"Postmodern Art" โดย อาจารย์ทัศนัย เศรษฐเสรี และ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน

Postmodern Art


(*the lecture will be in Thai, with enrollment fee)

วันที่ 13, 15, 16, 17, 20, 21, 22, 23 กุมภาพันธ์ 2555

เวลา 18.30-21.30 น. ณ ห้องสมุดวิลเลียม วอร์เรน

โดย อาจารย์ทัศนัย เศรษฐเสรี และ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน

(* รับผู้เข้าร่วมฟังบรรยาย 20 คน)


เนื้อหาในชั้นเรียนนี้ถูกจัดเตรียมขึ้น เพื่อนำไปสู่ข้อถกเถียงและปัญหาต่างๆ ของคำว่า “ลัทธิหลังสมัยใหม่” (Postmodernism)

อย่างไรก็ตาม คำถามว่า ลัทธิหลังสมัยใหม่คืออะไร? นั้น ไม่อาจตอบได้ด้วยคำอธิบายเพียงสั้นๆ เหตุเพราะ “ลัทธิหลังสมัยใหม่” ประกอบไปด้วยความซับซ้อนในหลายระดับของกลุ่มความคิด ซึ่งเริ่มแสดงท่าทีต่อข้อถกเถียงทางวิชาการตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 80s อาจกล่าวได้ว่า “ลัทธิหลังสมัยใหม่” คือแนวคิด (Concept) ที่ปรากฏในหลายอาณาเขตของการศึกษา เช่น ศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม แฟชั่น สังคมศาสตร์ การสื่อสารมวลชน ตลอดรวมถึง สื่อและเทคโลยี่สมัยใหม่


ดังนั้น การทำความเข้าใจ “ลัทธิหลังสมัยใหม่” จำเป็นต้องทำการศึกษาควบคู่ไปพร้อมกับ ปรากฏการณ์ของ “สภาวะหลังสมัยใหม่” (Postmodernity) โดยเริ่มทำการศึกษาไล่เลียงไปถึงจุดเริ่มต้นของพัฒนาการใน “ลัทธิสมัยใหม่” (Modernism) จุดสูงสุดของลัทธิสมัยใหม่ (High Modernism) กระทั่งถึงจุดเปลี่ยน และการมาถึงของลัทธิหลังสมัยใหม่ในหลายรูปแบบ ซึ่งต่างฝังตัวเองและมาพร้อมกับขบวนการความเคลื่อนไหวใหม่ทางสังคม (New Social Movement) เช่นกลุ่มสิทธิสตรี (Feminism) ลัทธิหลังอาณานิคม (Postcolonialism) กลุ่มทางเลือกใหม่ (New Alternative) ฯลฯ โดยสร้างความเข้าใจผ่านแนวคิด และรูปแบบการเคลื่อนไหวของกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ ไปพร้อมกัน


แม้ว่าเนื้อหาโดยหลักของวิชานี้จะเพ่งเล็งประเด็นของการศึกษาไปที่ความสำคัญของแนวคิดต่างๆ ในโลกวิชาการตะวันตก นักศิกษาจะถูกถามให้ทำการเชื่อมโยงแนวคิดดังกล่าว เข้ากับสถานการณ์ ความเคลื่อนของวงการศิลปะ และวัฒนธรรมในประเทศไทย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้ในโครงงานศิลปะของตนเองต่อไป


คุณสมบัติผู้สมัคร:

- เป็นผู้สนใจในด้านศิลปะวัฒนธรรม

- จบการศึกษาชั้นมัธยมปลาย เป็นอย่างน้อย มีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะมาบ้าง

- มีทักษะในการ พูด/ฟัง/อ่าน/เขียน ภาษาไทยอ ยู่ในระดับดี

- กรุณากรอกใบสมัคร พร้อมแนบประวัติโดยย่อ และความประสงค์ในการสมัคร

* ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4


หมายเหตุ:

ค่าเล่าเรียน: คนละ 5,000 บาท / การบรรยาย 8 ครั้ง

กรุณาสำรองที่นั่ง และโอนค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีของหอศิล์ป พร้อมส่งสำเนาใบโอน

