เปิดภาพมุมกว้างด้วยการถ่ายพาโนรามา

ลองนึกว่าเวลาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เราก็จะหมุนตัวไปมา หันซ้ายหันขวา เพื่อเก็บภาพของสิ่งรอบๆ ตัวทั้งหมดเอาไว้ นั่นเป็นเพราะมุมในการรับภาพของตาเราไม่กว้างเพียงพอที่จะเห็นได้รอบทิศ การถ่ายภาพก็เช่นกันแม้จะใช้เลนส์มุมกว้างหรือเลนส์ตาปลา ก็มีข้อจำกัดไม่สามารถเก็บภาพได้เกินกว่าเลนส์จะทำได้ ดังนั้นหากต้องการเก็บภาพด้วยกล้องให้มากกว่าที่กล้องและเลนส์เห็น เราก็ต้องหมุนกล้องเช่นเดียวกันหมุนตัวเราเอง ซึ่งสมองก็จะประมวลภาพที่เห็นต่างๆ ให้ต่อเนื่องเกี่ยวข้องกัน แต่ภาพถ่ายนั้นจะต้องใช้ซอฟแวร์เพื่อรวมภาพแต่ละภาพมาเป็นภาพเดียวกัน จึงจะได้ภาพพาโนรามาที่สมบูรณ์
ประเภทของพาโนรามา [1]
1. Planner คือภาพพาโนรามาตามยาวแบบมุมกว้างทั่วไปโดยจะมีมุมประมาณ 120 x 50 องศา


2. Cylindrical คือภาพ Panorama ที่มุมมองรอบตัวในแนวนอนเท่ากับ 360 องศา คล้ายเป็นรูปทรงกระบอก โดยมุมจะอยู่ที่ประมาณ 360 x 100 องศา



3. Cubic คือภาพ Panorama ที่แสดงภาพแบบลูกบาศก์ 6 ด้าน โดยใช้รูปประกอบกันจำนวน 6 รูป จะมีมุม ประมาณ 360x180 องศา



4. Equirectangular คือภาพ Panorama ที่มีมุม 360x180 องศา โดยการถ่ายรอบตัวในลักษณะทรงกลม (spherical) และสามารถนำมาทำเป็นภาพ Quicktime VR ได้



Tools and Instruments
1. กล้องถ่ายภาพ ท่านสามารถเลือกใช้ได้ทุกประเภท แต่ กล้องที่มีรูเสียบขาตั้งกล้องอยู่ในแนวเดียวกับเส้นศูนย์กลางของกล้อง จะทำให้มีปัญหาในการถ่ายภาพน้อยกว่า และควรเลือกใช้เลนส์มุมกว้างจะได้ผลดีที่สุด
2. ขาตั้งกล้อง ควรเป็นขาตั้งกล้องที่มีความมั่นคงแข็งแรงเพราะในการถ่ายภาพจะต้องมีการหมุนกล้อง นอกจากนี้แล้วหากมีระดับน้ำเพื่อตั้งขาให้ได้ระดับก็จะทำให้ภาพที่ถ่ายแล้วต่อกันได้ง่ายยิ่งขึ้น
3. Panorama Head เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้ จุดหมุนของเลนส์อยู่ในตำแหน่งการหมุนของขาตั้งกล้อง
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับโหลดภาพจากกล้องไปตกแต่งและต่อภาพควรเลือกที่มี processor ที่มีความเร็วสูง และมี Ram มากๆ เพราะส่วนใหญ่ภาพพาโนรามาจะใช้เวลาในการประมวลผลนาน
5. โปรแกรมสำหรับต่อภาพ เช่น Hugin. Autopano

หลักการถ่ายภาพพาโนรามา
1. การซ้อนทับกันของภาพที่ติดกัน ภาพแต่ละภาพที่จะนำมาต่อกันจะต้องซ้อนกันอย่างน้อย 20% ไม่ว่าจะถ่ายภาพแนวตั้งหรือแนวนอน ค่าที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 30% แต่หากต้องการให้การซ้อนกันเนียนมากๆ ควรตั้งที่ประมาณ 50%
2. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องให้ได้ระดับทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยต้องควบคุมการตั้งระดับน้ำในขาตั้งกล้อง หรือบนหัวพาโนรามาให้ได้ระดับ หากตั้งไม่ได้ระดับแล้วจะทำให้ภาพที่ต่อกันนั้นเบี้ยว และต้องตัดภาพส่วนบน ส่วนล่างทิ้งไป
3.ควบคุมExposure ให้มีค่าคงที่ ดังนั้นจึงต้องถ่ายในโหมด Manual เพราะหากตั้งโหมด อื่นๆ แล้ว ค่าการฉายแสงจะถูกปรับเปลี่ยนไปจากความเป็นจริง
4..ตั้งกล้องให้จุดโนดัล (nodal point) ของเลนส์ อยู่ ณ จุดหมุนของขาตั้งกล้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา พาราแล็กซ์ (Parallax)

