ขออนุญาตนะครับ

ผมยังใหม่กับที่นี่อย่างมาก ไม่ทราบว่าการลงรูป (ที่เคยถ่ายจากฟิล์มมาลง) แบบนี้จะเป็นการเหมาะสมหรือไม่
แต่เหตุผลของผมก็คือ
1. อยากให้รูปภาพจากฟิล์มไม่ตายหายไป
2. ถ้าหากมีสมาชิกท่านใดอยากจะทราบเบื้องหลัง เทคนิค ที่ไม่มีการแต่งฟิล์ม รีทัช หรือทำโฟโต้ชอป ผมยินดีถ่ายทอดให้ที่นี่ครับ

ขอเรียนให้ทราบด้วยใจจริงว่าผมคงไม่หวังเรื่องผลของการค้า เพราะปัจจุบัน ผมเปลี่ยนแนวทางการทำงานไปแล้ว

เพียงแต่อยากให้หลายท่านได้เข้าใจถึงจิตวิญญานของช่างภาพ ที่ทำงานถ่ายภาพในช่วงสุดท้ายของยุคฟิล์ม ก่อนที่จะถูกดิจิตอลดูดกลืนไปหมด.....ช่วงที่ทำงานชุดนี้ ผมคาดการณ์ไว้ขณะนั้นแล้วว่าคงจะเป็นโอกาสสุดท้ายแล้วที่จะคิดค้น คิดหาเทคนิค ต่างๆเพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นฟิล์ม โดยที่กว่าจะเห็นเป็นภาพก็ต่อเมื่อล้างเสร็จแล้ว

Views: 383

Replies to This Discussion

อยากทราบ ภาพจากฟิล์ม slide ที่สีมันแป๊ดดดดมากๆน่ะครับ
เห็นบอกว่าแก้ที่วิธีการล้าง แต่ไม่รู้วิธีครับ

ยุคฟิล์มบอกตามตรงว่าเป็นช่วงกั๊ก know how กันมาก
ไม่เหมือนตอน digital ที่เปิด net หาได้ง่ายมากๆ

ใครมีเทคนิกดีๆมา share กันบ้างนะครับ ผมคง share ได้แต่เรื่องการถ่ายอย่างเดียว

ขอบคุณครับ
ขอตอบตามประสบการณ์การทำงานของผมนะครับ..........

สมัยใช้ฟิล์มงานส่วนใหญ่ที่ผมทำจะถ่ายในสตูดิโอ ใช้กับอิเลคโทรนิคแฟลช และส่วนใหญ่ก็จะถ่ายโปรดักส์ ซึ่งมีความซีเรียสเรื่องสีเป็นอย่างมาก ฟิล์มส่วนใหญ่ใช้ EPP ซึ่งต้องการความเสถียรของสี ฟิล์มรุ่นนี้สีตรงไม่ค่อยเกเร (ถ้าอุณภูมิสีของไฟตรงด้วย) ดังนั้นผมจะไม่ค่อยพิสดารกับการล้างนัก

แต่มีบางครั้งที่ขายงานแบบแนวๆได้ เช่น เจอโปรดักส์ที่เป็นสีสะท้อนแสง ผมใช้ฟิล์มทังสเตน ออกไปถ่ายเอาท์ดอร์ตอนกลางวัน แล้วมาล้างครอสโปรเซสด้วยน้ำยาล้างฟิล์มสี เสร็จแล้วปริ้นท์ออกมาอีกทีหนึ่ง ก็ได้อารมณ์สีของโปรดักส์ดีครับ

และงานผมไม่ค่อยล้างเพื่อเพิ่มสีเท่าไหร่ จะเลือกใช้ฟิล์มที่มีคุณสมบัติเด่นมากกว่า เช่น E100V, E100VS ตัวหลังนี่ไม่ต้องไปทำอะไรเลยสีปรี๊ดดด....มากๆ เพราะตัว S ข้างหลังย่อมาจาก Saturation ฟิล์ตระกูล E มาแทน EPP ครับ และก็มี E100G ที่มีความเด่นเรื่องเกรนครับ ค่ายฟูจิก็มี Velvia 50 ที่มีความจัดจ้านเรื่องสีเช่นเดียวกัน