* ภายใน วันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2555


ตารางเวลาเรียน

Class 1: 13 กุมภาพันธ์ 2555

Postmodernity, Postmodernism, and Modernism


Class 2: 15 กุมภาพันธ์ 2555

Anti-Modernisms


Class 3: 16 กุมภาพันธ์ 2555

Fiction and History / ‘Total history’ de-totalized


Class 4: 17 กุมภาพันธ์ 2555

Knowing the Past in the Present


Class 5: 20 กุมภาพันธ์ 2555

The Politics of Parody


Class 6: 21 กุมภาพันธ์ 2555

Representation and its Politics


Class 7: 22 กุมภาพันธ์ 2555

The Politics of Culture


Class 8: 23 กุมภาพันธ์ 2555

A Sense of Place


เกี่ยวกับผู้บรรยาย


อาจารย์ ทัศนัย เศรษฐเสรี เกิดในปี พ.ศ. 2511 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านประติมากรรม ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท Visual Arts ที่ The University of Chicago ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผลงานในวงการศิลปะที่ผ่านมาของ อาจารย์ทัศนัย ได้แก่ Salad is not a thing ที่ Angkrit Gallery จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2552, Not Even Pineapples ที่ Gallery Ver ในปี พ.ศ. 2552,

Thailand is not my idea; Barcelona Version ที่ La Capella, Barcelona, ประเทศ Spain ในปี พ.ศ.2548, Triangular Relation: Type A ที่ กรุง Brussels ประเทศ Belgium ในปี พ.ศ.2548,

Triangular Relation: Type B ที่ About Café ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในปี พ.ศ.2548,

Power Sucks Sucking the Power เชียงใหม่ ประเทศไทย ในปี พ.ศ.2548 ฯลฯ ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2547 ถึง ปัจจุบันเขาทำงานเป็นอาจารย์ ภาควิชา Media Arts and Design ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สอนในวิชาประวัติศาสตร์ความคิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ ซึ่งเป็นภาควิชาเปิดใหม่ โดยมุ่งเน้นบูรณาการศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน


อาจารย์ทัศนัย เป็นนักอ่าน นักวิจารณ์ มักวิเคราะห์สถานการณ์และพูดถึงสิ่งที่เขาคิดอย่างตรงไปตรงมา เขามุ่งเน้นการศึกษาเชิงทฤษฏีสายสังคมศาสตร์ มากไปกว่าการฝึกทักษะฝีมือเชิงช่าง ซึ่งกินความกว้างขวางออกไปมากกว่าการผลิตวัตถุศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่างานทัศนศิลป์ เหมือนอย่างศิลปินไทยทั่วๆไปควรจะทำ เขาสนใจศึกษาเชิงวิพากย์ ทางสังคม-วัฒนธรรม ที่มุ่งเน้นประเด็นเกี่ยวกับ Media Ethnography and Visualizing Culture Study


ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

คุณ เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์

สำนักงาน: 02.219.2911 / 02.612.6741

มือถือ 084.709.3440

อีเมลล์ penwadee@jimthompsonhouse.com


สอบถามฝ่ายบัญชี กรุณาติดต่อ

คุณ ครรธารัตน์ สุขเจริญพงษ์

สำนักงาน: 02.219.2911 / 02.612.6741

อีเมลล์: administration@jimthompsonhouse.com


หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

6 ซอยเกษมสันต์ 2 ถ.พระราม 1 ปทุมวัน กทม 10230

อีเมล์ artcenter@jimthompsonhouse.com

เว็บไซต์ www.jimthompsonhouse.com / www.thejimthompsonartcenter.org


**ใบสมัคร**

Postmodern Art

วันที่ 13, 15, 16, 17, 20, 21, 22, 23 กุมภาพันธ์ 2555

เวลา 18.30-21.30 น. ณ ห้องสมุดวิลเลียม วอร์เรน

โดย อาจารย์ทัศนัย เศรษฐเสรี และ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน

(* รับผู้เข้าร่วมฟังบรรยาย 20 คน)

ชื่อ - สกุล:

_______________________________________________________________

ที่อยู่:

_______________________________________________________________

เบอร์ติดต่อ / อีเมลล์: _______________________________________________________________

สถานที่ทำงาน / ตำแหน่ง: _______________________________________________________________

ได้รับข่าวสารจาก:

_______________________________________________________________


(__________________________________)

ลายเซ็นต์ผู้สมัคร


(__________________________________)

วัน / เดือน / ปี

กรุณากรอกใบสมัคร พร้อมแนบประวัติโดยย่อ และความประสงค์ในการสมัคร

(ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4)


กรุณาสำรองที่นั่ง และโอนค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีของหอศิล์ป พร้อมส่งสำเนาใบโอน

(ภายใน วันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2555)


ชื่อบัญชี มูลนิธิ เจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน

ธนาคาร กรุงเทพ สาขาสุรวงศ์ บัญชีสะสมทรัพย์

เลขที่บัญชี 147 - 0 - 767 - 656


สอบถามฝ่ายบัญชี กรุณาติดต่อ

คุณ ครรธารัตน์ สุขเจริญพงษ์

สำนักงาน: 02.219.2911 / 02.612.6741

อีเมลล์: administration@jimthompsonhouse.com

Views: 898

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service