มีคนถามไถ่เกี่ยวกะงานชิ้นนี้ ไหนๆก็ว่างๆแล้ว ผมจะเล่าให้ฟังเลยละกัน
เริ่มจาก assignment นี้เป็น assignment ที่สองต่อจาก assignment1:Project Mosques ซิ่งเป็นproject กลุ่ม(ทำกันสามคน) ของวิชา Interactive Communication (ปีสามเทอมหนึ่ง 2007)
เริ่มจาก
Project Mosque ก่อนเลยนะ
projectแรก อาจารย์ Nigel Power จะมีlistของสถานที่ต่างๆเช่น Hospital, Museum, Bus station... etc. ให้เราเลือกไปobserve เลือกไปเลือกมา ก็เหลืออยู่ที่เดียวเป็นที่สุดท้าย: Religious place แล้วมันดันมีวงเล็บไว้ว่า (not the same religion as you are or the one you are already familiar with) นั่นไงโดนเลย จุดมุ่งหมายการไปobserve เลยเป็น MOSQUES

ที่ตั่งของMosqueนี้อยู่ที่ทุ่งครุแถวๆบางมด ก็ขอบอกไว้เลยว่าพวกเราไม่ได้อยากลบหลู่ศาสนานี้นะ แต่ไม่คุ้นเคยจริงๆ และไม่มีความรู้อะไรขนาดนั่นกับศาสนานี้เลย ตอนobserve วันแรกงงๆและแอบอึดอัดเพราะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น มีพิธีกรรมที่แปลกไปจากที่เราเคยเห็น(เพราะไม่เคยรู้มาก่อนว่าเค้าต้องทำอะไรในนั้นบ้าง) พวกเรามุ่งสังเกตตั้งแต่ การทักทาย การแต่งกาย พิธีกรรมต่างๆ จนถึง เรื่องของบริเวณต่างในสถานที่นั้นๆ จนวาดออกมาเป็นMAP size A0 3แผ่น
มีการตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับข้อมูลที่เก็บมาได้ ตลอด3อาทิตย์ที่กลับไปobserveอยู่เรื่อยๆ คำถามเรื่องphysicalต่างๆ เช่นการใช้spaceและinteractionกะspacesต่างๆ ดูเป็นคำถามที่น่สนใจและเราก็อยากกลับไปobserveอีกรอบ แต่กลับมาทบทวนอีกทีแล้ว คำถามพื้นๆเลยที่เรามองข้ามไปคือ อะไร ที่ทำให้เราตัดสินเค้า(วะ)
เราเลยกลับถามตัวเอง และทุกคนก็นึกถึงประเด็นเกี่ยวกับไฟใต้ช่วงนั้น ก็รู้นะว่าสื่อเป็นสื่อแหละ แต่ทำไมคนถึงคิดว่าเป็นเรื่องของศาสนา และศาสนาเป็นต้นเหตุของความต่างซึ่งทำให้พวกเรามีเรื่องกัน อย่างงั้นหรอ? พวกเราก็คนเหมือนกันหนิหว่า ต่างกันแค่สิ่งที่เค้ายึดเหนี่ยวเอง
เราเลยตัดสินใจถ่ายทอดออกมาเป็นVDOแนวทดลองที่สะท้อนให้เห็นชีวิตจริงของพวกเค้า แต่เวลาแค่สัปดาห์เดียวบวกด้วยประสบการณ์อันน้อยนิดเราเลยเลือกที่จะถ่ายชุมชนกับโรงเรียนแถวๆนั้น
ดูไปแล้วมีหลายfootages ที่เราชอบๆกัน โดยเฉพาะอันที่ถ่ายที่โรงเรียน เพราะมีเด็กๆทั้งพุทธและมุสลิมเรียนอยู่รวมๆกัน

เราเลยเลือกfootage ที่เป็นเด็กเล่นกันตอนหลังเลิกเรียน เราเลยดึงมันให้ยาวขึ้นให้เห็นรายละเอียด ของเด็กที่กำลังเล่นกันหยอกล้อกัน

ความหมายที่เราพยายามสะท้อนให้เห็นก็คือแง่ของ innocent และ friends แต่ในทางตรงกันข้ามในขณะเดียวกันด้วย (ไฟใต้) ซึ่งประเด็นนี้เราโยงด้วยวิธีการติดตั้งscreenด้วยกระดาษไขซึ่งคลุมข่าว(จากหนังสือพิมพ์)พวกนั้นไว้ เวลาคนดูเดินเข้ามาอ่าน ต้องกดกระดาษไขให้แนบกับข่าวถึงจะอ่านได้ เป็นสิ่งที่เราพยายามสื่อว่าหรือบ่งบอก ถึง"การได้สัมผัสเข้าถึง" จากLayer ข้างนอกนั้น (งงๆมะ)