ดังนั้นส่วนตัวผมไม่ค่อยเน้นเรื่องการไปเร่งสีในตอนล้างครับ การเสี่ยงมันสูง และก็ไม่ค่อยได้ยินเรื่องเร่งสีตอนล้างเช่นกัน มีแต่เรื่องของการ Push เพิ่มเวลาการล้าง ที่ให้สีสดขึ้นบ้าง แต่ก็ต้องแลกกับเกรนที่จะตามมาด้วยครับ
คิดถึงสีของ E100VS ครับ สดสะใจดี แต่ Velvia นี้ขวัญใจผมตลอดการถ้าถ่ายวิว เด็กๆ อยากลอง
kodakrome กะเค้าบ้าง แต่กระเป๋าไม่สู้้ (แพงหลือเกินแถมต้องส่งล้าง ตปท อีก สมัยก่อนได้แต่
ไปด้อมๆ มองๆ ที่ร้าน Photo Hobby พอมีข่าวเลิกผลิตออกมาก็เซ็ง โตมาพอซื้อได้กะเค้าบ้างแต่ไม่มี
โอกาสใช้ ว่าจะเอาไว้แล้วให้ลูกหลานฟังว่าได้ใช้ "ฟิล์มตัวพ่อ" กะเค้าซะหน่อย 555

แต่ก่อนตอนใช้ฟิลม์ก็พกกันที่หลายๆ แบบ แต่ผลก็ออกมาคุ้มนะครับ ขนาดบางทีต้องเปลี่ยนฟิล์มกลางม้วนอีก
อีกอย่างทำให้แต่ละครั้งที่ เรากดชัตเตอร์นี้คิดแล้วคิดอีก นึกถึงตอนถ่ายวิวรูปอย่างหรูก็คร่อม -+0.5-1.0 stop
สุดท้ายเอารูปเดียว เดี๋ยวนี้บางคนกดกันไม่เลี้ยง วัดแสงได้ไม่ได้อีกเรื่องไว้ shop ที่หลัง ตูมี HDR ซะอย่า
upder-over ตูแก้ได้อยู่แล้ว แถมเอา before & after ไปโชว์เหนือกับเพื่อนๆ ได้อีก เฮ้อ ยุคเดอมาคอมพ์ เจงๆ
อย่างที่คุณ sippakorn บอกแหละครับ มันไม่ได้แป๊ดดดดเพราะการล้างเป็นหลัก

อย่างมากก็ถ่าย under นิดหน่อยแล้วล้างเพ่ิม push เพื่อเพ่ิม contrast บ้าง แต่หลักๆ ก็
character ของ film เป็นหลักเลย ถ่ายแบบไหนได้แบบนั้นเลย shop น้อยมากๆ
สมัยก่อนเคยได้ยินรุ่นพี่ที่เก่งๆ เล่าว่าจะเอาไปแช่ตู้เย็นนานๆ หรืออะไรทำนองนั้นแล้วสีจะดีขึ้น

ผมก็ยังงงว่าจริงป่าว
ยินดีครับเอามาแบ่งกันดูแยะๆ ก็ได้ครับ ห้องนี้สำหรับเรื่องนี้อยู่แล้ว
ผมว่าคนที่สนใจถ่ายฟิม์ลคงอยากเห็น neg/pos สวยๆ บ้าง
เดี๋ยวนี้หาดูยากสำหรับบางคนครับ ขอบคุณที่เอามาแบ่งกันนะครับ

ชอบภาพครับ เสียดาย scan มาไม่ชัด เชื่อว่า pos ตัวจริงคงงานไม่น้อย
เดี๋ยวนี้ก็ ligth painting กันใน computer อย่างเดียว ของแท้ๆ หายาก
ขอบคุณมากๆ ครับ
ขอบคุณคุณ aceimage ที่เข้ามาคุยกันแก้ห้องเงียบเหงา :)

# Kodakrome นี่ผมมีโอกาสได้ใช้และส่งไปล้างที่ Australia อยู่เหมือนกันสมัยเรียน และสมัยทำงานช่วงแรกๆ เรียกได้ว่าเอาไว้คุยกะลูกหลานได้ :)

# ".....ก่อนกดชัตเตอร์ คิดแล้วคิดอีก....." เดี๋ยวนี้ประโยคชนี้ก็ยังติดอยู่ในหัวผม และก็ยังทำอยู่บางครั้ง แม้จะเปลี่ยนมาใช้ดิจิตอลแล้ว :)

