นก ใช้เสียงร้องเป็นเครื่องมือสื่อสาร เสียงร้องของนกเกิดจากกล่องเสียงที่อยู่ปลายหลอดลมซึ่งลักษณะของกล่องเสียง ที่แตกต่างกัน ทำให้นกแต่ละชนิดมีเสียงร้องต่างกัน และนกสามารถเข้าใจเสียงร้องของนกชนิดเดียวกันได้ดี แต่ไม่เข้าใจเสียงของนกชนิดอื่น ทั้งนี้นกที่เปล่งเสียงร้องมักเป็นตัวผู้ แต่บางชนิดตัวผู้กับตัวเมียก็ร้องเสียงแตกต่างกัน

เสียงของนกที่เราได้ยินแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. เสียงร้องเพลง ( song ) คือเสียงที่นกเปล่งออกมามีท่วงทำนองมีระดับเสียงสูงเสียงต่ำ ส่วนมากเป็นเสียงที่เราฟังแล้วรู้สึกไพเราะน่าฟังมักร้องติดต่อกันไปเป็น ทำนองสั้นบ้าง ยาวบ้างส่วนใหญ่มักร้องในฤดูผสมพันธุ์นกโตเต็มวัย ( ส่วนใหญ่เป็นตัวผู้ ) ใช้เสียงร้องเรียกร้องความสนใจจากนกเพศตรงข้าม นกหลายชนิดร้องเป็นเพลงคู่ โดยทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันร้อง ยิ่งไปกว่านั้นเสียงร้องยังใช้เพื่อประกาศอาณาเขตที่นกคู่นั้นครอบครองด้วย โดยปกตินกที่จัดไว้ในพวกนกเกาะคอน ( นกพญาปากกว้าง นกจาบปีกอ่อนเล็ก ) มักมีกล่องเสียงที่ซับซ้อน จึงสามารถส่งเสียงร้องเป็นเพลงได้ดี นกที่อยู่ในกลุ่มต้นๆ ของพวกนกเกาะคอนมีกล่องเสียงไม่ซับซ้อนนัก เช่น นกแต้วแล้วและนกพญาปากกว้าง จึงร้องไพเราะเหมือนพวกนกเขนหรือนกจับแมลง ส่วนพวกนกอันดับอื่นๆ ( นกกระจอกเทศ นกหัวขวาน ) มักส่งเสียงร้องไม่ไพเราะ ส่วนมากเป็นเสียงร้องเรียก

2. เสียงเรียก ( call ) คือเสียงที่นกเปล่งออกมาเพื่อใช้ในกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือไปจากการร้องเรียกความสนใจจากเพศตรงข้ามและการประกาศอาณาเขต ส่วนมากเป็นเสียงที่ไม่มีท่วงทำนองและร้องซ้ำๆ กัน ไม่ไพเราะ ส่วนมากจะร้อง 1-3 พยางค์ นกทั้งตัวผู้และตัวเมียมักส่งเสียงเรียกเหมือนๆ กัน เสียงเรียกแบ่งย่อยได้ดังนี้

2.1 เสียงที่ใช้ติดต่อกัน ( contact call ) คือเสียงร้องเรียกที่นกใช้ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างนกตัวหนึ่งกับนกอีก ตัวหนึ่ง หรือติดต่อกับฝูง นกชนิดเดียวกัน เพื่อทราบตำแหน่งของกันและกันเป็นเสียงที่นกใช้ทั้งในและนอกฤดูผสมพันธุ์ มักได้ยินเวลาเช้า เย็น ขณะกินอาหารหรือนกกำลังบิน

2.2 เสียงตกใจ ( alarm call ) เป็นเสียงที่นกเปล่งออกมาเมื่อตกใจกลัว สงสัยหรือแปลกใจ มักเป็นเสียงร้องสั้นๆ อาจจะร้อง 1-10 พยางค์ เป็นเสียงร้องที่ดังมากพอที่จะเตือนภัยให้กับนกหรือสัตว์ในละแวกใกล้เคียง ให้ระวังตัวหรือรีบหนีไป

2.3 เสียงร้องขณะบิน ( flight call ) เป็นเสียงร้องที่นกเปล่งออกมาเฉพาะขณะที่บินเท่านั้น เช่น นกยางกรอก นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง และนกทะเลขาเขียว เป็นต้น

