Workshop "Design between Tradition and Innovation: Beyond Borders”

เวิร์กช็อป “Design between Tradition and Innovation: Beyond Borders”

เวลา: 10 - 12 ตุลาคม 2557 | 9.30 – 18.30
สถานที่: ห้องออดิทอเรียม TCDC
เจาะลึกเทคนิคสิ่งทอ ตั้งแต่การเข้าขอบ ถักทอ ไปจนถึงการย้อม พร้อมร่วมตีความวัตถุรอบตัวเราใหม่ในบริบทที่แตกต่างโดยการแยกส่วนและประกอบขึ้นใหม่

TCDC ร่วมกับสถาบัน Institute for Foreign Cultural Relations (IFA) และสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย จัดเวิร์กช็อปประกอบนิทรรศการ “New Olds – Design between tradition and innovation” โดยมุ่งเน้นที่เทคนิคสิ่งทอ อาทิเช่น การเย็บเข้าขอบ การถักทอ การขมวดปม และการย้อมผ้า

เวิร์กช็อป “Design between Tradition and Innovation: Beyond Borders” จะวิเคราะห์สถานการณ์และสิ่งของต่างๆ ที่เราพบได้ทุกวัน ทั้งในแง่หน้าที่ รูปทรง พื้นผิว ลวดลาย วัสดุ และกระบวนการผลิต ซึ่งต่างก็ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม โดยการแยกองค์ประกอบออกมาเพื่อนำไปประกอบขึ้นใหม่ จนทำให้เกิดบริบทใหม่ขึ้นมา

"การประกอบขึ้นใหม่" (Reassembly) หมายถึงกระบวนการออกแบบและพัฒนาแนวคิด โดยตีความวัตถุธรรมดาที่พบเห็นได้ทุกวันใหม่และเปิดพื้นที่เพื่อทดลองยกระดับวัตถุต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคงานฝีมือดั้งเดิมและวัสดุที่ใช้กันมา วัตถุเหล่านั้นจะเผยให้เห็นเรื่องราวและประโยชน์ใหม่ๆ โดยอาจพูดได้ว่า การแยกองค์ประกอบ (Disassembly) คือการค้นหาว่าวัฒนธรรมและพื้นที่มีอิทธิพลอย่างไรต่อวัตถุ และอิทธิพลนั้นปรากฎในรูปทรงและหน้าที่ของวัตถุอย่างไร เพื่อตีความวัตถุใหม่ตามบริบทของสังคมปัจจุบันที่ต้องรับมือกับความท้าทายของยุคโลกาภิวัฒน์

ในเวิร์กช็อปนี้ วัตถุที่นำมาวิเคราะห์จะมาจากสองวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน คือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสิ่งทอและตาข่าย ตั้งแต่ผ้าม่านจนถึงเฟอร์นิเจอร์ ที่มาของรูปทรง เครื่องประดับ หน้าที่ วัสดุ และกระบวนการผลิตจะเป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์

ผู้เข้าร่วมจะแบ่งกลุ่มกันพัฒนาแนวคิดการออกแบบ โดยทำงานเป็นทีมเพื่อสร้างความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับช่องว่างระหว่างอดีตและปัจจุบัน ภูมิภาคและโลก และความสัมพันธ์ระหว่างอดีตกับโอกาสในอนาคต ผลลัพธ์ที่ได้จะครอบคลุมผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ไปจนถึงสินค้าเกี่ยวกับแฟชั่น พร้อมศึกษากระบวนการออกแบบในหลายแง่มุม: การระดมสมอง วาดสเก็ตช์อย่างเร็ว สร้างเรื่องราว พัฒนาคอนเซปต์ หาข้อมูลวัสดุ สร้างต้นแบบและโมเดล กระบวนการผลิต และความยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสนำเสนอผลงาน และวิทยากรจะแบ่งปันข้อคิดเกี่ยวกับความท้าทายของการผลิต การบริโภค และบทบาทของการออกแบบในการสร้างมูลค่าและเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น

เกี่ยวกับวิทยากร

laura.jpg

Laura Bernhardt: นักออกแบบชาวเยอรมันผู้มีประสบการณ์สอนในมหาวิทยาลัยและทำดีไซน์เวิร์กช็อปในประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวาง Laura จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Karlsruhe University of Arts and Design ประเทศเยอรมนี และ MassArt Massachusetts College of Art Design สหรัฐอเมริกา วิทยานิพนธ์ของเธอในหัวข้อ le voyage autour de ma chambre ได้รับรางวัลจาก IKEA Foundation Germany เมื่อปี 2550

sandra.jpg

Sandra Schollmeyer: นักออกแบบอิสระชาวเยอรมันจากเมืองแฮมเบิร์กที่ทำงานด้านสิ่งทอและออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งในแง่การพัฒนาแนวคิด ผลิต ไปจนถึงการออกแบบเซ็ตและสไตล์สำหรับนิตยสารและแคมเปญโฆษณาร่วมกับเอเจนซี่ต่างๆ ให้กับลูกค้าชั้นนำ อาทิ Adidas Originals และ Mercedes Benz
Sandra จบการศึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์จาก Karlsruhe University of Arts and Design ประเทศเยอรมนี, Istituto Europoe di Design (IED) ประเทศอิตาลี และ Central Academy of Fine Arts Beijing (CAFA) ประเทศจีน
http://sandraschollmeyer.de/

เงื่อนไขการเข้าร่วมเวิร์กช็อป
• เวิร์กช็อปนี้เหมาะสำหรับนักศึกษาที่สนใจแนวทางการออกแบบเชิงทดลองและสหวิทยาการ ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์ทำงานด้านการออกแบบ เป็นนักศึกษาหรือเริ่มทำงานแล้วในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ สิ่งทอ แฟชั่น สถาปัตยกรรม และกราฟิกดีไซน์
• รับเพียง 25 ท่านเท่านั้น
• เปิดรับสมัครถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2557
• ประกาศรายชื่อผู้สมัครที่ได้รับคัดเลือกวันที่ 3 ตุลาคม 2557 (ทางเว็บไซต์ TCDC และ Goethe-Institut)
• ผู้สมัครที่ได้รับคัดเลือกจะต้องลงทะเบียนและวางเงินประกันสิทธิ์ 1,500 บาทที่ TCDC ก่อนเริ่มเวิร์กช็อป โดยจะได้รับเงินประกันสิทธิ์นี้คืนเต็มจำนวนเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมครบ 3 วัน
• ดำเนินการสัมมนาเป็นภาษาอังกฤษ

วิธีสมัคร
1. เล่าเหตุผลสั้นๆ ว่าทำไมคุณจึงสนใจที่จะเข้าร่วมเวิร์กช็อป (เป็นภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 250 คำ)
2. โปรดแนบ CV รูปถ่าย และ Portfolio
3. ส่งไปที่ programm@bangkok.goethe.org โดยระบุหัวข้อ “Workshop: beyond borders”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันเกอเธ่ โทร. 02-108 8231-2 หรือ pr@bangkok.goethe.org
www.goethe.de/thailand | www.ifa.de | http://newoldsblog.ifa.de/
Facebook : goetheinstitut.thailand

Views: 26

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service