# เรื่องฟิล์มแช่ตู้นี่เค้ามีมาตรฐานอยู่นะครับ ต้องอยู่ในตู้แช่ที่มีอุณหภูมิคงที่ประมาณ 10 องศาเซลเซียส ก่อนถ่ายก็ต้องเอาออกมาสักพักหนึ่งก่อน ไม่งั้นรีบแกะออกมาถ่ายเลยมันจะมีไอน้ำเกาะ ส่วนผลดีของตู้แช่ฟิล์มอีกอย่างหนึ่งก็คือ ฟิล์มที่หมดอายุแล้วอาจจะนำออกมาใช้ได้โดยไม่ค่อยเห็นผลแตกต่างเท่าไหร่(ถ้ายังไม่หมดอายุมากนัก) ผมน่ะบางม้วนหมดไปสองปียังเคยเอามาใช้เลยครับ อิอิ
ได้แนวร่วมเรียกร้องมาหนึ่งคน (เยอะมากๆนะนี่) อ่ะ....จัดให้ครับ
เรื่องสแกนภาพนี่ผมสแกนเองเซ็ทขนาดใหญ่ไปหน่อย ดูเอาพอประมาณนะครับ

โดยส่วนตัวแล้วแนวทางการถ่ายภาพของผม ถ้าไม่โดนลูกค้าบีบมาก เช่น ต้องถ่ายตามเลย์เอ้าท์เป๊ะๆ สินค้าชัดๆ แบบฮาร์ทเซล ลูกค้าปล่อยให้เราสร้างสรรค์ภาพได้ตามสบาย งานผมก็มักจะออกมาแนวทึมๆลึกลับ อย่างที่เห็นอ่ะครับ....
ไม่รู้เป็นยังไง ผมประทับใจกับการเขียนภาพของ Rembrant ศิลปินฝรั่งเศสยุคเลอนาสซอง เค้าเป็นผู้มีอิทธิพลกับสไตล์การจัดแสงถ่ายภาพบุคคลของช่างภาพในปัจจุบัน จนนำชื่อเค้ามาเรียกเป็นลักษณะการจัดแสงไปเลย แต่การทำงานของผมแต่ละครั้งผมก็ไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาลอกหรือเปิดตัวอย่างภาพแล้วจัดแสงตามนะครับ มันซึมเข้าไปโดยอัตโนมัติครับ
วันนี้ขอพูดถึงภาพแรกก่อนนะครับ

ภาพแรกไม่ค่อยมีอะไรพิสดารนักความคิดก็ธรรมดา คือ เวลาในขวดแก้วที่เราอยากจะเก็บ อยากจะหยุดมันไว้ ไม่ให้มันเสื่อมสลาย อยากเก็บของที่ประทบใจไว้ในความทรงจำ ผมได้มรดกเป็นนาฬิกาพกทองเหลือง หน้าปัดเป็นพอร์ซเลน แต่มันก็แตกสลาย เข็มหายไปหมดแล้ว ก็เลยอยากหยุดมันไม่อยากให้พังไปมากกว่านี้ แล้วก็คิดว่าถ้าเราใส่ไว้ในขวดโหล อาจจะมีปฏิหารย์เกิดขึ้นมาในวันใด วันหนึ่ง ผมจึงจัดภาพและจัดแสง ให้สะท้อนถึงความรู้สึกที่ผมคิดไว้ ผมใช้การถ่ายภาพซ้ำ เพราะนาฬิกาเมื่อเข้าไปอยูในขวดโหลแล้วจัดแสงไม่ได้ ต้องถ่ายคนละที โดยมาร์คตำแหน่งไว้ให้แม่น บนแผ่นกราวนด์กลาส ส่วนการจัดแสงผมก็มกจะใช้หลักการทำงานที่คล้ายกับเทอโบฟิลเตอร์ (จะเอาขอมูลมาลงให้ในโอกาสหน้า) ส่วนแสงบนตัวนาฬิกาและดอกกุหลาบผมใช้ไฟฉาย แม๊กไลท์ขนาดเล็ก โดยเปิดหน้ากล้องค้างไว้แล้วระบายสีด้วยแสง หรือ Light Paint เทคนิคนี้ผมจะพูดรายละเอียดในโอกาสต่อไปครับ.....