วิธีการตั้งกล้องบนหัวพาโนรามา

ในที่นี้ จะอธิบายด้วยหัวพาโนรามาของ Manfrotto รุ่น 303 Plus ซึ่งก่อนจะออกไปถ่ายภาพควรหาตำแหน่งโนดัลของกล้องและเลนส์นั้นๆ ไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีหลักและเทคนิคการหาจุดโนดัล ดังนี้
1. ตั้งกล้องบนขาตั้ง โดยติดไปที่หัวพาโน โดยให้จุดศูนย์กลางเลนส์ ในอยู่ในแนวกับจุดหมุนของขาตั้ง ตามเส้นในแนวดิ่ง (เลื่อนเส้น A ไปทับเส้น B ตามระยะลูกศร)



จากภาพจะเห็นเส้นแนวดิ่งสองเส้นแสดงถึงจุดหมุนของขาตั้งกล้อง(เส้น B) แนวจุดศูนย์กลางของเลนส์ (เส้น A) ในการปรับหัวพาโนจะต้องเลื่อนให้กล้องมาด้านขวาจนเส้นแนวดิ่งสองเส้นนี้ ซ้อนทับกัน โดยการเลื่อนแท่นแนวนอน (เส้นลูกศร) ในภาพ ท่านอาจจะใช้ไม้บรรทัดวางทาบที่ศูนย์กลางเลนส์เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง เมื่อได้ระยะที่ถูกต้องแล้วให้จดระยะบนแท่นวาง ณ ตำแหน่งนี้ไว้เพื่อใช้ในครั้งต่อๆ ไป
2. เลื่อนกล้องไปด้านหลังจนจุดโนดัลของเลนส์มาอยู่ ณ จุดหมุนของขาตั้งกล้อง คือให้เส้น A ทับเส้น B ทั้งนี้วิธีหาจุดโนดัลให้ปฏิบัติดังจะได้กล่าวต่อไป



เทคนิดการหาจุดโนดัล
จากภาพด้านล่างเป็นการตั้งกล้องในแนวตั้ง ให้ท่านหาวัตถุมาวางไว้ใกล้ๆ เลนส์แล้วหาฉากหลังที่มีเส้นเพื่อเป็นตัวช่วยสังเกตการเกิด parallex กล่าวให้สังเกตไม้ที่เป็นฉากหน้ากับกรอบหน้าต่างที่เป็นฉากหลัง จะเห็นว่ามีตำแหน่งไม่ตรงกัน เมื่อเราหมุนกล้อง โดยภาพที่ 1 แท่งไม้ด้านหน้าจะทับกรอบหน้าต่างพอดี แต่ภาพที่ 2 แท่งไม้กลับมาอยู่ด้านขวามากกว่า ซึ่งหากเราเลือนกล้องให้ถอยหลัง parallex ของภาพซ้ายขวาก็จะลดน้อยลง จะท้ายที่สุดจะหายไปนั่น เมื่อจุดโนดัลของเลนส์มาอยู่ ณ ตำแหน่งเดียวกันกับจุดหมุนของขาตั้งกล้อง ดังจะสังเกตได้ดังในภาพ




เมื่อได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วให้จดด่าระยะที่แท่นของหัวพาโน ไว้ เพื่อใช้ในการถ่ายรูปภายหลัง
3 คำนวณจำนวนภาพที่จะต้องถ่ายใน 1 รอบ หรือ 360 องศา ทั้งนี้ ขึ้นกับมุมรับภาพเลนส์ที่ใช้ กับขนาดของเซนเซอร์ ถ้าใช้กล้อง full frame ติดเลนส์มุมกว้่าง 14-15 มม. ใช้ภาพจำนวน 6 ภาพ ก็เพียงพอที่จะเก็บภาพพาโนแบบ Cylindrical แต่ หากใช้เลนส์ 16- 17 มม. ควรถ่ายภาพจำนวน 8 ภาพ และหากใช้เลนส์ 20 มม. ให้ถ่าย 10 ภาพ และหากใช้เลนส์ 24 มม ก็ใช้จำนวนภาพ 12 ภาพ เป็นต้น
หัวพาโนที่ดี จะต้องมีสเกลไว้บอกมุมในการหมุน และแบบที่ดีมากๆ จะมีปุ่มหรือน็อดสำหรับตั้งองศาหรือจำนวนภาพได้ ดังภาพ