รวมๆก็ออกมาโอเคนะ ติดที่ว่าprojectนี้ทำยากนิดนึงเพราะเป็นเรื่องของศาสนาที่เราไม่รู้จริง และพวกเรากลัวเพราะอาจจะทำอะไรที่เป็นการลบหลู่พวกเค้า อาจารย์ก็เข้าใจ ช่างเป็นprojectทดลองจริงๆ
......................................
Assignment 2: Pre-judge // เขา อะไร เธอ (outcome)
หลังจากprojectแรกจบลง อาจารย์ก็ให้เราแยกกันทำ แต่ให้ดึงkeywordออกมาจากprojectที่แล้ว ผมได้เลือกประเด็นของการตัดสินกันที่ภายนอก "Pre-Judge" ผมก็กลับมาดูว่าอะไรตัดสินเราที่ภายนอกได้
การแต่งกาย เป็นสิ่งหนึ่งที่บงบอกสถานะและอาชีพได้ ไหนจะอายุ หน้าตา เพศ อีกมากมาย แต่มีสิ่งของที่พกพาหรือมีไว้นั้นสามารถต่อยอดอีกความหมายนึงของสถานะนั้นๆด้วย พูดไปแล้วก็งงตัวเองเหมือนกัน แต่คิดไปคิดมาแล้ว สิ่งของเหล่านั้นแหละเป็นสิ่งที่บ่งบอกกริยานั้นๆ(verb: สิ่งที่ทำ) แต่เราไม่อาจรู้ได้ว่ากริยานั้นเป็นไปด้วยจุดประสงค์อะไร(intention) คนเราอาจตัดนสินไปโดยที่ไม่ต้องคิดอะไรก็ได้ หรือจะคิดดีคิดร้ายก็แล้วแต่ ผมเลยคิดว่าสิ่งนี้แหละน่าจะเอาไปทำอะไรได้ สัปดาห์ต่อมา ผมเลยออกไปเก็บภาพของคนในสถานะต่างๆ และสิ่งของต่างๆ
กลับมาคุยกะอาจารย์ พร้อมภาพพวกนั้นที่ถูกprintออกมา วางไปวางมาคุยไปคุยมา ภาพพวกนั้นก็เกิดpatternขึ้นมาในแง่ของรูปไวยกรณ์ แบบพื้นๆ ที่มีแค่ ประธาน กริยา และ กรรม (ตอนแรกจะมีสถานที่ด้วยแต่มันดูเยอะไปหน่อยเดี๋ยวหลุดtheme และดูยุ่งยากนิดนึง)นั้นแหละเป็นformatหลักๆของงานชิ้นนี้เลย ส่วนเรื่องที่มันโดนdevelopmentออกมาเป็นCard game ก็เพราะ เรานี่แหละที่เป็นคนเล่นเกมส์พวกนี้ บวก มันเป็นวิชา Interaction Communication เลยต้องมีfunctionตรงนี้อยู่
คราวนี้แหละ อาจารย์ให้โจทย์ออกมาว่า ทำยังไงก็ได้ ให้คนเล่นได้โดยที่ไม่มีคำสั่งใดๆ(no instruction) แบบว่าห้ามมีคนสอนให้เล่น เข้ามาแล้ว ต้องให้คนเล่นๆได้เลย ก็เลยคิดถึงเรื่องกฎของการmatchingขึ้นมา อย่างที่เห็นเลย เป็นแค่โต๊ะที่มีเขียน "เขา" "อะไร" "เธอ" เหมือน cards แต่ละใบที่มีเขียนไว้เหมือนกัน ซิ่งคนที่หยิบมันขึ้นมา น่าจะรู้ว่าควรจะวางไว้ช่องไหน


ในแต่ละด้านของโต๊ะ คำสามคำนี้จะโดนวางต่างกัน เช่น "เขาอะไรเขา" "เธออะไรเขา" "เธออะไรเธอ" ซึ่งงทำให้fitกลับด้านทั้งสี่ของโต๊ะ ส่วนเรื่องของการเล่น ขึ้นอยู่กับการตัดสินของแต่ละคน ตามConceptเลยคร้าาาาาาบ :)

ก็ประมานนี้แหละ กว่าจะได้งานชิ้นนี้ขึ้นมา: "เขา อะไร เธอ" ที่มาและการสร้างสรรค์ก็กินเวลาไปหนึ่งเทอมเต็ม
ไว้ถ้ามีเวลา จะขุดออกมาdevelopต่อ อาจเป็นในแง่ของการใช้mediumที่ต่างไป ก็ยังไม่รู้นะครับ
ไว้ถ้าclickกะอะไรขึ้นมา คงทำต่อแหละ
You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!
Join PORTFOLIOS*NET