ว่าด้วยเรื่องดนตรี เซ็กส์ กับแรงจูงใจทางสังคม

ว่าด้วยเรื่องดนตรี เซ็กส์ กับแรงจูงใจทางสังคม

 

สำหรับ บทความนี้ผมจะอธิบายสั้นๆถึงดนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ และจิตวิเคราะห์อีกนิดหน่อย ว่าจนถึงในปัจจุบันว่าเราผลิตดนตรีเพื่ออะไร ดนตรีเกี่ยวข้องกับเซ็กส์ตั้งแต่เมื่อไร และกล่าวไปถึงกระแสเพลงเคป็อปที่ปัจจุบันกำลังติดกันงอมแงมด้วย ที่ผมเขียนขึ้นมาจากการวิเคราห์ของผมเองบวกกับข้อมูลที่ผมได้อ่านมา

ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ตามทฤษฎีของฟรอยด์ (Freud) ถ้าเราเอากรอบทางสังคมและวัฒนธรรมออกไปแล้วมนุษย์เกิดมาเพื่อตอบสนองทางเซ็กส์ (เซ็กส์ของฟรอยด์ไม่ได้หมายถึงร่วมเพศเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการกระทำอื่นๆเพื่อให้ได้มาถึงความพึงพอใจทางเพศ) ฟ รอยด์ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อเกิดระบบศีลธรรมขึ้นมนุษย์ได้แปลงสัญชาติญาณทาง เซ็กส์ไปเป็นกิจกรรมอื่นเช่นงานศิลปะ วรรณกรรม หรืองานสร้างสรรค์อื่นๆ เหตุนี้ผมจึงหยิบมาพูดในด้านดนตรี ถึงศิลปะเป็นเรื่องไม่จำเป็นกับชีวิต แต่มันยังมีอยู่เพื่อบางอย่าง..

 

ดนตรีเกี่ยวข้องกับเซ็กส์ตั้งแต่เมื่อไร? ส่วน ตัวผมคิดว่าตั้งแต่เริ่มมีดนตรีย้อนไปสมัยเมโสเตเมียหรือเก่าแก่กว่านั้น แต่ถ้าจากการเริ่มมีบันทึกแล้วล่ะก็เริ่มจากดนตรีที่ไม่ได้แต่งเพื่อ พิธีกรรมหรือพิธีทางศาสนา (หรืออาจมีเกี่ยวข้องบ้างเหมือนงานศิลป์อื่นๆ) ในช่วงศตวรรศที่15-16 ที่ ดนตรีเริ่มใช้เพื่อความบันเทิง เขียนเพลงจากจินตนาการตนเองในเรื่องอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เช่นเพลงพื้นบ้าน จนถึงโอเปร่าหรือซิมโฟนี ที่มีการอธิบายทั้งตรงๆหรือเป็นนัย อย่างเช่นลองไปดูต่อที่ http://www.limelightmagazine.com.au/Article/290306,sex-love-and-erotica-in-classical-music.aspx/8

 

ส่วนในประเทศไทยจากที่บันทึกการแสดงโขนมีขึ้นในช่วงสมัยสมเด็จรามาธิบดี สมัยอยุทธยาในช่วงศรรตวรรศที่ 15 ที่มีการแสดงบทละครกับดนตรีประกอบ เช่นเรื่องรามเกียรติ์ที่มีการบรรยายเป็นการเกี้ยวกันของตัวละคร (อย่างที่เคยเรียนตอน ม.ปลาย) จนมาถึงเช่นสมัยสุนทรภู่ที่เขียนบทละครมีการสมสู่ในเชิงสัญลักษณ์

อีกเหตุหนึ่งอาจเกิดในช่วงสุโขทัย ที่มีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านเป็นการแสดงเหมือนกับเพลงฉ่อย "เพลง นั้นเป็นเพลงพื้นเมืองที่เราเรียกว่า เทพทอง เป็นการแสดงพื้นเมืองแบบเดียวกันกับเพลงฉ่อย แต่ว่าถ้อยคำที่เขาเล่นเพลงพื้นเมืองเทพทองนี้หยาบโลนยิ่งกว่าการแสดงอะไร ทั้งนั้น ไม่มีการละเล่นใดหยาบโลนเท่าเทพทองเลย” โดย มนตรี ตราโมท (หนังสือสารัตถะดนตรีไทย :54-55) ต่อมาเปลี่ยนเป็นเพลงละคร มีปี่พาทย์รับและเรียกว่าเพลงสุโขทัย

 