ข้อควรระวังในการถ่ายภาพ
การถ่ายภาพพาโนรามาจะต้องมีการต่อภาพกัน ดังนั้นควรระวังเรื่องคนหรือสิ่งต่างๆ ที่เคลื่อนไหว เพราะ
หากภาพที่ถ่ายแต่ละภาพมีคนๆ เดียวกัน อยู่ในหลายๆ ภาพ เมื่อต่อภาพกันแล้วจะทำให้ดูไม่สมจริง เพราะมีคนๆ เดียว ปรากฎในหลายๆ เฟรม ทำให้เมื่อต่อภาพแล้วมีคนเดิมในหลายบริเวณ


ข้อควรระวังอีกประการคือการตั้งระดับ หากลืมตั้งระดับน้ำ หรือ ตั้งไม่ได้ระดับ เมื่อต่อภาพแล้วภาพจะไม่
ตรงทำให้ต้อง crop ภาพบางส่วนทิ้งไป


การต่อภาพด้วยโปรแกรม
โปรแกรมสำหรับต่อภาพพาโนรามามีมากมาย มีทั้งที่ให้ใช้ฟรีหรือต้องเสียเงินซื้อ ผู้เขียนอยากจะแนะนำ
โปรแกรมที่ชื่อ Hugin (ออกเสียงว่า ฮักอิน) ซึ่งเป็นโปรแกรมแจกฟรี และมีความสามารถสูง สามารถ
ดาวน์โหลดได้ที่ http://hugin.sourceforge.net/ และในเว็บไซด์จะมี tutorial แนะนำการใช้โปรแกรมพร้อม
ภาพประกอบ
อย่างไรก็ตามท่านใดที่มี โปรแกรม photoshop อยู่แล้ว ก็อาจใช้ photoshop ต่อภาพให้ จากคำสั่ง File/
Automate/Photomerge แต่ควรใช้ version CS3 ขึ้นไปถึงจะต่อภาพได้ดี
การถ่ายภาพพาโนรามาแบบ 360 องศารอบตัวในบริเวณกลางแจ้ง และเมื่อใช้เลนส์มุมกว้างแล้ว ดวง
อาทิตย์มักเข้ามาอยู่ในภาพเสมอ ทำให้เกิดแสงแฟล์ ดังนั้นผู้ต้องการถ่ายภาพแนวนี้ควรเลือกการวาง
ตำแหน่งกล้องให้มีสิ่งของมาบังดวงอาทิตย์ เช่น ต้นไม้ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วหากความเข้มแสงมีความ
แตกต่างกันมากระหว่างบริเวณที่แสงส่องกับบริเวณในเงา ก็ควรระมัดระวังในการวัดแสงและเลือกรูรับแสง
กับความเร็วช้ตเตอร์ให้เหมาะสมเพื่อเลือกเก็บรายละเอียดในบริเวณที่ต้องการ



อ้างอิง
1. http://www.panoguide.com/howto/panoramas/types.jsp

Views: 1864

Replies to This Discussion

สุดยอดเลยครับ ^_^
ขอบคุณครับ
ส่วนตัวแล้วทำงานพวก visual tour บ่อยค่ะแล้วก็ ใช้โปรแกรม easy panoweaver 5 อ่ะค่ะ ก็ใช้ง่ายนะค่ะ
แต่ว่าพอดีไปเหนภาพ สไตล์ HDRI อ่ะค่ะ ไม่ทราบว่า เราเอางานสไตล์ นี้ มาใช้กับ ภาพ visual tour ได้รึเปล่า ค่ะ

รบกวน อาจารติ่ง ด้วยนะค่ะ

นับถือ ...._/\_....
ได้ครับ และจำเป็นอย่างยิ่งด้วย เพราะหากเราหมุนภาพมากๆ จะเจอสภาพแสงที่แตกต่างกันมากระหว่างที่มืดและที่สว่าง ดังนั้นจึงต้องทำ HDR ร่วมไปกับการทำ panorama ไว้จะเอาภาพตัวอย่างมาปะให้ดู นะครับ
ทำเป็นแค่ Panoraมือ ครับ ไม่ค่อยได้ใช้ขาตั้งกล้องเท่าไหร่เลย

ความรู้แน่นจริงๆครับ สุดยอดเลย
กำลังสนใจ ขอบคุณครับ
สุโค่ย ครับขอบคุณครับ

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service