คห.นี้เป็นภาพลายเส้นง่ายๆ ประกอบข้อเขียนที่อยู่ด้านบน....ผมเปลี่ยนรูปผลงานให้มีขนาดเล็กลง น่าจะดูดีขึ้นนะครับ....



เครื่องมีอที่ผมนับถือคนทำอย่างมาก คือ turbo filter ที่ผมพูดถึง มีรูปตัวอย่างมาให้ดูด้วย นาย arron jones เป็นคนคิดทำขึ้นมา (เมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว เดี๋ยวนี้ไม่รู้มีใครใช้อยู่รึเปล่า) หมอนี่แกเป็นช่างภาพอาชีพในอเมริกาเป็นคนคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ชิ้นนี้ขึ้นมา การใช้งานตามที่เล่าให้ฟังไปแล้ว ทำให้เกิดเอฟเฟคงานแปลกๆ โดยเฉพาะตัวหมอเอง (ก็แน่ละสินะ) แล้วก็ผลิตออกจำหน่าย มีช่างภาพนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งได้เรื่องและไม่ได้เรื่อง ในเมืองไทยก็มีใช้อยู่บ้างเหมือนกัน....ตัวผมเองน่ะ ใช้อยู่หลายงาน...แต่ขอโทษ ไม่มีปัญญาซื้อครับ เพราะเห็นว่าไม่ค่อยคุ้ม ไม่ได้ใช้ทุกวัน ใช้วิธีเช่าเอาเพราะลูกค้าเป็นคนจ่ายเงิน (อิ อิ มีคนออกเงินให้เล่น) เจ้า turbo filter ผมจะใช้ถ่ายงานที่ไมใช่วัตถุหยุดนิ่ง เช่น คน ส่วนถ่ายสินค้า ถ่าย still life ผมไม่ได้ใช้มันหรอกครับ ผมก็ใช้การถ่ายซ้ำหลายครั้ง ประหยัดงบประมาณครับ ส่วนอุกปรณ์อีกชิ้นเรียกว่า Light Paint หรือ Fiber Optic เป็นแหล่งกำเนิดไฟอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยม มีสาย ไฟเบอร์ใยแก้วต่อออกมา แล้วมีแสงมาออกอีกข้างหนึ่ง เวลาถ่ายต้องเปิดหน้ากล้องค้างไว้ ห้องต้องมืดสนิท มีแผ่นควบคุมการปิดเปิดคล้ายชัตเตอร์ที่ต้องเอาไปวางไว้หน้าเลนส์ พร้อมมีรีโมทบังคับให้ใส่ฟิลเตอร์ซอฟก็ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้นาย arron เจ้าเก่าเป็นคนคิดอีกเหมือนกัน.....แล้วก็แนวเดิมครับ ผมไม่มีปัญญาซื้ออีกเช่นเคย.....หาคนมาจ่ายเงินค่าเช่าเอามาใช้ซะงั้น...อิอิ บางงานนึกอยากถ่ายเองเล่นๆ หาค่าเช่าเครื่องไม่ได้ก็คว้าไฟฉาย Mag lite นี่ละครับมาละเลงซะ

วันนี้หยอดได้แค่นี้นะครับ
ขอบคุณมากครับที่เอามา share กัน เล่าละเอียดดีจริงๆ

ไม่เคยลองใช้ turbo filter เลยที่ไหนยังพอมีให้เล่นอยู่ไม๋ครับ
# เสียดายๆ ไม่ได้ใช้ม้ันตอนพอมีตังค์ซื้อ :-(

# เห็นด้วยครับ แต่ช่างภาพใหม่ๆ หลายคนจะใช้ "ทฤษฎีกดไม่ยั้้้ง" แล้วเลือกที่ฟลุ๊กๆ ได้ ไม่สนับสนุนเลยครับ

# ปกติแช่ช่องผักเหมือนกันครับ ปล่อยนานสุดก็หมดอายุแค่ 1 ปีไม่เคยลองนานกว่านั้นครับ กลัวต้องลุ้น 555
สวยมากๆคะพี่ เสน่ห์ของภาพฟิลม์จริงๆ ชอบจากใจจริงคะ

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service