๘๗๘ กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่

อำเภอที่ ๘๗๘ กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่

วันเสาร์ ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๔

เรา ได้เดินทางสู่จุดหมายปลายทาง ที่ อ.กัลยาณิวัฒนา  เวลา ๑๓.๐๐ น.  บนเส้นทางมุ่งสู่ อ.ปาย   จ.แม่ฮ่องสอน เลี้ยวซ้ายขึ้นสู่ อ.กัลยาฯ อีกประมาณ ๔๐ กม. ขึ้นสู่ยอดดอยอันคดเคี้ยว สูงชัน ตามแนวทิวสนตลอดเส้นทาง ใบไม้เปลี่ยนสีแดงส้มสลับกับเขียวอ่อน ได้สักระยะหนึ่งแล้ว ตลอดเส้นทางมีจุดชมวิวหลายจุดให้นักเดินทางได้หยุดพักและมองธรรมชาติอัน บริสุทธิ์เหนือน้ำมือมนุษย์ ในเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

เดินทางมาเรื่อยๆจนถึงเขาลูกสุดท้ายเข้าสู่เขต อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ เราจะพบกับท่อนสนขนาดใหญ่สลักคำว่า “อำเภอกัลยาณิวัฒนา 878”จากจุดนี้อีกประมาณ 30 กม. ลัดเลาะทิวเขาและมวลหมู่ป่าสนผืนใหญ่ที่สุดที่หลงเหลืออยู่ในประเทศไทย

กัลยาณิวัฒนา ณ ที่ ที่คนแอบอิงธรรมชาติ ธรรมชาติเกื้อกูลวิถีชีวิตและมีอิทธิพลต่อคำนบทำเนียบประเพณี ด้วย อัธยาศัยและน้ำใจอันงดงามของผู้คนที่หาได้ยากจากชุมชนเมืองในปัจจุบัน ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของดินแดนอารยธรรมที่แฝงกายในอ้อมโอบแห่งขุนเขาและ สายน้ำ     ด้านในวิหาร  ในดินแดนที่คนดำรงชีพเพื่อมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง ดำเนินตามรอยทางแห่งเอกองค์กษัตริย์   การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนถือเป็นเรื่องใหญ่ เพื่อพวกเขาจะได้ดำรงวิถีชิวิตและวัฒนธรรมอันงดงามสืบไป

วัฒนธรรมจากชุมชนเมือง กำลังเคลือบคลานมาสู่ที่นี้ แต่พวกเขายังคงวิถีชีวิตดั่งเดิมอยู่โดยมาก  และจะเริ่มซึมซับไปที่ละน้อยและอาจกลายเป็นชุมชนเมืองที่มีคนนอกพื้นที่ มากกว่าคนที่เกิดบนผืนแผ่นนี้ซะด้วยซ้ำ อ.ปาย ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน จากวิถีชีวิตชุมชนกลายเป็นแหล่งของคนเมืองที่เข้ามากอบโกยผลประโยชน์และ ทรัพยากร ล่วงล้ำและทำลายวิถีทางแห่งชุมชน การยัดเหยียดวัฒนธรรมเมืองที่ทันสมัยใส่วัฒนธรรมชุมชนดั่งเดิมโดยพวกเขาไม่ พร้อมที่จะรับหรือปรับตัว มันอาจมีผลดีในแง่เงินตราและคุณค่าทางเศรษฐกิจที่หลั่งไหลเข้าสู่ปาย   แต่ไม่สามารถเปรียบวัดคุณภาพชีวิตและความสุขของผู้คนในชุมชนดั่งเดิมได้

กัลยาณิวัฒนา.

วิหารแว่นดำ วัดจันทน์

Views: 90

Comment

You need to be a member of PORTFOLIOS*NET to add comments!

Join PORTFOLIOS*NET

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service