การเปิดหน้ากล้องด้วยค่ารูทของความไวแสงฟิล์ม เมื่อถ่ายภาพไฟกลางคืน

ขออนุญาตเข้ามาเปิดประเด็นการสนทนาครับ

"ท่านใดมีข้อมูลเรื่อง การเปิดหน้ากล้องด้วยค่ารูทของความไวแสงฟิล์ม เมื่อถ่ายภาพไฟกลางคืนบ้างครับ"

ใช่ครับผมมีข้อสงสัย คาใจมานาน กับ ทฤษฎีดังกล่าวข้างต้น ผมอ่านเจอในหนังสือถ่ายภาพเก่าๆ นานมาแล้ว สอบถามผู้อาวุโสหลายท่านก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนครับ
เข้าใจนะครับ เช่น ถ้าเราใช้ฟิล์มความไวแสง 200 รูทหรือรากที่สองของ 200 จะเท่ากับประมาณ 14.12 นั่นก็คืตั้งเอฟสต๊อปที่ 14.12 หรือ ถ้าเราใช้ฟิล์มความไวแสง 400 รูทหรือรากที่สองของ 400 จะเท่ากับประมาณ 20 นั่นก็คืตั้งเอฟสต๊อปที่ 20 อ่ะครับ

เท่าที่จำได้ผมอ่านไม่เจอเหตุผลว่าทำไมจึงต้องทำเช่นนั้น

ขอบคุณท่าน กูรู ล่วงหน้านะครับ

Views: 388

Replies to This Discussion

อะ.......
รอคำตอบด้วยคน แหะๆ

เคยรู้แต่ว่าการถ่ายภาพกลางคืนต้องคำนึงถึงกฎการชดเชยแสงล้มเหลวอะครับ
ที่บอกว่า film แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการรับแสงเปลี่ยนไปเมื่อเปิด shutter ให้ film รับแสงเป็นเวลานาน
อือม......ใช่ครับ

ต้องชดเชยแสงให้อันเดอร์ครับ

ฟิล์ม Daylight ผมต้องชดเชยให้อันเดอร์ 1 - 1.5 Stop
ฟิล์ม Tungsten ผมต้องชดเชยให้อันเดอร์ 2 - 2.5 Stop

เป็นตอนที่ผมถ่ายรถยนต์ หรือ เซ็ทใหญ่ในสตูดิโอ แล้วใช้ไฟนิ่งหรือไฟถ่ายหนัง
เทสต์โพลารอยด์ออกมาแล้ว เวลายิงเป็นฟิล์ม ต้องชดเชย สปีดชัตเตอร์ให้อันเดอร์ดังกล่าวข้างต้นครับ
(ที่ไม่ได้ชดเชยหน้ากล้องให้อันเดอร์เพราะ เซ็ทระยะ Depth ไว้ตามที่ต้องการได้แล้ว)
เหมือนเคยมีอาจารย์สอน แต่ตอนนี้เข้ากรุหมดแล้ว รอคำตอบครับ ทบทวนความจำด้วย :-)
ไม่ทราบว่าคืออันนี้หรือเปล่านะครับ อจ.
เห็นมีรูทๆอะไรเนี่ยเหมือนกัน ที่ย่อหน้าสองง่ะคับ
เดอะเนกาตีพ หน้า 66

ขอบคุณมากนะครับ ท่าน artongz......

ขอเวลาไปเปิดดิกฯ ก่อนครับ ^_^
พี่เจี๊ยบครับ..

ขออนุญาติ อธิบายดังนี้

สูตรค่าการเปิดรับแสงนี้ มีส่วนสำคัญที่ต้องรู้สองอย่างคือ ASA หรือว่า ISO ของฟิล์ม กับค่าการส่องสว่าง (luminance) ซึ่งต้องวัดเป็น candela/ft^2 เท่านั้น

จาก text ที่ คุณ artongz......จัดการหามาให้ ยกตัวอย่างได้ชัดเจนทีเดียวว่า ถ้าเรามีฟิล์ม ASA 125 ไปหารากที่สอง ก็จะได้ประมาณ 11 นั่นคือเราควรตั้ง f-no ไว้ที่ 11 ซึ่งเขาเรียกว่า key stop ทีนี้ ถ้าต้องการจะได้ shutter speed ก็ เอาเครื่องวัดแสงมาวัด เช่นวัดได้ 60 candela/ft^2 ก็ รู้เลยว่า ควรถ่ายที่ 1/60 วินาที

ผมว่าเครื่องวัดแสงรุ่นเก่าๆ formula พวกนี้ถูกจัดการมาให้อยู่ในวงแหวน ของเครื่องวัดแสงอยู่แล้ว สังเกตจากเวลาวัดแสง เราก็ต้องตั้ง ASA ก่อน จากนั้น กดปุ่มเพื่อทำการวัดแสง แล้วเราค่อยมาหมุนวงแหวน เพื่อหา F-no กับ shutter speed ที่เหมาะสม

วิธีการใช้ สูตรแบบนี้ ทำให้วัดแสงได้เราขึ้น หากเราใช้จนชำนาญ เหมาะมันอยู่ในหัวเราอยู่แล้ว.. แฮ่ๆ บังเอิญว่า อาศัยเครื่องวัดแสงในกล้องจนชิน ให้มาคิดแบบนี้ คงมะไหว แล้ว อะ..
ขอบคุณมากครับอาจารย์ติ่ง
กระจ่างแจ้งมากๆเลยครับ ก็คงจะมีความหมายว่าการตั้งค่า f-stop ตามค่าสแควร์รูทของฟิล์มนี้ เพื่อความคม ชัด และประสิทธิ์ภาพสูงสุดของฟิล์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายแสงไฟ
ส่วนการใช้สูตร ลูมิแนนซ์ ด้วยค่า แคนเดิ้ลเพอร์สแควร์ฟุต นี่คงเก้บเข้าลิ้นชักไปหมดแล้ว
ผมเสียดายที่เครื่องวัดแสงตัวเก่า Weston Euro Master รบบเข็มอันตรธานไปแล้ว ไม่เช่นนั้นจะลองเอามาเคาะสนิมดูสักหน่อย

ขอบคุรอีกครั้งครับอ.ติ่ง (ดร.ชลาล คูพิพัฒน์ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ขอบคุณมากครับ ข้องใจมาหลายวันน่าดู พอเห็นคำถามแล้วลองหาดูในเนทแต่ไม่เจอ :-)
อะ ความรู้ดีครับ ชอบบบ

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service