สัมมนาศิลปะวิชาการ “ระยะไทยไท THAITAI : A Measure of Understanding”

สัมมนาศิลปะวิชาการ “ระยะไทยไท THAITAI : A Measure of Understanding”

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2555

เวลา 13.00 – 20.00 น.

สถานที่ : ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ห้อง 3301 ชั้น 3


OCAC Bangkok ขอนำเสนอกิจกรรมสัมมนาศิลปะวิชาการ โดยในครั้งนี้เราได้เชิญภัณฑารักษ์และศิลปินทั้งจากประเทศไทยและไต้หวันเข้าร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติเกี่ยวกับ ศิลปะทางเลือก และการปฏิบัติงานส่วนภัณฑารักษ์ ภายใต้บริบทของสุนทรียะแห่งภูมิรัฐศาสตร์ และความหลายหลายทางวัฒนธรรมอันเกินขอบเขตของความเป็นเชื้อชาติ จากจุดเริ่มต้นของนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย “ระยะไทยไท THAITAI : A Measure of Understanding” ซึ่งเป็นนิทรรศการกลุ่มครั้งแรก ตั้งแต่ที่ OCAC ได้ย้ายถิ่นจากไทเปมาที่กรุงเทพมหานคร ในปี2555 ทาง OCAC มีความพยายามในการยกระดับการปฏิบัติงานของพวกเขาไปสู่ภาคแห่งความจริง ด้วยการตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรศิลปะจึงจะสามารถก้าวข้ามความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อที่จะพัฒนาและขยายแนวทางในการทำงาน ที่ซึ่งการรับรู้ไม่ได้อยู่ที่แค่ว่าศิลปะทำงานด้วยตัวมันเองอย่างไร และหมายรวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับบริบทรอบตัวงานศิลปะนั้นด้วย

กิจกรรมสัมมนาในครั้งนี้ตั้งอยู่บนทางคู่ขนาน ของทั้งการพยายามนำเสนอพื้นที่เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิด จากกิจกรรมโครงการต่างๆ เพื่อมุ่งหวังที่จะค้นหาความหมายใหม่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ส่งผลต่อศิลปะในระดับท้องถิ่นทั้งที่กรุงเทพฯและเมืองไทเปได้อย่างไรบ้าง นอกจากนี้แล้ว เรายังคาดหวังที่จะเข้าถึงความซับซ้อนทางนัยยะของศิลปะได้มากขึ้น รวมทั้งเข้าถึงความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างคงที่ของศิลปะที่เราเห็นในทุกวันนี้

ในการสัมมนาครั้งนี้ มีทั้งหมดสามหัวข้อ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1ได้รับเกียรติจากศิลปินที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ สาครินทร์ เครืออ่อน, หลินฉีเหว่ย (Chi-Wei Lin) และเหย่เหว่ยลี (Wei-Li Yeh) ทั้งสามจะนำเสนอผลงาน โดยผ่านประสบการณ์การทำงานในฐานะศิลปินมาเป็นเวลานานและการทำงานแบบศิลปะเฉพาะที่ (site-specific) ส่วนที่ 2 ได้รับเกียรติจากภัณฑารักษ์ ได้แก่ กฤติยา กาวีวงศ์ และ หลินหงจาง (Hongjohn Lin) ร่วมกับศิลปินไทย คือ จีระเดชและพรพิไล มีมาลัย ที่จะมาให้ความรู้และพูดคุยในประเด็นที่ว่า การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผลต่อ “การข้ามผ่าน” ของศิลปะและวัฒนธรรมในระดับภูมิภาคอย่างไร และในส่วนที่ 3 ได้รับเกียรติจากภัณฑารักษ์ คือ เอมี่ เจิน (Amy Cheng) และ จิตติ เกษมกิจวัฒนา เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนตัว ในการทำงานบนพื้นที่ศิลปะ ทั้งแบบ Alternative space และ Local Community นอกจากนั้น การสัมมนาแลกเปลี่ยนในครั้งนี้มุ่งหวังที่จะเรียนรู้ศิลปะจากบริบทภายนอก เพื่อเข้าสู่ความเข้าใจในบริบทภายในที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2012

ส่วนที่ 1 | ระยะ : ไทยไท ระยะแห่งความเข้าใจ โดย ศิลปินผู้เข้าร่วมโครงการฯ

เวลา 13.00-15.00 น.

วิทยากร: สาครินทร์ เครืออ่อน, หลินฉีเหว่ย (Chi-Wei Lin) และ เหย่เหว่ยลี (Wei-Li Yeh)


ส่วนที่ 2 | ย่างก้าวแห่งการข้ามผ่าน

15.30- 17.30 น.

วิทยากร: กฤติยา กาวีวงศ์, หลินหงจาง (Hongjohn Lin) และ JiandYin

ส่วนที่ 3 | ภายนอกสู่ภายใน : ความสัมพันธ์ระหว่าง Alternative Space และ Local Community

เวลา 18.00-20.00 น.

วิทยากร: เอมี่ เจิน (Amy Cheng) และ จิตติ เกษมกิจวัฒนา


ควบคุมและดำเนินงานโดย เฟร่ยา โจว (Freya Chou)

สนับสนุนโดย National Culture and Arts Foundation (ประเทศไต้หวัน) และ ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Views: 117

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service