มา เรื่องความสูงส่งทางดนตรีคลาสสิคนั้น เป็นความคิดที่เกิดจากสังคมบางกลุ่มเท่านั้น ทุกคนไม่ได้เห็นพ้องกับความคิดนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่ดนตรีคลาสสิกจะสูงส่ง อยู่เสมอ วาทกรรมดนตรีคลาสสิกสำหรับคนชั้นสูงนี้เป็นความคิดของยุคสมัยโบราณ และดนตรีถูกเล่นในวัง เก็บเงินราคาสูง จึงเกิดการเข้าถึงของคนบางกลุ่มเท่านั้น นั่นเป็นเรื่องของยุคที่แล้ว มาถึงยุคนี้อะไรๆก็เข้าถึงได้ง่าย แต่เรากลับจำกัดว่ามันสูงส่ง จึงเกิดการเลือกเสพ แต่สุดท้ายเราเองที่เป็นคนเลือกเสพ ดนตรีจะดีไม่ดี หรูไม่หรูจึงกำหนดไม่ได้แน่นอน แต่ที่เราฟังดนตรีเพราะว่ามันตอบสนองความต้องการของเราเองมากกว่า ส่วนบรรทัดฐานทางดนตรีนั้นเกิดมาจากคนมีการศึกษาเป็นผู้ตีความ ไม่ได้เกิดจากการรู้ได้ด้วยตัวตน

 

จน มาถึงปัจจุบันที่แนวดนตรีป็อปและร็อคแนวนี้มีบทบาทกับโลกมากกว่าแนวอื่น กับเนื้อเพลงที่หนีไม่พ้นเรื่องเซ็กส์ในหลายๆแง่ ในอย่างนึงเพื่อการขายและตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ จนเกิดเป็นระบบอุตสาหกรรมดนตรีขึ้น และลดความหมายของดนตรีลง

 

มา ถึงประเด็นที่ผมจะวิเคราะห์ถึงเรื่องบอยแบนด์เกิลด์กรุ๊ปทั้งหลายกับ พฤติกรรมการเสพของบุคคลทั่วไป ที่แทนจะเสพดนตรีกลับเสพนักแสดงเป็นอัตราส่วนมากกว่า (ใช้คำว่านักแสดงเพราะว่าพวกเขาแทบไม่มีส่วนร่วมในการผลิตดนตรี) ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวงเกาหลีเท่านั้น ดนตรีพวกนี้มีประเด็นหลังคือขายนักแสดง และยังทำสำเร็จอีกด้วย เพราะอะไร? ผมมองดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของการเติมเต็มทางเซ็กส์ (ในทุกๆแนวเพลง) สำหรับ แนวนี้นั้นจะตอบสนองความต้องการทางรูปลักษณ์และส่งผลทางจิตใจ เราจะเห็นบรรดาแฟนคลับคอยสนับสนุน ซื้อของให้ คอยตามไปรับส่ง โดยที่ไม่มีใครมองว่าเป็นคนโรคจิต ซึ่งสิ่งนี้เราไม่สามารถทำกับคนธรรมดาที่หน้าตาดีได้เพราะเขาไม่ได้เป็นคน ของประชาชน(คนดัง) สิ่งเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มให้ปมในจิตใจบางอย่าง เช่นไม่มีทางหาแฟนได้แบบนี้แน่ๆ บางคนยกให้เป็นคนในอุดมคติ(ที่เป็นไปไม่ได้)จน หันกลับมาด่าบุพการี ทำไมผู้หญิงจึงติดมากกว่าผู้ชาย โดยปกติตั้งแต่อดีตของมนุษย์ เราอยู่บนสังคมวัฒนธรรมแบบกดขี่เพศแม่ แน่นอนที่ความรู้สึกทางเพศของผู้หญิงถูกเก็บกดไว้ และไปใช้กับทางอื่นๆวมทั้งเรื่องความแตกต่างของเพศในทางชีววิทยาด้วย เพื่อตอบสนองกับความต้องการทางเซ็กส์ที่ถูกกดไว้ ไม่น่าจะเกี่ยวกับการที่มีเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่เหตุผลหลักคือกฏเกณฑ์ทางสังคม และความต้องการทางเซ็กส์มากกว่า

 

แต่ ไหนแต่ไรแล้วที่งานศิลปะใช้เป็นเพียงส่วนเติมเต็มให้มนุษย์ ยิ่งพอมาถึงยุคทุนนิยมยิ่งกลับทำให้มันชัดเจนขึ้นไปอีก และเปลี่ยนจากงานศิลปะให้กลายเป็นงานขยะที่ผลิตเพื่อขายชั่วขณะ ขาดการพิถีพิถันในผลงานไป มาร์คูส (Marcuse) เป็น นักวิเคราะห์และนักปรัชญากล่าวว่า ความอยู่รอดของระบบทุนนิยมขึ้นอยู่กับการแข่งขันและบีบบีงคับให้มนุษย์ทำงาน หนักแข่งกับเวลา งานทุกประเภทในระบบการผลิตแบบทุนนิยมเป็นงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อ ทำให้การแสวงหาความสุขความพึงพอใจน้อยลง และกลายเป็นทาสของระบบมากขึ้นไป

 

สรุปแล้วควรคิดว่าเราทำงานศิลปะมาเพื่ออะไร?

 

 

บทความโดย ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล (phil_wc)

13/4/2555

Views: 318

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service