DRIFT
Project #1: DURATION
Workshops

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2557
ห้องประชุม 501 ชั้น 5
14.00 น. Workshop 1 : โรเบิรท์ พิโอโทรวิค
15.00 น. Workshop 2 : โก๊ะ ลี ควาง
16.00 น. Workshop 3 : โอเรน แอมบารคี และ คริส โคล
17.15 น. Workshop 4 : อานนท์ นงค์เยาว์

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : ทั่วไป
ภาษาในกิจกรรม : ไทย/ อังกฤษ
**กิจกรรม Workshop ทางด้านเสียงรับสมัคร 20 คนต่อกิจกรรม
สำรองที่นั่งโปรดติดต่อ ฝ่ายนิทรรศการ exh_activity@bacc.or.th
**ทุกกิจกรรมไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม

Workshop 1
โรเบิร์ต พิออโทรวิช
หัวข้อ: ทำไมเครื่องดนตรีถึงสำคัญ? (Why instrument is everything?)

เวิร์กช้อปครั้งนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้เครื่องซินซิไทเซอร์แบบอนาล็อกขับเคลื่อนการแสดงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ โดยมุ่งเน้นการใช้เครื่องเพื่อการประพันธ์ดนตรี ตั้งแต่การเกิดขึ้นของเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นแรกเราจะเห็นว่า ศักยภาพของเครื่องดนตรีถูกพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง และหัวใจในการขับเคลื่อนมาจาก การที่นักดนตรีเข้าไปมีส่วนพัฒนาด้วยตัวเอง ผ่านการเรียนรู้ทำความเข้าใจในเทคนิค และความรู้เฉพาะของเครื่องดนตรีนั้นๆ ซึ่งตรงนี้สามารถทำให้นักดนตรีสร้างแบบฉบับที่มีลักษณะเฉพาะตัว กลายเป็นทักษะในการแต่งเพลงและเล่นดนตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในเวิรค์ชอบนี้ โรเบิร์ต พิออโทรวิช จะนำเสนอการใช้เครื่องดนตรีที่เข้ามาสัมพันธ์กับเวลา เชื่อมโยงกับการแสดงดนตรีสดและการแต่งเพลง เพื่ออธิบายถึงศักยภาพที่สำคัญของเครื่องซินซิไทเซอร์แบบอนาล็อก

Workshop 2
โก ลี ควาง
หัวข้อ: การฟังรูปแบบใหม่ ~ เวลาในงานศิลปะเสียง (New Ear ~ The time inside the sound)

เวิร์กช้อปครั้งนี้จะทำให้เห็นถึงมุมมองในเรื่องของเวลาในงานศิลปะเสียงผ่านการฟัง ศิลปะด้านเสียงเป็นงานศิลปะที่ขึ้นอยู่กับเวลา จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับงาน ดังนั้นเวลาที่ใช้ในงานศิลปะจึงอาจจะไม่ใช่เวลาในความเป็นจริง เพื่อการทำความเข้าใจเวลา ในฐานะส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญของงาน ลักษณะการฟังแบบใหม่จึงต้องถูกนำมาใช้ และทักษะนี้ทำให้เกิดความเป็นไปได้มากมายในการฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกดิจิตอล ที่ให้อิสระในการฟังเสียง ได้ยาวนานไร้ขีดจำกัดกว่าการฟังผ่านแผ่นเสียง เทป หรือซีดี งานเวิร์กช้อปครั้งนี้จะจุดประกายจากความสนใจของผู้ฟัง แล้วนำเสนอทักษะของการฟังเพื่อโอกาสที่จะเจอสิ่งใหม่ๆ จากการเข้าไปอยู่ในห้วงเวลาของเสียง

Workshop 3
โอเรน แอมบารคี และ คริส โคล
หัวข้อ: การสรรหาความแปลกใหม่ล้ำสมัย (Selection of avant-garde works)

แนวคิดงานศิลปะด้านเสียงมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เริ่มจากศิลปินและนักดนตรีทดลอง และค้นหาสิ่งใหม่ๆ ที่สามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงาน คำว่า “ก้าวหน้า ล้ำสมัย” (avant-garde) มีความหมายถึงการเคลื่อนไปข้างหน้า ขยายออกจากขอบเขตที่เป็นอยู่ จากความหมายของคำในงานเวิร์กช้อปครั้งนี้ ศิลปินทั้งสองจะนำเสนอผลงานชิ้นสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่แสดงถึงความล้ำจากยุคสมัย แสดงถึงแนวทางการสร้างสรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์ ผ่านการฟังและแลกเปลี่ยนความคิด รวมถึงการพินิจพิเคราะห์งานศิลปะเสียงที่เต็มไปด้วยเรื่องราว โอเรน แอมบาร์ชิ และ คริส โคลจะผสมผสานผลงานของพวกเขาในการเล่าเรื่องราวเชิงปฏิบัติการครั้งนี้

