็นเพราะการสกรีนสามารถสร้างพื้นผิวให้ผืนผ้าได้ด้วย ทั้งนี้ตรงกับความคิดที่อยากจะสร้างพื้นผิวใหม่ให้กับผ้าให้ดูเป็นสไตล์เสื้อผ้าแนวอนาคตมากขึ้น
ลายสกรีน07ลายสกรีน02
ตัวอย่างลายผ้าที่สเก็ตช์
PhotobucketPhotobucket
ภาพลายผ้าที่นำมาสกรีน
โดยลายลูกกระสุนปืนและลายทางนั้นสื้อถึงการรัวปืนใส่กันและเส้นๆลายทางสามารถเร้าอารมณ์ตื่นเต้นแก่ผู้พบเห็น ส่วนอีกลายสื่อมาจากการเรียงแถวทัพทหารหุ่นยนต์ ต่อมาก็ลองซื้อสีสกรีนมาหลายๆชนิดเพื่อนำมาทดลองสกรีนว่าสีชนิดใดตรงกับแนวความคิดและหาผลลัพธ์ใหม่ๆในการสกรีนด้วย สีกสรีนที่เลือกใช้คือสียาง สีแป้งยาง และสีนูน โดยสียางจะให้ความมันแก่ผ้า สีนูนเมื่อสกรีนแล้วนำไปรีดด้วยความร้อนลายที่สกรีนจะนูนขึ้นมา และสีแป้งยางนั้นปกติจะนำมาผสมเนื้อสีสกรีนเพื่อให้เนื้อสีอ่อนลง แต่ในที่นี้ข้าพเจ้านำมาสกรีนและทาหน้าผ้าเพื่อให้ผ้ามีความมันวาวให้เหมาะสมกับยุคไซเบอร์พังค์โดยที่ไม่ต้องใช้ผ้าหนังแก้วเพราะผ้าหนังแก้วจะทำใส้อผ้าดูราคาถูก ดังนั้นการเลือกผ้าต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ของราคาเสื้อผ้าเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วด้วย ส่วนสีนูนจะสกรีนทับด้วยสียางอีกทีเพื่อให้ลายที่ได้มีทั้งความนูนและมันในเวลาเดียวกัน และการสกรีนด้วยสียาง ทั้งนี้ทั้งนั้นข้าพเจ้าจะใช้สีเดียวกับผ้าในการสกรีนเพื่อให้มองเห็นลายขณะที่สะท้อนกับแสงเท่านั้น อีกสิ่งหนึ่งคือการสกรีนแป้งยางลงบนอะคริลิก การทำเทคนิคอะคริลิกนั้นจะต้องนำแพทเทิร์นเสื้อมาวาดรูปร่างอะคริลิกแต่ละชิ้นโดยคำนึงถึงว่าเมื่อนำไปปักลงบนเสื้อผ้าแล้วผู้สวมใส่จะต้องขยับได้ด้วย จากนั้นนำไปตัดด้วยเลเซอร์ นำมาสกรีน แล้วปักลงบนเสื้อผ้า แต่ก่อนที่จะเลือกใช้ทั้งการสกรีนและอะคริลิกข้าพเจ้าได้ทดลองหลายๆเทคนิคมาก่อนจึงจะตัดสินได้ว่าเทคนิคใดหมาะสมที่สุด
technic05technic04technic03technic02technic01
ภาพแสดงถึงเทคนิคที่นำมาใช้และการทดลองเทคนิคบางส่วน

ต่อมาก็คือขั้นตอนสเก็ตช์ที่รอคอย... นำเอากระบวนการทั้งหมดมาสเก๊ตช์โดยคำนึงถึงการคุมสีให้ได้ตรงตามชาร์ตที่วางไว้ คุมซิลลูเอต คิดแบบฟอร์มของเสื้อผ้า นำเนื้อผ้า วัสดุต่างๆ และเทคนิคเข้าไปใส่ในชุด การเลือกวัสดุต่างๆเข้าไปใส่ในแบบต้องเลือกดีๆให้วัสดุที่แตกต่างกันไปนั้นเข้ากันได้อย่างลงตัว และสเก็ตออกมามากๆให้ได้มากที่สุด
sketch06sketch05sketch04sketch03sketch02
ภาพสเก็ตช์เสื้อผ้าที่นำมาตัดเย็บเป็นชุดจริง
อนึ่ง การสเก็ตช์ควรวาดทรงผม accessories และ ท่าทางของนางแบบให้เข้ากับคอนเซปเพื่อความเหมาะสมในการนำเสนอ หากสังเกตุข้างๆภาพสเก็ตช์จะมีรูปชุดสีขาวด้วย นั้นตือ Flat Form การวาดแฟลทฟอร์มนั้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าส่วนประกอบต่างๆของเสื้อผ้าอยู่ในตำแหน่งใดบนตัวผู้สวมใส่ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันระหว่างผู้ออกแบบและช่างตัดเย็บ เมื่อเลือกสเก็ตช์ได้แล้วต้องตัดเย็บเสื้อตัวอย่างด้วยผ้าชนิดใดก็ได้ที่เนื้อผ้าลักษณะคล้ายกับเนื้อผ้าจริงที่เราจะใช้ตัดชุด โดยส่วนมากมักจะใช้ผ้าดิบเพราะมีราคาถูก และมีเนื้อผ้าหลากหลายแบบให้เลือกใช้ การตัดชุดตัวอย่างนี้เราสามารถได้ดูผลงานของเราก่อนที่จะตัดจริง เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องให้ถูกต้องหรือหากคิดว่าเสื้อผ้าเราออกแบบมาไม่สวยก็สามารถแก้ไขในขั้นตอนนี้ได้เลย เพราะขั้นตอนนี้จะเชื่อมโยงไปถึงแพทเทิร์นที่เราจะนำไปตัดเป็นชุดจริงด้วย
PhotobucketPhotobucketPhotobucket
ภาพแสดงการตัดเย็บชุดตัวอย่างก่อนการตัดเย็บชุดจริง

เมื่อแก้ไขจนเป็นที่พอใจแล้วจึงนำไปตัดเย็บชุดจริง.............

Views: 510

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

Comment by Binque Noumong on October 4, 2009 at 9:16pm
tres futuristic!!

ชอบถุงเท้าจากชุดที่สอง เหมือนสิ่งของทดแทนหนังจระเข้
Comment by Art Nimitphan on September 7, 2009 at 1:12am
งามแท้
Comment by Withit Korprasertsri on September 6, 2009 at 8:39pm
process เยอะจนเถียง ไม่ออกเลยนะ
ดีๆ
ชุดสีขาวดูได้อีกอารมดีอะ ชอบๆ
Comment by Jirapa Paibulsathit on September 3, 2009 at 4:37pm
ใกล้โดนพี่เอซงอนและ ไม่ยอมลงซักที 55+

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service