การบรรยายหัวข้อ Media art (กิจกรรมปิดงาน)

วันที่ : 15 กุมภาพันธ์ 2557

สถานที่: ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1

เวลา 14.00 น.

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ นิทรรศการ “มีเดีย/อาร์ต คิชเช่น - สนามบิดเบือนความจริง(ฉบับกรุงเทพฯ) - สื่อกำหนดความคิด: ความคิดกำหนดตัวเลือก: ตัวเลือกกำหนดอนาคต”

การบรรยายหัวข้อ Media art (กิจกรรมปิดงาน)

ผู้บรรยาย: เออิชิ คัทสึระ

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 14.00 น.

ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปกรุงเทพฯ


ลำดับเวลา Media art ในญี่ปุ่น

การบรรยายครั้งนี้กล่าวไว้ว่า ในประเทศญี่ปุ่น ศิลปิน Media ส่วนใหญ่ได้พินิจพิเคราะห์ว่า การสื่อสารเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ระหว่างเทคโนโลยีสื่อ และตัวตนของมนุษย์ในวิถีชีวิตคนญี่ปุ่นที่อาศัยในเมืองใหญ่

Media art เป็นที่รู้จักครั้งแรกในญี่ปุ่นช่วงปลายยุค 70 ซึ่งตอบสนองกับอุดมคติที่แพร่หลายในหลักการค้า การทำเป็นสินค้ามากขึ้น และนวัตกรรมของเทคโนโลยีสื่อ ตลอดยุค 70 และ 80 ศิลปิน Media ได้ยืนยันว่า งาน Media art ในญี่ปุ่นไม่สามารถแยกจากบริบทของมันได้ เพราะมีการคาบเกี่ยวกับศิลปะวีดีทัศน์ ศิลปะที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศิลปะที่เป็นขั้นตอน ศิลปะการแสดง ศิลปะแนวความคิด ศิลปะการติดตั้ง และศิลปะเชิงสัมพันธ์ ฉะนั้นในกระบวนการนี้ Media artได้ถูกฝังลึกลงไปในการคุ้มครองผู้บริโภคพิเศษที่แผ่ขยายมากขึ้น รวมทั้งตลาดวัฒนธรรมย่อยที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น มังงะ อะนิเมะ ดนตรี แฟชั่น และสันทนาการต่าง ๆ

ในที่สุดแล้ว การบรรยายครั้งนี้ให้เหตุผลว่า หากเราต้องการเข้าใจอำนาจในการชักจูงของ Media art ในญี่ปุ่น เราก็ต้องทำความเข้าใจลักษณะพิเศษของสังคมผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่นด้วย


เอชิ คัตซึระ เป็นศาสตราจารย์ที่ Graduate School of Film and New Media มหาวิทยาลัย Tokyo University of the Arts

คัตซึระทำงานวิจัยประสานกับสาขาอื่นๆ รวมไปถึงสาขาสื่อ การสื่อสาร และสังคม โดยทำงานให้คำจำกัดความสภาพแวดล้อมสื่อทั่วไปขึ้นมาใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานรัฐบาล เช่นห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ศิลปะ เป็นต้น และได้เชื่อมโยงกับระบบที่ซับซ้อนด้วยมุมมอง และทัศนคติที่ไม่เหมือนใครของเขาเอง

คัตซึระได้รับมอบหมายให้เป็นที่ปรึกษาหลายโครงการ อาทิ Sendai Mediatheque (สถาปนิก: Toyo Ito), Qatar National Library (สถาปนิก: Arata Isozaki และ Unbuilt), Musashino Art University Library (สถาปนิก: Sou Fujimoto) และอื่นๆ อีกมากมาย

ตั้งแต่ต้นยุค 90 คัตซึระยังได้เขียนหนังสือ และบทความต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาสื่อ การสื่อสาร และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง งานเขียนของเขาได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือหลายเล่ม ได้แก่ Interactive Mind—from Modern Library to Computer Network (ตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2537), Mythology of Tokyo Disneyland (ตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2542) และได้ตีพิมพ์ลงในบทความวิจัยด้วย


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

โทรศัพท์ 02 214 6630-8 อีเมล์ exhibition@bacc.or.th

Views: 40

© 2009-2024   PORTFOLIOS*NET by CreativeMOVE.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service