
เค้าโครงการแข่งขัน
ซีดอกซ์ –
การแข่งขันภาพยนตร์ด้านสารคดีของนักเรียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นการแข่งขันที่มีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นให้มีการสร้างภาพยนตร์ด้าน
สารคดีโดยใช้ภาพยนตร์และโทรทัศน์เป็นสื่อให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
มี 4 ประเทศหลักได้แก่ประเทศกัมพูชา, ประเทศอินโดนีเซีย,
ประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์เข้าร่วมการแข่งขันนี้
โดยในแต่ละประเทศจะมีการเชิญชวนให้นักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 18-25
ปีส่งภาพยนตร์แนวสารคดีขนาดสั้น (มีความยาวมากสุด 15 นาที)
ในหัวข้อความหลากหลายทางชีวภาพก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2553
เงื่อนไขการส่งผลงานประกวด
1) ผู้สนใจเข้าแข่งขันต้องกรอกใบสมัครออนไลน์ที่
www.goethe.de/sciencefilmfestival โดยจะต้องอ่านและทำความเข้าใจเงื่อนไขการสมัครอย่างละเอียด
2) ผู้เข้าแข่งขันที่มีสิทธิเข้ารับเลือกต้องเป็นนักเรียน นิสิตและนักศึกษา
ที่มีอายุตั้งแต่ 18-25 ปีก่อนวันปิดรับสมัคร ส่งผลงานเป็นรายบุคคล
ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะได้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในระดับภูมิภาค
ผู้ที่ประกอบอาชีพด้านโทรทัศน์และภาพยนตร์ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้
3) ภาพยนตร์ที่ส่งเข้าประกวด
จะต้องเป็นภาพยนตร์สั้นแนวสารคดีหรือสารคดีเชิงละคร(Docudrama)
ในหัวข้อที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ความยาวไม่เกิน 15 นาที
(เวลานี้รวมช่วงนำเรื่องและช่วงปิดท้ายของภาพยนตร์)
4) กำหนดส่งผลงานวันสุดท้าย ผู้เข้าแข่งสามารถส่งผลงานทางไปรษณีย์ก่อนหรือในวันที่ 15 ตุลาคม 2553 เป็นวันสุดท้าย
5) ผู้เข้าแข่งขันส่งผลงานตามที่อยู่ข้างล่างนี้
ประเทศไทย :
สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
18/1 ซอยเกอเธ่ สาทร ซอย 1
กรุงเทพฯ 10120
6) ส่งผลงานในรูปแบบดีวีดี(dvd format) สคริปต์พร้อมเวลาและใบสมัครพร้อมลายเซ็น
7)
ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ทำขึ้นใหม่ด้วยตัวเองไม่เคยฉายที่ใด
และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆทั้งสิ้น
ผู้เข้าแข่งขันต้องยอมรับว่าได้รับอนุญาตให้สามารถใช้ดนตรี
เสียงและรูปในภาพยนตร์ของท่าน
ทางซีดอกซ์จะไม่รับผิดชอบต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้
กระทำ และขอสงวนสิทธิ์ในการงดฉายภาพยนตร์
8) ผลงานที่ส่งเข้าประกวดถือเป็นสิทธิ์ของผู้จัดงาน
ทางทีมงานไม่รับผิดชอบในการส่งไม่ทันเวลา การสูญหาย การเสียหาย
การส่งที่อยู่ผิด ค่าไปรษณีย์ที่ต้องชำระ
การถูกขโมยหรือการสื่อผลงานในทางที่ผิด
9)
คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยความหลาก
หลายทางชีวภาพในแต่ละประเทศจะเป็นผู้คัดเลือกผู้เข้าแข่งขันในระดับภูมิภาค
ในรอบแรก คณะกรรมการจะมีการผลัดเปลี่ยนเพื่อความยุติธรรมในการตัดสิน
ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจะนำไปทำซับภาษาอังกฤษ เกณฑ์การตัดสินประกอปด้วย 4
หัวข้อได้แก่ เนื้อหา(การสือเรื่องราวที่สอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนด),
การผลิต(การฉายภาพยนตร์, องค์ประกอบศิลป์), หลังการผลิต(การตัดต่อ,
การลำดับภาพ,การดำเนินเรื่องและความต่อเนื่อง), คุณภาพเสียง(ความชัดเจน,
ความสอดคล้องของระดับเสียง และการไม่มีเสียงแทรกใดๆ)
10)
คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยความหลาก
หลายทางชีวภาพจากหลายประเทศเป็นผู้ตัดสินรางวัลชนะเลิศทั้ง 3 รางวัล
คณะกรรมการจะมีการผลัดเปลี่ยนเพื่อความยุติธรรมในการตัดสิน
และใช้เกณฑ์การตัดสินเช่นเดียวกับการคัดเลือกในรอบแรก
11) ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการแข่งขันรอบแรกในวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ทางอีเมล์และเว็ปไซต์
www.goethe.de/sciencefilmfestival
การประกาศผลรางวัลรอบสุดท้าย
จัดขึ้นในพิธีปิดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ในกรุงเทพ,
ประเทศไทย ในวันพุธที่ 1 ธันวาคม 2553
12) ผู้ชนะการแข่งขันในระดับภูมิภาคสามท่านจะได้รับรางวัลเงิน สดมูลค่า 500
เหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อคน และผู้ชนะรางวัลที่
1จะได้รับทุนสนับสนุนเพิ่มเติมในการผลิตภาพยนตร์สารคดีถึง 5,000
เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ
ภาพยนตร์นี้จะเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ใน
ปีพ.ศ. 2554
13)
ผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขันต้องสามารถเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในวันที่
25 ถึง 30 พฤศจิกายน 2553 ที่ประเทศไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
14) ผู้เข้าแข่งขันยินยอมที่จะรับเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น และผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิทธิ์ขาด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.goethe.de/sciencefilmfestival
หรือโทรศัพท์มาที่แผนกกิจกรรมด้านวัฒนธรรมของสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย 02
287 0942-4 ต่อ 17 และ 80 กรุงมะนิลา 924-4101 local 3786.และ จาการ์ต้า 62
21 2355 0208