2.4 เสียงร้องขออาหาร ( begging call ) เป็นเสียงร้องที่ลูกนกร้องขออาหารจากพ่อแม่หรือในนกบางชนิด นกตัวเมียก็ร้องขออาหารจากนกตัวผู้ นอกจากนี้ยังมีเสียงที่นกสามารถทำขึ้นได้ตามอารมณ์และสิ่งแวดล้อมอีกหลายแบบ

ประโยชน์จากเสียงนก

เสียง ร้องของนกทำให้เรารู้สึกเบิกบานใจไม่เหงา ทำให้ป่าเป็นป่า ทุ่งหญ้ามีชีวิตชีวา สำหรับนักดูนกเสียงร้องของนกมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้

ทำให้ทราบว่ามีนกอะไร อยู่ที่ไหน ใกล้ - ไกลเพียงใด เสียงร้องของนกจะเป็นตัวบอกได้

ใช้เสียงจำแนกชนิดนกที่เห็นตัวไม่ชัดหรือไม่เห็นตัว แต่ได้ยินเสียงชัดเจน ( ต้องแน่ใจว่านกตัวที่เห็นกับนกตัวที่ร้องเป็นนกตัวเดียวกัน )

ใช้เสียงจำแนกชนิดของนกที่มีลักษณะภายนอกคล้ายกัน เช่น นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทองกับนกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกโพระดกคอสีฟ้ากับนกโพระดกคอสีฟ้าเคราดำ นกเฉี่ยวบุ้งกลางกับนกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ และพวกนกเล็กๆ เช่น พวกนกกระจิ๊ดใจสกุล Phylloscopus เป็นต้น

ใช้เสียงนกล่อให้นกปรากฎตัวออกมาจากที่รกๆ หรือใช้เพื่อต้องการดูนกที่เปรียวเห็นตัวได้ยาก เช่น นกโกโรโกโส นกแว่น นกกระทาดง พวกนกขุนแผน นกกินแมลงและนกจับแมลงบางชนิด เป็นต้น

ใช้เสียงล่อให้นกออกมาเพื่อดูตัว จำแนกชนิดหรือถ่ายภาพ

ข้อควรระวัง

อย่า ให้เทปเสียงนกกับนกที่มีไข่ มีลูกอ่อน หรือหวงถิ่นมากๆ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ เนื่องจากเป็นการรบกวนนก และนกบางชนิดอาจทิ้งไข่หรือทิ้งอาณาเขตไปได้

การฝึกหัดเป็นนักฟังเสียงนก

หมั่นเข้าป่าหรือไปในถิ่นที่อยู่ของนก แล้วพยายามจดจำว่า นกชนิดไหนร้องอย่างไร

พยายามหาเทปที่มีผู้บันทึกไว้ ทั้งนกในประเทศและนกต่างประเทศที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย

( หาซื้อได้บ้าง ) เอามาฟังเพื่อให้คุ้นเคยกับเสียงนกชนิดนั้นๆ เมื่อได้ยินในธรรมชาติจะทราบได้ทันทีว่าเป็นเสียงร้องของนกชนิดไหน

การบันทึกเสียงนกด้วยตัวของท่านเอง โดยการอัดเสียงนกลงบนเทป เป็นเสมือนการบันทึกเสียง

ของนกชนิดนั้นๆ ลงบนสมองของคุณ ช่วยให้จำเสียงนกชนิดนั้นได้ดีเป็นพิเศษ

ถ้าท่านไม่ทราบชนิดของนกที่ท่านบันทึกเสียงมา อย่าปล่อยให้ผ่านไป นำเทปนั้นไปถามผู้ที่มี

ประสบการณ์ ท่านอาจได้ความรู้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามการจะรู้จักและจดจำเสียงนกได้ดีนั้น ต้องทำข้อ 1 ถึงข้อ 3 เป็นประจำ ฟังมากก็รู้ได้มากและจำได้มากเช่นกัน



การบันทึกเสียงนก

การ บันทึกเสียงนกครั้งแรกเริ่มในประเทศเยอรมัน โดย Ludwig Koch ซึ่งเป็นทั้งวิศวกรนักอิเลคโทรนิค และผู้รักธรรมชาติ เขาได้บันทึกเสียงของนกลงในแผ่นครั่งเมื่อปี พ . ศ . 2432 ต่อมาในปี พ . ศ . 2437 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 Peter Paul Kellogg และ Peter Keane ชาวอเมริกันได้นำจานรับเสียง ( Parabolic reflecter ) มาใช้ในการบันทึกเสียงนกให้มีคุณภาพดีขึ้น และอุปกรณ์ในสมัยนั้นมีขนาดใหญ่และหนัก ไม่สะดวกสำหรับนำออกไปใช้งานภาคสนาม การบันทึกเสียงนกยังคงบันทึกลงบนแผ่นครั่งที่ความเร็ว 78 รอบต่อนาที ( 78 rpm ) ถึงกระนั้นแผ่นเสียงนกร้องหลายชุดก็เป็นที่นิยมของนักฟัง เช่น Songs of Wild Birds ( Brand, 1934 ) , American Bird Song (Kellogg and Allow, 1942 ) และ The Wood Resound ( Heck and Koch, 1933) เป็นต้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันก็สามารถสร้างเครื่องบันทึกเสียงโดยใช้แถบแม่เหล็กได้สำเร็จ