Workshop 4
อานนท์ นงค์เยาว์
หัวข้อ: D.I.Y. (((V))) = Do It Yourself (((Vibration)))

แรงสั่นสะเทือนคือวิธีหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ช่วงระยะเวลาประกอบไปด้วยจังหวะทำนองในระดับรายละเอียด ในงานของอานนท์ นงเยาว์ บ่อยครั้ง เขาใช้สิ่งของในชีวิตประจำวันในงาน เพื่อให้เห็นถึงแรงสั่นสะเทือน แต่ละประเภทที่มีลักษณะโดดเด่นแตกต่างกันไป ซึ่งท้ายสุดเพื่อกระตุ้นแรงสั่นสะเทือนอันแท้จริงจากข้างในคนฟังแต่ละคนออกมา สำหรับเวิร์กช้อปครั้งนี้ อานนท์จะนำเสนอตัวอย่างแรงสั่นสะเทือนที่อยู่ในความเป็นอยู่ของชีวิต สิ่งของ และวัฒนธรรม ในรูปแบบต่างประเภทจากสถานที่ที่มีความหลากหลาย เพื่อขยายความคิดในการสร้างสรรค์ โดยกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานสร้างแรงสั่นสะเทือนขึ้นมาด้วยสิ่งของที่หาได้แถวนั้น ซึ่งจะกลายเป็นเครื่องดนตรีสร้างแรงสั่นสะเทือนในแบบของเขาเอง

-

DRIFT
Project #1: DURATION
Workshops

Sat 8 Nov 2014
Meeting Room 501, 5th floor
2.00 pm Workshop 1 : Robert Piotrowicz
3.00 pm Workshop 2 : Goh Lee Kwang
4.00 pm Workshop 3 : Oren Ambarchi & Crys Cole
5.15 pm Workshop 4 : Arnont Nongyao

General Audience
Language: Thai/Eng
Please Note:
- The workshop allows for 20 people per session, for reservation please contact exh_activity@bacc.or.th
- All activities are free of charge.

About Workshop
Workshop 1
Robert Piotrowicz
Title : Why instrument is everything?

Focusing on the role of electronic instrument alongside its application in composition, the workshop will explore the analogue modular synthesizer as a key to drive duration of a piece in electronic music. Since the birth of first electronic instruments, we continue to witness their ongoing development and definition. Key to this process has been the personal engagement of a musician, who through mastering one's own techniques and intimate knowledge of the instrument shapes his individual voice and achieves a skillset required both in studio composition and live improvisation. From the perspective of instrumentalism engaging in time, Robert Piotrowicz will address some aspects related to his live performance and composing practice, explaining why instrument, in this case analogue modular synthesizer, is everything.

Workshop 2
Goh Lee Kwang
Title: New ear ~ the time inside the sound

The workshop will explore the aspect of time inside the works through listening experience. As sound art is a time-based art and arts could transform time to be either faster or slower; the time of the piece is not equal the time in real life. As the work possesses its own time, new aspect of listening is needed. The possibility is vast especially in the digital world where we have more freedom of experiencing sound as length in time without limitation of an object as a container as evident in vinyl, cassette or cds. Starting from the will of listener, the workshop will address the probability of going into different “Time Zone” to open up a new individual experience.

Workshop 3
Oren Ambarchi & Crys Cole
Title: Selection of avant-garde works

As idea of sound art has a long history starting from innovative and experimental movement when artist and musician start to explore various possibilities for creative innovation. The word “avant-garde” represents a forward movement pushing the boundary of what is accepted as norm. In this workshop, the artists will presents a selection of key avant-garde works that have influenced their unique practice. These historical pieces will be listened to, discussed and analyzed along side with selections of Cole and Ambarchi's own work.

Workshop 4
Arnont Nongyao
Title: D.I.Y. (((V))) = Do It Yourself (((Vibration)))

Vibration is one method to address a rhythmic length in duration. In the works of Arnont Nongyao, it is used often from daily life objects with the notion all vibrations have unique distinctions that could stimulate ‘pure vibration’ inside every listener. In this workshop, the artist will address vibrations embedded in life, object, culture in various forms resulted from differing locations, culture, people. The workshop will extend this idiosyncrasy with creativity by encourage the participant to create their own vibrating instrument from simple found objects.

The project by BACC exhibition dept. in collaboration with SO::ON Dry FLOWER as part of BACC Experimental Project. For more information, please contact BACC exhibition dept.: exh_activity@bacc.or.th SO::ON Dry FLOWER: eastablishrec@yahoo.com

Views: 81

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service