พระอัจฉริยภาพด้านจิตกรรมของ 'พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว'

'เพียรหาจนหมดโลกก็ยากพานพบ น้อยคนจักมีโอกาสได้เป็นทั้งพระมหากษัตริย์และศิลปินในคราวเดียวกัน'

ผลงานภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเริ่มเผยแพร่สู่สายตาสาธารณะชนอย่างแพร่หลายเมื่อปีพุทธศักราช 2506 คราวนั้นมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพเข้าร่วมแสดงในการแสดงศิลปกรรม ครั้งที่ 14 นับตั้งแต่นั้นพระอัจฉริยภาพด้านจิตกรรมของพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยก็ขจรไกลเป็นที่รู้จักทั้งในไทยและต่างประเทศ จิตกรรมฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรากฏออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ และเรียงลำดับเป็นยุัคดังนี้ ภาพแนว Realistic, Expressionism และ Abstractionism 

ภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีการพัฒนาค้นหาเทคนิคใหม่ ๆ อยู่เสมอ นิยมใช้สีสันสดใสแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกจริงจัง ภาพมีชีวิตชีวาเปี่ยมพลัง ร้อนแรง มีความมั่นใจและให้อิสระกับการวาดโดยไม่คำนึงถึงกรอบของความสวยงามหรือทฤษฎีทางศิลปะ ภาพมีความซื่อสัตย์ต่อความนึกคิดที่อยากจะสื่อในขณะนั้น ทรงสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลงานตั้งแต่ภาพเหมือน มาจนถึงภาพแนวนามธรรมก็ยังมีความเป็นเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของพระองค์ ไม่ใช่แค่ภาพสีสันสดใสรุนแรง ในบางภาพพระองค์ก็ทรงเขียนออกมาได้อย่างลึกล้ำนุ่มนวล อาทิภาพ 'สมเด็จพระราชบิดา' หรืออย่างภาพ 'มือแดง' ซึ่งสามารถแสดงออกด้านอารมณ์ได้อย่างน่าสนใจ 

[ via: KING'S ARMY ]

Views: 2163

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service