ใน ปี พ . ศ . 2489 Sture Palmer ได้นำเครื่องบันทึกเสียงแบบ Open reel มาใช้ในการบันทึนทึกเสียงนก ต่อมาผลิต Cassette ออกมา ซึ่งมีขนาดเล็ก เบา คุณภาพดี และสะดวกในการใช้บันทึกเสียงนกในภาคสนาม เครื่องมือในการบันทึกเสียงได้พัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน มีเครื่องบันทึกเสียงแบบดิจิตอลซึ่งบันทึกเสียงในแถบแม่เหล็กด้วยระบบ คอมพิวเตอร์ไม่มี ความเพี้ยนของเสียงและมีคุณภาพบันทึกดีเยี่ยมแต่ราคาค่อนข้างแพง การบันทึกเสียงนก ปกติมีจุดประสงค์ใหญ่ๆ ดังนี้

1. เพื่อการศึกษาทางงวิทยาศาสตร์ เช่น เปรียบเทียบพฤติกรรมต่างๆ ใช้ในการจำแนกชนิดของนก

2. เพื่อฟังเสียงอันไพเราะของนกเป็นงานอดิเรก

3. เพื่อการค้า

4. ใช้ประกอบสารคดีหรือภาพยนต์

5. อุปกรณ์ที่ใช้ปรากฎตัว เพื่อดูตัว หรือเพื่อถ่ายภาพ



การแบ่งกลุ่มและชนิดของนก

ใน การจัดแบ่งกลุ่มนกแบบง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นนกป่า นกชายเลน นกในเมือง นกทุ่ง หรือกลุ่มนกกินปลา นกกินน้ำหวาน นกกินแมลง นกอพยพ นกประจำถิ่น เหล่านี้เป็นการจัดกลุ่มนกโดยอาศัยลักษณะร่วมของนกที่ปรากฎให้เห็นภายนอก เช่น แหล่งที่อยู่ อาหาร และพฤติกรรมอื่นๆ มาเป็นเกณฑ์การจำปนกกลุ่มของนกอย่างง่ายๆ ที่มีประโยชน์ต่อการดูนก

สำหรับ ในทางวิทยาศาสตร์ นักชีววิทยาใช้หลักอนุกรมวิธาน ในการจำแนกกลุ่มและชนิดของนกเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก โดยอาศัยหลักฐานทางการวิวัฒนาการ (Phylogeny) โดยเชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตที่มาจากสายวิวัฒนาการพวกเดียวกัน จะมีลักษณะทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic character ) เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มาจากสายวิวัฒนาการต่างกัน จะมีลักษณะทางอนุกรมวิธานต่างกัน ในทางปักษีวิทยาใช้การจำแนกกลุ่ม โดยอาศัยลักษณะทางอนุกรมวิธาน 5 ลักษณะคือ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Morphologecal characters)

ใน การจัดจำแนกกลุ่มของนกในประเทศไทยต่อไปนี้ เรียงตาม Lekagul and Round (1991) ซึ่งผสมผสานการจัดจำแนกลักษณะต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้น โดยจำแนกนกในประเทศไทยออกเป็น 20 อันดับ 86 วงศ์ และได้เพิ่มเติมนกชนิดที่พบใหม่หรือมีรายงานที่เชื่อถือได้ว่าพบในประเทศไทย ( ซึ่งยังไม่มีปรากฎในหนังสือคู่มือดูนกเล่มปัจจุบัน ) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงการจัดจำแนกชนิดใหม่ หรือพบว่าที่เคยบันทึกเอาไว้เกิดความคลาดเคลื่อนไปได้เพิ่มเติมไว้ในที่นี้ ซึ่งทำให้จำนวนนกในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 960 ชนิด ( 2542 )

ที่มา : เขียนโดย สมาคมอนุรักษ์นกฯ

Views: 746

Replies to This Discussion

ขอบคุณครับ

RSS

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service